อะฮ์ลุลบัยต์ในอัล-กุรอาน ตอนที่ 7

ในอัสบาบุลนุซูลได้กล่าวว่า คนยากจนคนหนึ่งได้เข้ามาในมัสญิดนบี และได้ขอความช่วยเหลือจากประชาชนแต่ไม่มีใครให้ความช่วยเหลือแก่เขา ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้แสดงสัญลักษณ์แก่เขาขณะที่ท่านกำลังทำรุกูอฺอยู่ และท่านได้บริจาคแหวนของท่านแก่เขา

 

๘.โองการที่ ๕๕ ซูเราะฮฺมาอิดะฮฺ ความว่า

 

إِنَّمَا وَلِيُّكُمُ اللّهُ وَرَسُولُهُ وَالَّذِينَ آمَنُواْ الَّذِينَ يُقِيمُونَ الصَّلوةَ وَيُؤْتُونَ الزَّكَوةَ وَهُمْ رَاكِعُونَ

 

“อันที่จริงผู้ปกครองของพวกเจ้านั้นคืออัลลอฮฺ และรอซูลของพระองค์และบรรดาผู้ศรัทธาที่ดำรงไว้ซึ่งการนมาซ และจ่ายซะกาตและพวกเขาทำการโค้ง (รุกูอฺ)”

 

ในอัสบาบุลนุซูลได้กล่าวว่า คนยากจนคนหนึ่งได้เข้ามาในมัสญิดนบี และได้ขอความช่วยเหลือจากประชาชนแต่ไม่มีใครให้ความช่วยเหลือแก่เขา ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้แสดงสัญลักษณ์แก่เขาขณะที่ท่านกำลังทำรุกูอฺอยู่ และท่านได้บริจาคแหวนของท่านแก่เขาหลังจากนั้นโองการอัล-กุรอานดังกล่าวได้ถูกประทานลงมาให้เพื่อเป็นเกียรติกับท่านอิมามอะลี (อ.)

 

เหตุการณ์ดังกล่าวข้างต้นได้มีศอฮาบะฮฺ หลายคนรายงานอาทิเช่น ท่านอิบนุอับบาส, อัมมารฺ

ญาบีรฺ บินอับดุลลอฮฺ ,อบูซัรฺ ,อนัส บินมาลิก ,บิลาล และ ฯลฯ ซึ่งทั้งชีอะฮฺและสุนนีมีเห็นพร้องตรงกันในเรื่องการประทานโองการดังกล่าว ท่านอัมมารฺ ยาซีรฺกล่าวว่า หลังจากที่ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้บริจาคแหวนขณะทำนมาซ ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวว่า   من كنت مولاه فعلي مولاه   ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวสำทับโองการนี้อีกครั้งขณะที่ท่านกล่าวสุนทรพจน์ ณ ฆ่อดีรฺคุมซึ่งเป็นการอธิบายถึงตำแหน่งของท่านอิมามอะลี

 

ท่านอิมามอะลีได้อ้างโองการดังกล่าวนี้หลายๆ ต่อหลายครั้งเพื่อเป็นการพิสูจน์สัจธรรมของตัวท่าน รายละเอียดของโองการจะนำเสนอในโอกาสต่อไป

 

๙.โองการที่ ๖๗ ซูเราะฮฺมาอิดะฮฺ ซึ่งถือเป็นหลักฐานสำคัญที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงแต่งตั้งให้ท่าน

 

อิมามอะลีเป็นผู้นำสืบต่อหลังจากท่านศาสดา (ศ็อลฯ) อัล-กุรอานกล่าวว่า

 

يَا أَيُّهَا الرَّسُولُ بَلِّغْ مَا أُنزِلَ إِلَيْكَ مِن رَّبِّكَ وَإِن لَّمْ تَفْعَلْ فَمَا بَلَّغْتَ رِسَالَتَهُ وَاللّهُ يَعْصِمُكَ مِنَ النَّاسِ إِنَّ اللّهَ لاَ يَهْدِي الْقَوْمَ الْكَافِرِينَ

 

“โอ้รอซูล! จงประกาศสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่เจ้าจากพระผู้อภิบาลของเจ้า ถ้าเจ้าไม่ปฏิบัติเท่ากับเจ้าไม่ได้ประกาศสารของพระองค์เลย อัลลอฮฺทรงคุ้มกันเจ้าให้พ้นจากมนุษย์ แท้จริงอัลลอฮฺจะไม่ทรงชี้นำพวกที่ปฏิเสธศรัทธา”

 

บรรดานักตัฟซีรฺทั้งหลายของชีอะฮฺ และบางคนของสุนนี อาทิเช่น ฟัครุรฺ-รอซีย์ และตัฟซีรฺ อันมะนารฺ ได้พูดว่าโองการดังกล่าวเกี่ยวข้องกับท่านอิมามอะลี (อ.) และเหตุการณ์ในฆอดีรฺคุม

คำพูดของโองการข้างต้นกับโองการก่อนและหลังนั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ซึ่งอัล-กุรอานทั้งหมดมีเฉพาะโองการนี้เท่านั้นที่มีการขู่บังคับท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ให้ประกาศสารว่า หากท่านศาสดาไม่ยอมประกาศ การงานทั้งหมดที่ทำมา ๒๓ ปีนั้นถือว่าเปล่าประโยชน์ ซึ่งสิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่าสิ่งที่อัลลอฮฺทรงมีบัญชามาต้องเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง

 

แง่คิดจากโองการ

 

๑. ซูเราะฮฺมาอิดะฮฺ ถูกประทานลงมาในช่วงบั้นปลายสุดท้ายแห่งชีวิตอันจำเริญของท่านศาสดา (ศ็อลฯ)

 

๒. ในโองการได้แทนที่การใช้คำว่า  ياأيّهاالنبي  เป็นคำว่า ياأيهاالرسول  เป็นการแสดงให้เห็นว่าสารนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง

 

๓. โองการได้ย้ำเตือนท่านศาสดาว่าหากไม่ประกาศสารสำคัญดังกล่าวถือว่าการงานที่ทำมาทั้งหมดสูญเปล่า

๔. ท่านศาสดามีความหวั่นเกรงในการประกาศสิ่งนั้น แต่อัลลอฮฺได้ปลอบว่าฉันจะปกป้องเจ้าจากความชั่วร้ายของประชาชน

 

๕. ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ไม่ได้กลัวอันตรายจะเกิดขึ้นกับตัวท่าน เพราะที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นการทำลายเจว็ดในมักกะฮฺ การทำสงครามกับศัตรูครั้งแล้วครั้งเล่า ท่านไม่เคยกลัวอันตรายแม้แต่นิดเดียวหลายครั้งที่ท่านถูกขว้างด้วยก้อนหินจนสาวกหลายคนได้รับบาดเจ็บ แล้วท่านเพิ่งจะมานึกกลัวในบั้นปลายสุดท้ายแห่งชีวิตกระนั้นหรือ ?

 

๖. ความสำคัญของสารนั้นถือว่าเป็นรากฐานสำคัญของอิสลาม เพราะหากเป็นเรื่องรายละเอียดปลีกย่อยอัลลอฮฺ (ซบ.) ไม่จำเป็นต้องขู่ให้ท่านศาสดาทำ

 

๗. สิ่งสำคัญในสารนั้นไม่เกี่ยวข้องกับ เตาฮีด นุบูวัต หรือมะอาดแน่นอน เพราะสิ่งสำคัญเหล่านี้ท่านศาสดาได้เผยแพร่ตั้งแต่ตอนแรกที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสดา ไม่จำเป็นต้องมาแนะนำกันอีกในบั้นปลายสุดท้าย

 

๘. สิ่งสำคัญนี้ไม่เกี่ยวข้องกับนมาซ ศีลอด ซะกาต หัจญ์ และญิฮาดแน่นอน เพราะตลอด ๒๓ ปีท่านศาสดาได้เชิญชวนให้ประชาชนไปสู่ และพวกเขาก็ได้ปฏิบัติกันมาตลอดโดยไม่มีความกลัวใดๆ

 

๙ .สิ่งสำคัญสิ่งนั้นคือเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในฆ่อดีรฺคุม วันนั้นท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ทำการแต่งตั้งให้ท่านอิมามอะลี (อ.) เป็นตัวแทนและเป็นค่อลิฟะฮฺต่อภายหลังจากท่าน ท่านได้กล่าวสุนทรพจน์ด้วยเสียงที่ดังชัดเจนหลังจากนั้นท่านได้กล่าวว่า "ฉันขอฝากสิ่งสำคัญสองสิ่งไว้ให้เป็นอะมานะฮฺแก่พวกท่านอันได้แก่คัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ (กุรอาน) และอิตระตีผู้เป็นทายาทของฉัน สองสิ่งนี้จะไม่แยกออกจากกันอย่างเด็ดขาด โอ้ประชาชนเอ๋ยพวกท่านจงอย่าล้ำหน้าและอย่าหล้าหลังจากทั้งสอง เพราะมันจะเป็นสาเหตุทำให้พวกท่านหลงทางตลอดไป"

 

ในเวลานั้นท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้จับมือท่านอะลี (อ.) ชูขึ้นและแนะนำต่อประชาชน หลังจากนั้นท่านกล่าวว่า "ใครคือ ผู้ที่รู้ดีกว่าผู้ศรัทธาทั้งหลาย? พวกเขาพูดว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) และรอซูลของพระองค์เป็นผู้ทีรู้ดีกว่าใครทังหมด" ท่านศาสดา (ศ็อลฯ)กล่าวว่า "อัลลอฮฺ (ซบ.) เป็นผู้ปกครองฉัน ส่วนฉันเป็นผู้ปกครองมวลผู้ศรัทธาทั้งหลาย และฉันมีความประเสริฐกว่าพวกเขาและชีวิตของเขา" หลังจากนั้นท่านได้กล่าวว่า "ใครก็ตามที่ฉันเป็นผู้ปกครองเขา อะลีก็เป็นผู้ปกครองเขาด้วย ขออัลลอฮฺทรงรักผู้ที่รักเขา และเป็นศัตรูกับผู้ที่เป็นศัตรูกับเขา" หลังจากนั้นมลาอิกะฮฺญิบรออีลได้นำวะฮีย์ลงมาว่า “วันนี้ข้าได้ทำให้ศาสนาของพวกจ้าสมบูรณ์แล้วแก่พวกเจ้า และข้าได้ให้ความเมตตาของข้าอย่างคบถ้วนแก่พวกเจ้า"

 

๑๐. ตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺของท่านอิมามอะลีเหมือนกับเรื่องอะหฺกามในแง่ที่ว่าทั้งสองเป็นวะหฺยูจากพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งท่านศาสดา ได้ทำหน้าที่ประกาศ และเมื่อสิ่งนี้เป็นวะหฺยูจึงปราศจากข้อผิดพลาด การหลงลืม ความต้องการส่วนตัว และความผูกพันทางครอบครัวอย่างสิ้นเชิง สิ่งนี้เป็นพระบัญชาของอัลลอฮฺ

 

๑๑. ท่านศาสดาไม่มีหน้าที่ต้องทำอย่างอื่นนอกจากการประกาศสารและอะหฺการของพระองค์ ไม่ว่าประชาชนจะยอมรับหรือไม่ก็ตาม ดังความต้องการส่วนตัวของท่านศาสดาจึงไม่อาจมีอิทธิพลต่อภารกิจนั้นได้ เช่นกันการแต่งตั้งบรรดาศาสดา ทั้งหลายก็เป็นเช่นนี้ สรุปก็คือการแต่งตั้งท่านศาสดา และตัวแทนเป็นภาระของอัลลอฮฺโดยตรง ดังนั้นคำว่า (بلغ) จึงตรงประเด็นตามที่เรากล่าวอ้าง และทำให้รู้ว่าการแต่งตั้งตัวแทนของท่านศาสดา ไม่ใช่หน้าที่ของท่านศาสดา ท่านไม่ได้มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรง เพียงแค่เป็นผู้ประกาศวะหฺยูแก่ประชาชนตามพระประสงค์ของพระองค์ ฉะนั้นเมื่อท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ยังไม่สามารถแต่งตั้งตัวแทนของท่านได้แล้ว แน่นอนบุคคลก็ไม่ต้องกล่าวถึงอีกเลย ซึ่งสิ่งนี้สามารถเข้าใจได้จากคำว่า (بلغ) ดังนั้นแต่งตั้งตัวแทนจึงไม่ใช่หน้าที่ของมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม

 

๑๒. ตำแหน่งตัวแทนของท่านอิมามอะลี (อ.) ในยุคนั้นเป็นหน้าที่เฉพาะที่ถูกประทานลงมาให้กับท่านศาสดาซึ่งได้ถูกกำหนดมาตั้งแต่วันแรก ดังเช่นอะหฺกามอิสลามที่ได้ถูกกำหนดมาตั้งแต่วันแรกเช่นกัน เพียงแต่อัลลอฮฺได้ประกาศแก่ประชาชนตามวาระโอกาสที่พระองค์เห็นว่ามีความเหมาะสม ด้วยเหตุนี้ท่านศาสดาจึงกล่าวว่า “ฉันเป็นนบีตั้งแต่ท่านอาดัมยังอยู่ระหว่างน้ำกับดิน” ดังตำแหน่งของการเปิดเผยจึงมาก่อนการแต่งตั้ง เหตุผลของการกล่าวอ้างคือคำว่า อันซะละ นั้นบ่งบอกว่าพระบัญชานั้นได้มาจากองค์พระผู้อภิบาล

 

๑๓. การให้ความสำคัญต่อตำแหน่งอิมามและวะศีย์ในอิสลาม หมายถึงศาสนานั้นขึ้นอยู่กับอิมาม และในความเป็นจริงอิมามัตคือแก่นของศาสนา ดังนั้นอุปมาของศาสนาที่ปราศจากอิมาม จึงเหมือนกับคนที่ไม่มีหัวใจ ดังเช่นที่ อัลลอฮฺทรงกำชับอย่างหนักกับท่านศาสดาว่า “ถ้าท่านไม่ทำเท่ากับว่าไม่เคยประกาศสารของข้าเลย” ประโยคดังกล่าวต้องการสื่อว่ามันสมองของอะหฺกาม หรือฐานรากของมันนั้นคือ วิลายะฮฺแาละอิมาม นั่นเอง

 

๑๔ .ประชาชนที่อยู่ในเหตุการณ์ครั้งนั้น พยายามใช้อิทธิพลและอำนาจที่ตนมีอยู่บีบบังท่านศาสดา ถ้าท่านศาสดาประกาศสารนั้นเมื่อใดพวกเขาจะจัดการกับท่านทันที ดังนั้นพระองค์จึงตรัสว่า “อัลลอฮฺจะทรงคุ้มครองท่านจากบรรดาประชาชน

 

 

แสดงความเห็น