นะห์ญุลบาลาเฆาะ อิมามอาลี (อ.) ที่ 91-100

นะห์ญุลบาลาเฆาะ อิมามอาลี (อ.) ที่ 91-100


สุนทโรวาทที่ 91: วิธีการบำบัดจิต

وَ قَالَ [عليه السلام] إِنَّ هَذِهِ الْقُلُوبَ تَمَلُّ كَمَا تَمَلُّ الْأَبْدَانُ فَابْتَغُوا لَهَا طَرَائِفَ الْحِكَمِ .

อิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า จิตใจทั้งหลายเหมือนกับร่างกายที่เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า ดังนั้น เพื่อสร้างความสดชื่นแก่จิตใจ จงแสวงหาคำพูดที่สวยงามเปี่ยมด้วยวิทยปัญญา


สุนทโรวาทที่ 92:ความรู้ที่สูงส่งที่สุด

وَ قَالَ [عليه السلام] أَوْضَعُ الْعِلْمِ مَا وُقِفَ عَلَى اللِّسَانِ وَ أَرْفَعُهُ مَا ظَهَرَ فِى الْجَوَارِحِ وَ الْأَرْكَانِ .

อิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า ความรู้ที่เลวที่สุด คือ ความรู้ที่อยู่ที่ปลายลิ้น ส่วนความรู้ที่ดีที่สุด คือ ความรู้ที่เปิดเผยออกจากอวัยวะทุกส่วน


สุนทโรวาทที่ 93:ปรัชญาของการทดสอบ

وَ قَالَ [عليه السلام] لَا يَقُولَنَّ أَحَدُكُمْ اللَّهُمَّ إِنِّى أَعُوذُ بِكَ مِنَ الْفِتْنَةِ لِأَنَّهُ لَيْسَ أَحَدٌ إِلَّا وَ هُوَ مُشْتَمِلٌ عَلَى فِتْنَةٍ وَ لَكِنْ مَنِ اسْتَعَاذَ فَلْيَسْتَعِذْ مِنْ مُضِلَّاتِ الْفِتَنِ فَإِنَّ اللَّهَ سُبْحَانَهُ يَقُولُ وَ اعْلَمُوا أَنَّما أَمْوالُكُمْ وَ أَوْلادُكُمْ فِتْنَةٌ وَ مَعْنَى ذَلِكَ أَنَّهُ يَخْتَبِرُهُمْ بِالْأَمْوَالِ وَ الْأَوْلَادِ لِيَتَبَيَّنَ السَّاخِطَ لِرِزْقِهِ وَ الرَّاضِيَ بِقِسْمِهِ وَ إِنْ كَانَ سُبْحَانَهُ أَعْلَمَ بِهِمْ مِنْ أَنْفُسِهِمْ وَ لَكِنْ لِتَظْهَرَ الْأَفْعَالُ الَّتِى بِهَا يُسْتَحَقُّ الثَّوَابُ وَ الْعِقَابُ لِأَنَّ بَعْضَهُمْ يُحِبُّ الذُّكُورَ وَ يَكْرَهُ الْإِنَاثَ وَ بَعْضَهُمْ يُحِبُّ تَثْمِيرَ الْمَالِ وَ يَكْرَهُ انْثِلَامَ الْحَالِ .
قال الرضى و هذا من غريب ما سمع منه فى التفسير

อิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า คนหนึ่งคนใดในหมู่พวกเจ้าต้องไม่กล่าวว่า โอ้ อัลลอฮฺ ข้าฯขอความคุ้มครองจากการทดสอบของพระองค์ เนื่องจากไม่มีผู้ใดที่จะไม่ถูกทดสอบ ทว่าผู้ที่ขอความคุ้มครองควรขอให้พ้นจากการทดสอบที่ทำให้หลงทาง ดังที่อัลลอฮฺตรัสว่า ทรัพย์สินและบุตรหลานของเจ้า คือ การทดสอบ ความหมายของโองการ คือ อัลลอฮฺ ทรงทดสอบมนุษย์ด้วยทรัพย์สินและบุตรหลานของเขา เพื่อจะได้ไม่ปิติกับปัจจัยจนเกินเหตุ และรู้ถึงความพึงพอใจที่เขาได้รับ แม้ว่าอัลลอฮฺจะทรงรอบรู้สภาพของพวกเขาดีกว่าพวกเขาก็ตาม แต่พระองค์ทรงทดสอบเพื่อจะได้รู้ว่าการงานใดที่คู่ควรกับผลบุญและการลงโทษ เนื่องจากชายบางคนรักบุตรชายแต่ไม่ยอมรับบุตรหญิง บางคนรักทรัพย์สินมากมายและเสียใจเมื่อลดน้อยลงไป


สุนทโรวาทที่ 94 : การรู้จักความดีงามทั้งหลาย

وَ قَالَ [عليه السلام] : وَ سُئِلَ عَنِ الْخَيْرِ مَا هُوَ فَقَالَ لَيْسَ الْخَيْرُ أَنْ يَكْثُرَ مَالُكَ وَ وَلَدُكَ وَ لَكِنَّ الْخَيْرَ أَنْ يَكْثُرَ عِلْمُكَ وَ أَنْ يَعْظُمَ حِلْمُكَ وَ أَنْ تُبَاهِيَ النَّاسَ بِعِبَادَةِ رَبِّكَ فَإِنْ أَحْسَنْتَ حَمِدْتَ اللَّهَ وَ إِنْ أَسَأْتَ اسْتَغْفَرْتَ اللَّهَ وَ لَا خَيْرَ فِى الدُّنْيَا إِلَّا لِرَجُلَيْنِ رَجُلٍ أَذْنَبَ ذُنُوباً فَهُوَ يَتَدَارَكُهَا بِالتَّوْبَةِ وَ رَجُلٍ يُسَارِعُ فِى الْخَيْرَاتِ .

มีผู้ถามว่าความดีคืออะไร อิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า ความดีมิได้หมายถึงว่ามีทรัพย์หรือบุตรหลานมาก แต่ความดีหมายถึงเจ้ามีความรู้มาก มีความอดทนสูง สร้างความภาคภูมิใจให้ประชาชนในการแสดงความเคารพภักดีต่อพระผู้อภิบาลของเจ้า ถ้าเจ้าได้กระทำความดีจงขอบคุณพระเจ้า ถ้าเจ้ากระทำสิ่งไม่ดีจงกล่าวขอลุแก่โทษต่ออัลลอฮฺ โลกไม่มีความดีงามสำหรับผู้ใดนอกจาก 2 คน ได้แก่ ผู้ประกอบกรรมที่ลบล้างด้วยการลุแก่โทษ และผู้ที่เร่งรีบในการประกอบความดี


สุนทโรวาทที่ 95 : ความสำรวมตนและคุณค่าของการกระทำ

وَ قَالَ [عليه السلام] لَا يَقِلُّ عَمَلٌ مَعَ التَّقْوَى وَ كَيْفَ يَقِلُّ مَا يُتَقَبَّلُ

อิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า ไม่มีการงานที่มีความยำเกรงใดจะเล็กน้อย การงานที่ถูกยอมรับจะเล็กน้อยได้อย่างไร


สุนทโรวาทที่ 96: คุณค่าของความรู้และการเป็นบ่าว

وَ قَالَ [عليه السلام] إِنَّ أَوْلَى النَّاسِ بِالْأَنْبِيَاءِ أَعْلَمُهُمْ بِمَا جَاءُوا بِهِ ثُمَّ تَلَا إِنَّ أَوْلَى النَّاسِ بِإِبْراهِيمَ لَلَّذِينَ اتَّبَعُوهُ وَ هذَا النَّبِيُّ وَ الَّذِينَ آمَنُوا الْآيَةَ (21) ثُمَّ قَالَ إِنَّ وَلِيَّ مُحَمَّدٍ مَنْ أَطَاعَ اللَّهَ وَ إِنْ بَعُدَتْ لُحْمَتُهُ وَ إِنَّ عَدُوَّ مُحَمَّدٍ مَنْ عَصَى اللَّهَ وَ إِنْ قَرُبَتْ قَرَابَتُهُ .

อิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า บุคคลที่ใกล้ชิดนบีมากที่สุด คือ บุคคลที่มีความรู้มากที่สุดในสิ่งที่ท่านนำมา หลังจากนั้นท่านได้อ่านโองการนี้ แท้จริงผู้คนที่ใกล้ชิดยิ่งต่ออิบรอฮีม คือ บรรดาผู้ปฏิบัติตามเขา และและบรรดาผู้ที่ศรัทธาที่ปฏิบัติตามนบีคนสุดท้าย หลังจากนั้นกล่าวว่า

มิตรผู้ที่รักมุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) คือ ผู้ที่เชื่อฟังปฏิบัติตามอัลลอฮฺ แม้ว่าความสัมพันธ์ทางเครือญาติจะห่างชั้นก็ตาม ส่วนศัตรูของมุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) คือ ผู้ที่ไม่เชื่อฟังและฝ่าฝืนอัลลอฮฺ แม้ว่าความสัมพันธ์ทางเครือญาติจะใกล้ชิดก็ตาม


สุนทโรวาทที่ 97 : คุณค่าของความเชื่อมั่น

وَ سَمِعَ [عليه السلام] رَجُلًا مِنَ الْحَرُورِيَّةِ يَتَهَجَّدُ وَ يَقْرَأُ فَقَالَ نَوْمٌ عَلَى يَقِينٍ خَيْرٌ مِنْ صَلَاةٍ فِى شَكٍّ .

อิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า ได้ยินเสียงชายคนหนึ่งจากเผ่าฮะรูรียะฮฺ (เคาะวาริจญฺ) กำลังนมาซตะฮัจญุด และอัล-เชิญอัล-กุรอาน ท่านกล่าวว่า การนอนหลับด้วยความเชื่อมั่น (ยะกีน) ดีกว่าการนมาซด้วยความสับสนและเคลือบแคลง


สุนทโรวาทที่ 98 :ความจำเป็นในการปฏิบัติตามริวายะฮฺ

وَ قَالَ [عليه السلام] اعْقِلُوا الْخَبَرَ إِذَا سَمِعْتُمُوهُ عَقْلَ رِعَايَةٍ لَا عَقْلَ رِوَايَةٍ فَإِنَّ رُوَاةَ الْعِلْمِ كَثِيرٌ وَ رُعَاتَهُ قَلِيلٌ .

อิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า เมื่อได้ยินรายงานจงสร้างความเข้าใจและปฏิบัติตาม มิใช่แค่ฟังและนำไปเล่าต่อ เนื่องจากผู้รายงานนั้นเปี่ยมไปด้วยความรู้แต่ผู้ปฏิบัติตามมีจำนวนน้อยนิด


สุนทโรวาทที่ 99 : นะฮฺญุลบเลาเฆาะฮฺ

وَ سَمِعَ رَجُلًا يَقُولُ إِنَّا لِلَّهِ وَ إِنَّا إِلَيْهِ راجِعُونَ فَقَالَ إِنَّ قَوْلَنَا إِنَّا لِلَّهِ إِقْرَارٌ عَلَى أَنْفُسِنَا بِالْمُلْكِ وَ قَوْلَنَا وَ إِنَّا إِلَيْهِ راجِعُونَ إِقْرَارٌ عَلَى أَنْفُسِنَا بِالْهُلْكِ .

อิมามอะลี (อ.) กล่าว ข้าฯได้ยินบุคคลหนึ่งกล่าวว่า อินนาลิลลาฮิวะอินนาอิลัยฮิรอญิอูน นี้คือคำพูดของเราที่ว่า พวกเราทั้งหมดมาจากพระองค์ เป็นการสารภาพถึงความเป็นบ่าว และการที่เรากล่าวว่าพวกเราทุกคนต้องย้อนกลับคืนสู่พระองค์เป็นการสารภาพถึงการสิ้นสลายของเรา


สุนทโรวาทที่ 100 : กกล่าวถึงวิธีขอมานาญาต (วิงวอนสิ่งที่ตนปรารถนา)

وَ قَالَ [عليه السلام] وَ مَدَحَهُ قَوْمٌ فِى وَجْهِهِ فَقَالَ اللَّهُمَّ إِنَّكَ أَعْلَمُ بِى مِنْ نَفْسِى وَ أَنَا أَعْلَمُ بِنَفْسِى مِنْهُمْ اللَّهُمَّ اجْعَلْنَا خَيْراً مِمَّا يَظُنُّونَ وَ اغْفِرْ لَنَا مَا لَا يَعْلَمُونَ.

อิมามอะลี (อ.) กล่าวแก่ชนกลุ่มหนึ่งที่กำลังวิงวอนว่า โอ้ อัลลอฮฺ พระองค์ทรงรู้จักข้าพระองค์ดีกว่าตัวข้า และข้าพระองค์รู้จักพวกเขาดีกว่าตัวพวกเขา โอ้ อัลลอฮฺ โปรดประทานสิ่งที่ดีกว่าพวกเขาคิดให้แก่ข้าฯ และโปรดอภัยแก่เราในสิ่งที่พวกเขาไม่รู้

 

ที่มา  http://www.balaghah.net

แสดงความเห็น