ตำแหน่งอิมามในทัศนะของอัลกุรอานและซุนนะฮ์
ตำแหน่งอิมามในทัศนะของอัลกุรอานและซุนนะฮ์
อิมามในเชิงภาษา
อิมาม ในภาษาอาหรับหมายถึง ผู้นำ เป็นธรรมชาติ และเป็นที่ยอมรับของสากลว่าไม่มีสังคมไหนบนโลกนี้จะปราศจากผู้นำได้อย่างเด็ดขาด ฉะนั้นสิ่งที่ควรจะกล่าวถึงคือ ผู้นำสังคมมนุษย์ใครคือผู้แต่งตั้ง ? อัลลอฮฺ (ซบ.) เป็นผู้แต่งตั้ง หรือว่ามนุษย์ปุถุชนเฉกเช่นเราทั้งหลาย ?
เกี่ยวกับเรื่องนี้อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงตรัสไว้ว่า ....
واذابتلي ابراهيم ربّه بكلمات فاتمّهنّ قال انّي جاعلك للنّاس اماما قال ومن ذرّيتي قال لاينال عهدي الظالمين
ความว่า “และจงรำลึกถึง เมื่อพระผู้อภิบาลของอิบรอฮีมได้ทดสอบเขา ด้วยถ้อยคำบางประการ แล้วเขาได้ปฏิบัติอย่างครบถ้วน พระองค์ตรัสว่า แท้จริงข้าจะแต่งตั้งให้เจ้าเป็นผู้นำมนุษยชาติ เขากล่าวว่า และจากลูกหลานของข้าพระองค์ด้วยหรือ พระองค์ตรัสว่า สัญญาของข้าจะไม่แผ่ถึงบรรดาผู้อธรรม” (บะกอเราะฮฺ: ๑๒๔)
จากอัล-กุรอานจะพบว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ทำการแต่งตั้งอิมาม สำหรับประชาชาติด้วยพระองค์เอง ซึ่งอิมามนั้นต้องบริสุทธิ์ปราศจากบาปทั้งปวง และอิมามที่อัลลอฮฺ ทรงแต่งตั้งนั้นในบางครั้งเป็นรอซูล ที่มีบทบัญญัติอย่างเช่น ท่านศาสดานูห์ อิบรอฮีม มูซา อีซา และท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ในบางครั้งวะศีย์ (ตัวแทน) ของบรรดาศาสดาที่เป็นเจ้าของบทบัญญัติ เช่น ท่านซาม บุตรของศาสดา นูห์ (อ.) ท่านยูชิอ์ตัวแทนของท่านศาสดามูซา (อ.) และก่อนหน้านี้ยังมี ฮับตุ้ลลอฮฺ หรือ ชัยยัษ ซึ่งเป็นตัวแทนของท่านศาสดา อาดัม (อ.) ซึ่งนามของบางท่านมีกล่าวไว้ในอัล-กุรอาน และบางท่านนั้นไม่มี ซึ่งการที่นามของท่านไม่ได้กล่าวไว้ในอัล-กุรอานนั้นไม่ได้หมายความว่า ท่านไม่ได้เป็นตัวแทนของท่านศาสดา แต่มีความจำเป็นอันใดหรือที่บรรดาศาสดาก่อนหน้าท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้แนะนำผู้เป็นตัวแทนของท่านสำหรับประชาชาติ ? ดังนั้นเป็นความชัดเจนเสียเหลือเกินสำหรับท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ต้องแนะนำผู้เป็นตัวแทนของท่านเอาไว้ทั้งในอัล-กุรอานและซุนนะฮฺของท่าน.
แต่มีคำถามหนึ่งคนส่วนมากมักจะสงสัย และถามอยู่เป็นประจำว่า “ทำไมนามของท่านอะลีจึงไม่กล่าวไว้ในอัล-กุรอาน”?
คำตอบ....สำหรับปุจฉานี้จำเป็นต้องมีบอารัมภบทดังนี้
ประการที่หนึ่ง: อัล-กุรอานกับซุนนะฮฺของท่านศาสดาคือความสมบูรณ์ของกันและกัน
ฐานรากของหลักความศรัทธา และหลักการปฏิบัติบัติทั้งหมดตลอดจนความรู้อิสลามด้านอื่นๆ นั้นขึ้นอยู่กับอัล-กุรอาน ส่วนคำอรรถธิบาย การนำมาปฏิบัติและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันต้องอิงอาศัยพระวัจนะ และการปฏิบัติของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เป็นตัวกำหนด ซึ่งเรียกสิ่งนี้ว่าหะดีษ และแบบฉบับของท่านศาสดา นั่นเอง ด้วยเหตุนี้เองอัลลอฮฺ (ซบ.) จึงตรัสกับประชาชาติว่า การภักดีกับท่านรอซูลเท่ากับภักดีกับข้า ทรงตรัสว่า ..
اطيعواالله ورسولَه / اطيعوالله والرسولَ / اطيعواالله واطيعوالرسول / واطيعواالرسول[1]
ซึ่งความหมายโดยรวมนั้นหมายถึง “จงภักดีกับอัลลอฮฺ และรอซูลของพระองค์”
บางครั้งพระทรงตรัสว่า การปฏิเสธคำสั่งของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เท่ากับปฏิเสธบัญชาของพระองค์ ทรงตรัสว่า....
ومن يعص الله ورسوله فانّ له نارجهنّم
ความว่า “และผู้ใดฝ่าฝืนอัลลอฮฺ และรอซูลของพระองค์แท้จริงสำหรับ เขานั้นคือไฟนรก”
ومن يعص الله ورسوله فقدضلّ ضللا مبينا
ความว่า “และผู้ใดฝ่าฝืนอัลลอฮฺ และรอซูลของพระองค์แน่นอนเขาได้หลงผิดอย่างอย่างชัดเจน”
ومن يعص الله ورسوله ويتعد حدوده يدخله ناراخالدافيها وله عذاب مهين [2]
ความว่า “และผู้ใดฝ่าฝืนอัลลอฮฺ และรอซูลของพระองค์ และละเมิดขอบเขตของพระองค์ พระองค์จะทรงให้เขาเข้านรก โดยประจำอยู่ในนั้นตลอดกาล และเขาต้องได้รับการลงโทษที่อัปยศยิ่งแก่พวกเขา”
فانّ عصوك فقل انّي بريء ممّاتعملون[3]
ความว่า “หากพวกเขาฝ่าฝืน เจ้าจงกล่าวเถิดแท้จริงฉันขอปลีกตัวให้พ้นจากสิ่งที่พวกท่านปฏิบัติกันอยู่”
เมื่ออยู่ต่อหน้าพระบัญชา และกฏเกณฑ์ต่างๆ ที่พระองค์และรอซูลของพระองค์ได้นำออกมา บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลายไม่มีสิทธิ์ที่จะเลือกสรรอัล-กุรอานกล่าวว่า..
وماكان لمؤمن ولامؤمنة اذاقض الله ورسوله امراان يكون لهم الخيرة من امرهم ومن يعص الله ورسوله فقد ضلّ ضللامبينا
ความว่า “สำหรับศรัทธาชนทั้งชายและหญิง ไมีมีสิทธิที่จะเลือกการงานของพวกเขาเมื่ออัลลอฮฺ และศาสนทูตของพระองค์ได้ตัดสินแล้ว และผู้ใดฝ่าฝืนอัลลอฮฺ และรอซูลของพระองค์แน่นอนเขาได้หลงผิดอย่างอย่างชัดเจน” (อะหฺซาบ :๓๖)
อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ให้พระวจนะและความประพฤติของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เป็นเหตุผลของพระองค์สำหรับประชาชาติทั้งหลาย ทรงแต่งตั้งให้ท่านเป็นผู้นำมวลมนุษย์ และได้เอาสัญญาจากมนุษย์ว่าต้องปฏิบัติตามพระบัญชาของพระองค์ อัล-กุรอานกล่าวว่า
فآمنوابالله ورسوله النبي الأمي الذي يؤمنوا بالله وكلماته واتبعوه لعلكم تهتدون[4]
ความว่า “ดังนั้นพวกท่านจงศรัทธาต่ออัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์ นบีผู้ซึ่งอ่านเขียนไม่เป็น ผู้ซึ่งศรัทธาต่ออัลลอฮฺ และมวลพจนาถทั้งหลายของพระองค์ และจงปฏิบัติตามเขา เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับทางนำ”
อัล-กุรอานกล่าวอีกว่า قل ان كنتم تحبون الله فاتّبعوني
ความว่า “จงกล่าวเถิดว่า ถ้าพวกท่านรักอัลลอฮฺ ดังนั้นจงปฏิบัติตามฉัน”(อาลิอิมรอน :๓๑)
บางโองการกล่าวว่า لقدكان لكم في رسول الله اسوة حسنة
ความว่า “แน่นอนรอซูลนั้นคือแบบอย่างที่ดีสำหรับสูเจ้า”(อะอฺซาบ :๒๑)
وماينطق عن الهوى ان هو ا لاوحي يوحى
ความว่า “และเขามิได้พูดตามอารมณ์ คำพูดของเขามิใช่อื่นใดนอกจากเป็นวะฮีย์ที่ถูกประทานลงมา”(อัล-นัจมุ :๓/๔)
ولوتقوّل علينا بعض الأقاويل لأخذنا منه با ليمين ثمّ لقطعنا منه الوتين
ความว่า “และหากเขา (มุฮัมมัด) เสกสรรคำพูดปดบางคำพาดพิงมายังเรา เราจะจับมือข้างขวาของเขา หลังจากนั้นเราจะตัดเส้นชีวิตของเขาให้ขาด”(อัล-หากเกาะฮฺ :๔๔/๔๖)
ประการที่สอง: การคาดการณ์ล่วงหน้าของท่านศาสดา (ศ็อลฯ)
สิ่งที่กล่าวมาแล้วล้วนเป็นถ้อยพจนาถของอัลลอฮฺ (ซบ.) ทั้งสิ้น ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวไว้เช่นกันเกี่ยวกับผู้ที่ยึดมั่นเฉพาะคัมภีร์ของอัลลอฮฺ แต่ได้ละทิ้งซุนนะฮฺของท่าน ซึ่งจะขอกล่าวเฉพาะบางหะดีษที่เชื่อถือได้และบันทึกอยู่ในตำราของอหฺลิซซุนนะฮฺอาทิเช่น
สุนันติรฺมิซีย์ อิบนุมาญะฮฺ ดาระมี มุสนัดอหฺมัดและสุนันอบูดาวูด ซึ่งบันทึกอยู่ใน บาบลุซูมุ้ลซุนนะฮฺ จาก กิตาบุ้ซซุนนะฮฺ ได้บันทึกไว้ว่า “รายงานจากท่านมิกดาม บิน มุอัดดี กุรฺบิ[5] ว่าท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กาล่าวว่า พวกท่านจงพึงสังวรไว้ว่า แท้จริงอัล-กุรอานได้ลงมาที่ฉัน สิ่งที่เคียงข้างกับอัล-กุรอานคือซุนนะฮฺของฉันและพวกท่านจงรู้ไว้ว่า ในไม่ช้าไม่นานจะมีผู้ที่ท้องของเขาเต็มไปด้วยอาหาร นั่งสบายอยู่บนตำแหน่งและเขาจะพูดว่า กุรอานอย่างเดียวก็เพียงพอแล้ว และสิ่งหะล้าลใดที่ท่านได้พบในนั้นจงรู้ไว้ว่าสิ่งนั้นเป็นหะล้าล สิ่งใดที่ท่านพบว่าหะร่ามมันก็เป็นหะร่าม.
สุนันติรฺมิซีย์ ได้กล่าวเพิ่มเติมหะดีษข้างต้นว่า "ขณะที่พวกเขาไม่ได้คิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ท่านศาสดาได้ทำให้หะร่าม(สั่งห้าม) มันก็เหมือนกับอัลลอฮฺได้สั่งห้ามไว้เช่นกัน"
มุสนัดอหฺมัด บิน หันบัล ได้บันทึกรายงานของมิกดาม บิน มุอัดดี กุรฺบิว่า "ในสงครามคัยบัรฺท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กำหนดให้หลายสิ่งหลายอย่างเป็นหะร่าม หลังจากนั้นกล่าวว่า ในไม่นานนี้จะมีบางคนในหมู่ของพวกท่านมาแอบอ้างคำพูดและโกหกพาดพิงถึงฉัน ขณะที่เขาเสวยอำนาจอย่างสบายเมื่อมีคนกล่าวหะดีษของฉันให้เขาฟัง เขาจะพูดว่า ท่ามกลางพวกเรามีอัล-กุรอานอยู่แล้วสิ่งใดที่พบว่าเป็นหะล้าลในอัล-กุรอานเราก็จะดำเนินต่อไป และสิ่งใดที่พบว่าเป็นหะร่าม เราก็จะถือว่ามันเป็นหะร่าม และจงรู้ไว้เถิดว่าสิ่งใดที่ท่านศาสดา ได้สั่งห้าม (หะร่าม) ก็เหมือนกับอัลลอฮฺ (ซบ.) ได้สั่งห้าม
๒. สุนันติรฺมิซีย์ อิบนุมาญะฮฺ มุสนัดอหฺมัด และสุนันอบุดาวุด ได้รายงานจากท่านอับดุลลอฮฺ บินอบีรอฟิอฺ[6] จากบิดาของท่านว่า ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวว่า "พึงสังวรไว้ว่า ในหมู่ของพวกท่านจะมีบางคนที่นั่งเสวยสุขอยู่บนอำนาจ เมื่อนำสิ่งทีฉันได้กำหนดว่าเป็นหะล้าลและหะร่ามไปเสนอให้กับเขา ซึ่งเขาจะพูดว่า ฉันไม่รู้ ฉันจะทำเฉพาะสิ่งที่ถูกพบในอัล-กุรอานเท่านั้น."
ประโยคสุดท้ายของหะดีษข้างต้น ในมุสนัด อหฺมัดได้บันทึกไว้ว่า "เขาจะพูดว่า สิ่งนี้ฉันไม่เคยพบในอัล-กุรอาน"
๓. สุนันอบูดาวูด ในกิตาบ คิรอจ ได้บันทึกไว้โดยรายงานมาจาก อัรฺบาฎ บิน ซารียะฮฺว่า[7] "พวกเรากับท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้เข้าไปในคัยบัรฺด้วยกัน ขณะที่มีอัศฮาบหลายคนร่วมเดินทางไปด้วย ชายผู้เป็นหัวหน้าบรรดาคัยบัรฺทั้งหลาย เป็นคนที่แข็งกระด่าง ป่าเถื่อนและมีความดุร้ายได้เดินเข้ามาหาท่านศาสดา (ศ็อลฯ) และพูดว่า "มุฮัมมัดถูกต้องแล้วหรือที่ท่านได้เชือดสัตว์เลี้ยงของเรา กินผลไม้ของเรา กลั่นแกล้งสตรีของเรา ?
ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) โกรธมากเมื่อได้ยินเช่นนั้น ท่านได้หันมาหาอับดุรฺเราะหฺมาน บินเอาฟ์ และกล่าวว่า "เจ้าขึ้นม้าไปประกาศกับประชาชนว่า สวรรค์มิได้ถูกเตรียมไว้เฉพาะผู้ศรัทธาเท่านั้น และให้พวกเขามาร่วมกันนมาซ" อัรฺบาฎ พูดว่าประชาชนทั่วทุกจุดได้มารวมตัวกันเพื่อทำนมาซและรับฟังสุนทรพจน์ของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ท่านได้ยืนขึ้นและกล่าวสุนทรพจน์ว่า "มีบางคนจากพวกท่าน เมื่อสุขสบายแล้วคิด เอาเองว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) ไม่เคยสั่งห้ามสิ่งใด นอกจากสิ่งที่กล่าวไว้ในอัล-กุรอานเท่านั้น พวกท่านจงรู้ไว้ และฉันขอเตือนพวกท่านว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่ฉันได้สั่งให้ปฏิบัติ และสั่งห้ามนั้นมันคืออัล-กุรฺอานและอยู่ในฐานะเดียวกับอัล-กุรฺอานจำเป็นต้องนำไปปฏิบัติ อัลลอฮฺ ไม่ได้อนุมัติแก่พวกท่านให้เข้าไปสู่บ้านของชาวคัมภีร์โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือได้รับการเห็นชอบของเจ้าของบ้าน หรือกลั่นแกล้งสตรีของพวกเขา เก็บผลไม้ของพวกเขากิน ขณะที่สิ่งของเหล่านั้นยังเป็นของพวกเขาอยู่.
๔. มุสนัดอหฺมัดได้บันทึกโดยรายงานมาจากท่านอบูหุรอยเราะฮฺ[8]ว่า ท่านรอซูล (ศ็อลฯ) กล่าวว่า"จะมีบางคนจากพวกท่านเมื่อนำเอาหะดีษของฉันไปเสนอเขา เขาจะนั่งอย่างสบายบนอำนาจของเขาและกล่าวว่า เกี่ยวกับเรื่องนี้จงอ้างอัล-กุรอานให้ฉันฟัง"
บทนำของสุนันดาระมี ได้รายงานจากท่าน หิซาน บิน ษาบิต อันศอรีย์[9]ว่า "เหมือนดั่งเช่นที่ท่านญิบรออีลได้นำอัล-กุรอานลงมา ท่านได้นำเอาซุนนะฮฺลงมาให้ท่านศาสดาด้วย"
สิ่งเหล่านี้เป็ตัวอย่างจากอัล-กุรอานและหะดีษของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ที่บ่งบอกว่าการปฏิบัติตามซุนนะฮฺของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) นั้นมีคามสำคัญและจำเป็อย่างยิ่ง ส่วนการปฏเสธได้ถูกสั่งห้ามเอาไว้ และสำหรับผู้ที่ยึดมั่นกับอัล-กุรอานเพียงอย่างเดียวโดยละทิ้งซุนนะฮฺของท่านศาสดา (ศ็อลฯ)ได้ถูกท่านศาสดาเตือนสำทับอย่างรุนแรงไว้เช่นกัน
ฉะนั้นสรุปได้ว่าอิสลามมราท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้นำมาเผยแพร่นั้นไม่อาจยึดมั่นกับอัล-อานเพียงอย่างเดียวโดยทอดทิ้งซุนนะฮฺของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เหตุผลของคำกล่าวอ้างข้างตนจะเห็นได้จากตัวอย่างดังต่อไปนี้
อัล-กุรอานได้กล่าวเน้นว่า สูเจ้าจงดำรงนมาซ แต่พระองค์ไม่ได้อธิบายว่านมาซควรจะทำอย่างไร ? และทำแบบไหน มีเงื่อนไขอย่างไร ดังนั้นถ้าท่านไม่ย้อนไปหาซุนนะฮฺของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ท่านจะไม่มีวันเข้าใจได้อย่างเด็ดขาด ดังนั้นเมื่อเราได้ย้อนกลับไปหาหะดีษ และแบบฉบับของท่านศาสดาจึงทำให้รู้ว่านมาซมีกี่ระอะอัต และควรจะอ่านอะไร ทำแบบไหน มีเงื่อนไขอย่างไร อะไรบ้างที่ทำให้นมาซเสีย
การประกอบพิธีหัจญ์เช่นเดียวกัน ด้วยกับการย้อนกลับไปหาแบบฉบับของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ทำให้รู้ว่าเนียตอิหฺรอมต้องเนียตอย่างไร ที่ไหนเป็นสถานที่ครองอิหฺรอม การเดินเฏาะวาฟเวียนรอบกะอฺบะฮฺ วุกูฟในอาระฟะฮฺ ในมัชอัรฺ การขว้างเสาหิน และอื่นๆ ตลอดจนสิ่งที่เป็นหะล้าล และหะร่ามในการประกอบพีหัจญ์
จากสองตัวอย่างทำให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าการย้อนกลับไปหาซุนนะฮฺของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) นั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนว่าการใชอัล-กุรอานเพียงอย่างเดียวโดยไม่พึงซุนนะฮฺของท่านศาสดานั้นเป็นไปไม่ได้ และท่านไม่อาจปฏิบัติอมั้ลสองประการข้างต้นได้อย่างแน่นอน ตลอดจนอหฺกามอื่นๆ ของอิสลามก็อยู่ในสภาพเดียวกัน
ด้วยเหตุนี้เพื่อการเรียนรู้จักอิสลาม และปฎิบัติตามพระบัญชาของระผู้เป็นเจ้าจำเป็นต้องอิงอาศัยทั้งอัล-กุรอานและซุนนะฮฺของท่านศาสาดา ฉะนั้นถ้ามีใครยึดมั่นเฉพาะอัล-กุรอานเพียงอย่างเดียว หรือในทางกลับกันเท่ากับว่าเขาได้ปล่อยเงื่อนไขสำคัญของอิสลามไป กฏเกณฑ์ต่างๆ ของอิสลามเขาได้ตีความตามอำเภอน้ำใจตนเอง เพราะการตัดซุนนะฮฺ ของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ซึ่งถือว่าเป็นกุญแจที่จะนำไปสู่ความเข้าใจอัล-กุรอานเมื่อถูกทอดทิ้งแล้วท่านจะเข้าใจอิสลามได้อย่างไร ฉะนั้นจึงพบว่าการอธิบาย และการตะอฺวีลอัล-กุรอานจึงเป็นไปตามรสนิยมของตนเอง
ประการที่สาม: ท่านศาสดาให้ความสำคัญต่อการแต่งตั้งตัวแทนภายหลังจากท่าน
ในประเด็นนี้ต้องการกล่าวว่าท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ให้ความนำคัญต่อการแต่งตั้งตัวแทนเอาไว้ตั้งแต่แรก
คำว่าอิมามัต หรือผู้นำ หลังจากท่านศาสดา เป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง และเรื่องนี้มิใช่เรื่องปิดบัง ณ ศาสดา หรือเหล่าบรรสาวกชั้นใกล้ชิด ทว่าเป็นเรื่องที่ชัดเจนและถูกเปิดเผยตั้งแต่เริ่มแรกของการประกาศอิสาลาม สิ่งนี้อยู่ในความคิดของท่านศาสดามาตลอด ดังที่เราจะเห็นว่าเมื่อเผ่า เศาะอ์เศาะอะฮ์ ได้เข้ารับอิสลามได้วางเงื่อนไขกับท่านศาสดาว่า ต้องให้คนจากเผ่าของตนเป็นหัวหน้าผู้นำภายหลังจากท่านศาสดาแต่ชนบางกลุ่ม เช่น ท่านเฮาซะฮฺ หะนะฟีย์ ปฏิเสธการรับตำแหน่งทุกตำแหน่งภายหลัจากท่านศาสดา
ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ครุ่นคิดเรื่องผู้นำภายหลังจากท่านมาตลอดนับตั้งแต่วันแรกที่ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสดา เกี่ยวกับเรื่องนี้ ท่านบุคอรี และมุสลิมได้บันทึกไว้ในเศาะฮีย์ของท่าน นิซาอีย์ อิบนุมาญะฮฺ ได้บันทึกไว้ในสุนันของตนเอง ท่านมาลิกได้บันทึกไว้ใน มุวัฏเฏาะอฺ ท่านอหฺมัดอบนุหันบัล ได้บันทึกไว้ในมุสนัดของท่าน และบุคคลอื่น อีกมาก ซึ่งจะขอหยิบยกคำพูดของท่านบุคอรีย์ จากหนังสือเศาะฮีย์ของท่าน
ท่านอิบาดะฮฺ บินศอมิตพูดว่า "พวกเราได้ให้บัยอัตกับท่านศาสดาก็เพราะเรื่องนี้เท่านั้น เรื่องสารทุกข์สุกดิบและอื่นๆ พวกเราขอเชื่อฟังท่านศาสดา ส่วนเรื่องผู้นำพวกเราจะไม่ขัดแย้งกับทายาทของท่าน"[10]
อิบาด บินศอมิตในวันบัยอัต อุกบะฮฺกุบรอ เขาเป็นหนึ่งใน นุกบาสิบสองคนที่มาจากอันศอรฺ ซึ่งในวันนั้นท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้บอกกับกลุ่มชนประมาณ ๗๐ กว่าคนที่ให้บัยอัตกับท่านว่า ให้หาตัวแทนของกลุ่มมา ๑๒ คนเพื่อคอยประสานงานกับท่านศาสดาและคอยดูแลกลุ่มของพวกเขา
ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวกับกลุ่มชนที่ได้รับเลือกว่า "หน้าที่ความรับผิดชอบทั้งหมด (امور ) การเป็นผู้นำกลุ่ม และภารกิจอื่นๆ ขึ้นอยู่กับพวกท่าน ซึ่งหน้าที่ของพวกท่านเหมือนกับบรรดาอัครสาวกของท่านศาสดาอีซา (อ.) (ตารีค ฏ็อบรีย์ พิมพ์ที่ยุโรป ๑/๑๑๒๑
อิบาด บินศอมิต เป็นหนึ่งในนุกบา ๑๒ คน เขาได้อธิบายว่ามูลเหตุที่พวกเราได้ให้บัยอัตกับท่านศาสดา ในวันอุกบะฮฺ ก็เพื่อที่ว่าพวกเราจะได้ไม่มีปัญหาเรื่องผู้นำกับครอบของท่านภายหลังจากท่าน
จุดประสงค์ของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เกี่ยวกับคำว่า (امر-امور ) ที่กล่าวในหะดีษ (ขณะเอาบัยอัตกับ ๗๒ คนทั้งหญิงและชายจากกลุ่มอันศอรฺ ในบัยอัตอุกบะฮฺกุบรอ และได้เน้นว่าอย่าขัดแย้งกับทายาทของท่าน) นั้นหมายถึง ผู้นำและการปกครองนั่นเอง ดังจะเห็นว่ามีมุสลิมกลุ่มหนึ่งได้ขัดแย้งกันที่บนีสะกีฟะฮฺ บนีซาอิดะฮฺ[11] ก็เพราะต้องการเป็นผู้นำทีมีอำนาจ ขณะที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงตรัสถึงคุณสมบัติของผู้นำทั้งศาสนจักร และอาณาจักรที่จะขึ้นมาทำหน้าที่บริหารนาวาลำนี้สืบไปว่า
اطيعوالله واطيعواالرسول واولى الأمرمنكم
ความว่า "จงปฏิบัติตามอัลลอฮฺ จงปฏิบัติตามรอซูลและอูลิลอัมริ ในหมู่พวกเจ้า"
แสดงความเห็น