นะห์ญุลบาลาเฆาะ อิมามอาลี (อ.) ที่ 71-80
นะห์ญุลบาลาเฆาะ อิมามอาลี (อ.) ที่ 71-80
สุนทโรวาทที่ 71: สัญลักษณ์ของสติปัญญาที่สมบูรณ์
وَ قَالَ [عليه السلام] إِذَا تَمَّ الْعَقْلُ نَقَصَ الْكَلَامُ.
อิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า "คนฉลาดมักจะพูดน้อย"
สุนทโรวาทที่ 72: ความสัมพันธ์ระหว่างโลกกับมนุษย์
وَ قَالَ [عليه السلام] الدَّهْرُ يُخْلِقُ الْأَبْدَانَ وَ يُجَدِّدُ الْآمَالَ وَ يُقَرِّبُ الْمَنِيَّةَ وَ يُبَاعِدُ الْأُمْنِيَّةَ مَنْ ظَفِرَ بِهِ نَصِبَ وَ مَنْ فَاتَهُ تَعِبَ.
อิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า "โลกทำให้ร่างกายแก่ชรา และทำให้มีความหวังใหม่เสมอ ความตายเข้ามาใกล้ทุกขณะ ผลักใสความปรารถนาให้ออกห่างไกล ใครสัมผัสมันจะทำเหนื่อยล้า และใครไปไม่ถึงมันจะยากลำบาก"
สุนทโรวาทที่ 73: ความจำเป็นในการขัดเกลาผู้นำและผู้บริหาร
وَ قَالَ [عليه السلام] مَنْ نَصَبَ نَفْسَهُ لِلنَّاسِ إِمَاماً فَلْيَبْدَأْ بِتَعْلِيمِ نَفْسِهِ قَبْلَ تَعْلِيمِ غَيْرِهِ وَ لْيَكُنْ تَأْدِيبُهُ بِسِيرَتِهِ قَبْلَ تَأْدِيبِهِ بِلِسَانِهِ وَ مُعَلِّمُ نَفْسِهِ وَ مُؤَدِّبُهَا أَحَقُّ بِالْإِجْلَالِ مِنْ مُعَلِّمِ النَّاسِ وَ مُؤَدِّبِهِمْ .
อิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า "บุคคลที่เสนอตนเป็นผู้นำปวงชน จงสอนตนเองก่อนที่จะสอนคนอื่น จงสอนคนอื่นด้วยการกระทำก่อนที่จะสอนด้วยคำพูด เนื่องจากคนที่สอนและอบรมตัวเองก่อนย่อมคู่ควรต่อการยกย่องมากกว่าบุคคลที่ได้แต่สอนคนอื่น"
สุนทโรวาทที่ 74: ความจำเป็นในการรำลึกถึงความตาย
وَ قَالَ [عليه السلام] نَفَسُ الْمَرْءِ خُطَاهُ إِلَى أَجَلِهِ .
อิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า "ทุกลมหายใจของมนุษย์ คือการย่างก้าวไปสู่ความตาย"
สุนทโรวาทที่ 75: การใคร่ครวญถึงการผุสลายของโลก
وَ قَالَ [عليه السلام] كُلُّ مَعْدُودٍ مُنْقَضٍ وَ كُلُّ مُتَوَقَّعٍ آتٍ .
อิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า "ทุกสิ่งที่สามารถนับได้ย่อมมีสิ้นสุด และทุกสิ่งที่รอคอยย่อมมาถึง"
สุนทโรวาทที่ 76: วิธีการทดสอบ
وَ قَالَ [عليه السلام] إِنَّ الْأُمُورَ إِذَا اشْتَبَهَتْ اعْتُبِرَ آخِرُهَا بِأَوَّلِهَا .
อิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า "เมื่อการงานมีความสับสน จงนำเอาจุดจบมาเปรียบเทียบกับจุดเริ่มต้น"
สุนทโรวาทที่ 77: การรู้จักโลก
وَ مِنْ خَبَرِ ضِرَارِ بْنِ حَمْزَةَ الضَّبَائِيِّ عِنْدَ دُخُولِهِ عَلَى مُعَاوِيَةَ وَ مَسْأَلَتِهِ لَهُ عَنْ أَمِيرِ الْمُؤْمِنِينَ ع وَ قَالَ فَأَشْهَدُ لَقَدْ رَأَيْتُهُ فِى بَعْضِ مَوَاقِفِهِ وَ قَدْ أَرْخَى اللَّيْلُ سُدُولَهُ وَ هُوَ قَائِمٌ فِى مِحْرَابِهِ قَابِضٌ عَلَى لِحْيَتِهِ يَتَمَلْمَلُ تَمَلْمُلَ السَّلِيمِ وَ يَبْكِى بُكَاءَ الْحَزِينِ وَ يَقُولُ يَا دُنْيَا يَا دُنْيَا إِلَيْكِ عَنِّى أَ بِى تَعَرَّضْتِ أَمْ إِلَيَّ تَشَوَّقْتِ لَا حَانَ حِينُكِ هَيْهَاتَ غُرِّى غَيْرِى لَا حَاجَةَ لِى فِيكِ قَدْ طَلَّقْتُكِ لَاثاً لَا رَجْعَةَ فِيهَا فَعَيْشُكِ قَصِيرٌ وَ خَطَرُكِ يَسِيرٌ وَ أَمَلُكِ حَقِيرٌ آهِ مِنْ قِلَّةِ الزَّادِ وَ طُولِ الطَّرِيقِ وَ بُعْدِ السَّفَرِ وَ عَظِيمِ الْمَوْرِدِ .
ฎิรอร บุตรของฮัมซะฮฺ เฎาะบาอียฺ สาวกคนหนึ่งของอิมาม (อ.) เดินทางไปยังเมืองชาม ขณะที่เข้าพบมุอาวิยะฮฺ เขาได้ถามข่าวคราวเกี่ยวกับอะมีริลมุอฺมินีน (อ.) ฎิรอร กล่าวว่า "ฉันขอสาบานว่า ฉันเห็นเขาบางช่วงในยามค่ำคืนเขาได้แฝงตัวอยู่ในความมืด และยืนอิบาดะฮฺ ณ ช่องมะฮฺรอบ เอามือลูบเคราสภาพของท่านเหมือนคนที่ถูกงูรัด และร้องไห้เหมือนคนมีความทุกข์อย่างหนัก"
อิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า "โอ้ โลกเอ๋ย โอ้ โลกเอ๋ย จงไปไกลจากข้า เจ้าต้องการอวดข้าหรือ? เจ้ากลายเป็นความหวังของข้าเพื่อว่าวันหนึ่งเจ้าจะได้ครองใจข้า? โอ้ โลกไปหลอกลวงผู้อื่นเถิด เจ้าไม่มีสิ่งใดที่ข้าต้องการ ข้าได้หย่าตัดขาดเจ้ามาสามครั้งแล้ว ข้าจะไม่กลับมาหาเจ้าอีกต่อไป ชีวิตของเจ้าสั้นเพียงนิดเดียว คุณค่าของเจ้าก็มีเพียงเล็กน้อย ความหวังของเจ้าต่ำทราม เสบียงของเจ้ามีน้อย หนทางของเจ้ายาวไกล ระยะทางของเจ้ายาวนาน ส่วนวันสิ้นโลกนั้นยิ่งใหญ่"
สุนทโรวาทที่ 78: ฐานะภาพของการบังคับกับการเลือกสรร
وَ مِنْ كَلَامٍ لَهُ [عليه السلام] لِلسَّائِلِ الشَّامِيِّ لَمَّا سَأَلَهُ أَ كَانَ مَسِيرُنَا إِلَى الشَّامِ بِقَضَاءٍ مِنَ اللَّهِ وَ قَدَرٍ بَعْدَ كَلَامٍ طَوِيلٍ هَذَا مُخْتَارُهُ
وَيْحَكَ لَعَلَّكَ ظَنَنْتَ قَضَاءً لَازِماً وَ قَدَراً حَاتِماً لَوْ كَانَ ذَلِكَ كَذَلِكَ لَبَطَلَ الثَّوَابُ وَ الْعِقَابُ وَ سَقَطَ الْوَعْدُ وَ الْوَعِيدُ إِنَّ اللَّهَ سُبْحَانَهُ أَمَرَ عِبَادَهُ تَخْيِيراً وَ نَهَاهُمْ تَحْذِيراً وَ كَلَّفَ يَسِيراً وَ لَمْ يُكَلِّفْ عَسِيراً وَ أَعْطَى عَلَى الْقَلِيلِ كَثِيراً وَ لَمْ يُعْصَ مَغْلُوباً وَ لَمْ يُطَعْ مُكْرِهاً وَ لَمْ يُرْسِلِ الْأَنْبِيَاءَ لَعِباً وَ لَمْ يُنْزِلِ الْكُتُبَ لِلْعِبَادِ عَبَثاً وَ لَا خَلَقَ السَّمَاوَاتِ وَ الْأَرْضَ وَ مَا بَيْنَهُمَا بَاطِلًا ذلِكَ ظَنُّ الَّذِينَ كَفَرُوا فَوَيْلٌ لِلَّذِينَ كَفَرُوا مِنَ النَّارِ
อิมามอะลี (อ.) กล่าวตอบชายเมืองชาม ซึ่งถามว่าการเดินทางไปยังชามของเราเป็นข้อกำหนดของพระเจ้าหรือ อิมามได้ตอบเขายาวพอสมควร ซึ่งได้เลือกบางตอนของคำตอบมากล่าว ณ ที่นี้
"โอ้ อนิจจาเจ้าคิดว่าการกำหนดกฎสภาวะนั้นเป็นสิ่งจำเป็นกระนั้นหรือ? ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงแล้วรางวัลตอบแทน การลงโทษ การแจ้งข่าวดี และการขู่บังคับของพระเจ้าเป็นไร้สาระหรือ? อัลลอฮฺทรงมีบัญชาแก่ปวงบ่าวขณะที่พวกเขาก็มีการเจตนารมณ์เสรีในการเลือก พระองค์ทรงสั่งห้ามเพื่อให้พวกเขาเกรงกลัว พระองค์ทรงทำให้บทบัญญัติง่าย ๆ เป็นข้อบังคับ มิได้ทรงกำหนดหน้าที่อันยากลำบากใดแก่มนุษย์ ทรงตอบแทนรางวัลมากมายแก่งานเพียงเล็กน้อย ไม่เคยปราชัยแก่บ่าวที่ฝ่าฝืน มิทรงขู่บังคับผู้ใดให้เชื่อฟังปฏิบัติตาม ไม่ได้ส่งนบีมาอย่างไร้สาระ มิได้ประทานคัมภีร์ลงมาโดยเปล่าประโยชน์ มิได้สร้างชั้นฟ้าทั้งหลาย แผ่นดิน และสิ่งที่อยู่ระหว่างทั้งสองโดยไร้จุดหมาย นี่คือความคิดของประชาชนผู้ปฏิเสธ ความพินาศจากการลงโทษในไฟนรกบังเกิดแก่กลุ่มชนผู้ปฏิเสธ"
สุนทโรวาทที่ 79: คุณค่าของความรู้ความละอายของพวกสับปลับ
وَ قَالَ [عليه السلام] خُذِ الْحِكْمَةَ أَنَّى كَانَتْ فَإِنَّ الْحِكْمَةَ تَكُونُ فِى صَدْرِ الْمُنَافِقِ فَتَلَجْلَجُ فِى صَدْرِهِ حَتَّى تَخْرُجَ فَتَسْكُنَ إِلَى صَوَاحِبِهَا فِى صَدْرِ الْمُؤْمِنِ .
อิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า "จงแสวงหาความรู้ไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใดก็ตาม ความรู้จะไม่คลุกเคล้าในหัวอกของผู้สับปลับ จนกระทั่งได้ออกมาข้างนอกและพำนักในหัวใจของผู้ศรัทธาอย่างเงียบสงบ"
สุนทโรวาทที่ 80 : ผู้ศรัทธาและคุณค่าของปัญญา
وَ قَالَ [عليه السلام] الْحِكْمَةُ ضَالَّةُ الْمُؤْمِنِ فَخُذِ الْحِكْمَةَ وَ لَوْ مِنْ أَهْلِ النِّفَاقِ .
อิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า "ความรู้ คือ สิ่งที่สูญหายของผู้ศรัทธา ดังนั้น จงแสวงหาความรู้แม้จากคนสับปลับก็ตาม"
แสดงความเห็น