จุดประสงค์ของมุตอะฮฺ (การแต่งงานชั่วคราว) คืออะไร และทำไมชีอะฮฺจึงถือว่าฮะลาล
คำถาม
จุดประสงค์ของมุตอะฮฺ (การแต่งงานชั่วคราว) คืออะไร และทำไมชีอะฮฺจึงถือว่าฮะลาล
คำตอบ
นิกาฮฺ หมายถึง (พันธสัญญาระหว่างสามีกับภรรยา) การอยู่ร่วมกันระหว่างสามีกับภรรยา ซึ่งในบางครั้งเป็นการอยู่ร่วมกันตลอดไป โดยไม่มีพรมแดนในการอ่านอักดฺนิกาฮฺ และในบางครั้งเป็นการนิกาฮฺเช่นกัน แต่มีกำหนดเวลาเป็นตัวขวางกั้นระหว่างการอยู่ร่วมกันของสามีภรรยา อย่างไรก็ตามทั้งสองนิกาฮฺต้องทำไปตามเงื่อนไขทางชัรอีย์ จะแตกต่างกันตรงที่ถาวรกับมีกำหนดเวลาเท่านั้น ส่วนในรายละเอียดอื่นๆ คล้ายกันทั้งหมด
ฉะนั้น เงื่อนไขสำหรับอักดฺมุตอะฮฺนั้นเหมือนกับอักดฺถาวรดังมีรายละเอียดต่อไปนี้
๑. ทั้งหญิงและชายต้องไม่มีอุปสรรคทางชัรอีย์ในการแต่งงาน เช่น เป็นพี่น้องทางสายเลือด(หน้าจะเป็นทางสายโลหิตจะดีกว่านะเชคเพราะมันคลุม มากกว่า) หรือโดยสาเหตุ และอุปสรรคชัรอียฺอื่น ๆ มิเช่นนั้นแล้วอักดฺจะเป็นโมฆะ (บาฎิล)
๒. มะฮฺรียะฮฺที่ได้ตกลงกันระหว่างทั้งสอง ต้องถูกกล่าวในขณะอ่านอักดฺนิกาฮฺ
๓. กำหนดเวลาในการแต่งงาน (อยู่ร่วมกัน) ต้องระบุชัดเจน
๔. ต้องทำการอ่านอักดฺตามชัรอียฺ
๕. บุตรที่เกิดจากทั้งสองถือว่าเป็นบุตรที่ถูกต้องตามชัรอียฺ เหมือนกับบุตรที่เกิดจากการนิกาฮฺถาวร ซึ่งมีสิทธิทุกอย่างในฐานะของบุตร(มีต่อท้ายแต่เชคไม่ได้แปล)
๖. ค่าเลี้ยงดูบุตรเป็นหน้าที่ของบิดาต้องรับผิดชอบ และบุตรมีสิทธิ์รับมรดกทั้งจากบิดาและมารดา
๗. เมื่อกำหนดเวลาของอักดฺมุตอะฮฺได้สิ้นสุดลง หากฝ่ายหญิงไม่ได้อยู่ในช่วงวัยหมดระดู เธอต้องรออิดดะฮฺ และระหว่างรออิดดะฮฺอยู่นั้นถ้าหากฝ่ายหญิงได้ตั้งครรภ์จำเป็นอย่างยิ่งต้อง หลีกเลี่ยงการแต่งงานทุกประเภทจนกว่าเธอจะคลอดบุตร
จำเป็นต้องเอาใจ ใส่(ให้ความสำคัญ)ต่อเงื่อนไขอื่น ๆ ของการแต่งงานถาวรในการอ่านอักดฺแต่งงานชั่วคราว จะแตกต่างกันตรงที่ว่าอักดฺนิกาฮฺมุตอะฮฺได้ถูกกำหนดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาที่ จำเป็นฉับพลันทันด่วน และค่าครองชีพ (นะฟะเกาะฮฺ) ของฝ่ายหญิงไม่เกี่ยวข้องกับฝ่ายชาย และขณะที่ทำการอ่านอักดฺถ้าฝ่ายหญิงไม่ได้ตั้งเงื่อนไขว่าขอรับมรดกของฝ่าย ชาย ดังนั้นฝ่ายหญิงไม่มีสิทธิ์รับมรดกนั้น และเป็นที่กระจ่างว่าเงื่อนไขทั้งสองไม่มีผลนิกาฮฺแต่อย่างใด
มุสลิมทั้ง หลายมีความเชื่อว่าศาสนาอิสลาม ที่มีชะรีอะฮฺเพียบพร้อมไปด้วยความสมบูรณ์ และเป็นศาสนาสุดท้ายต้องสามารถให้คำตอบแก่ความต้องการทั้งหลายได้ ฉะนั้นจะเห็นว่าชายหนุ่มที่ต้องเรียนหนังสือนานหลายปีติดต่อกัน และไม่สามารถแต่งงานถาวรได้เมื่อเขาต้องตกอยู่ในสภาพดังกล่าว จึงมีสิทธิ์เลือกทำอย่างหนึ่งอย่างหนึ่งอย่างใดจาก ๓ ประการดังต่อไปนี้
๑. ต้องครองความเป็นโสดตลอดไป
๒. ต้องตกอยู่กับอบายมุขและความโสมมทั้งหลายของจิตใจ จนหลงกระทำบาป
๓. เลือกทำตามเงื่อนไขที่กล่าวมา โดยแต่งงานชั่วคราวกับหญิงที่มีเงื่อนไขตามกำหนด
ใน กรณีแรกสามารถกล่าวได้ว่าส่วนมากแล้วจะพบกับความพ่ายแพ้ แม้ว่าบางคนสามารถควบคุมความต้องการทางเพศ มีความอดทน และสามารถหักห้ามจิตใจได้ แต่วิธีการดังกล่าวใช่ว่าทุกคนจะสามารถปฏิบัติได้ ส่วนคนที่เลือกแนวทางที่สองเท่ากับเขาได้กระทำความผิด ซึ่งเป็นสิ่งที่คำสอนของอิสลามได้สั่งห้ามเอาไว้ ถึงแม้ว่าเขาจะกล่าวอ้างว่ามีความจำเป็น แต่สิ่งนั้นก็เป็นหนึ่งในแนวทางที่นำไปสู่การหลงทาง ทั้งความคิดและการกระทำ ด้วยเหตุนี้จะเห็นว่าคงเหลือเฉพาะแนวทางที่สามเท่านั้น ที่อิสลามได้นำเสนอเอาไว้ และในสมัยของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ก็มีการปฏิบัติกันเปิดเผย แต่ต่อมาภายหลังมีความขัดแย้งเกิดขึ้น การกระทำดังกล่าวจึงได้ถูกยกเลิกไปซุนนียกเลิกแต่ชีอะห์ไม่ (ไม่ใส่ดีกว่านะเชค)
สิ่งจำเป็นที่ต้องทำความเข้าใจคือ บุคคลที่ไม่เห็นด้วยกับการทำมุตอะฮฺ และถือว่าเป็นสิ่งต้องห้ามในอิสลาม ทั้งที่อุละมาอฺและนักปราชญ์ส่วนใหญ่ยอมรับว่า โดยความหมายแล้วการกระทำดังกล่าวถือว่าเป็นการนิกาฮฺถาวร เช่น คู่บ่าวสาวได้อ่านอักดฺนิกาฮฺถาวร แต่ทั้งสองมีเจตนาว่าหลังจากหนึ่งปี หรือน้อยกว่านั้น หรือมากกว่านั้นเขาจะแยกทางกันด้วยการทำเฏาะลาก (หย่า)
ฉะนั้น จะเห็นว่าการแต่งงานดังกล่าวถ้าพิจารณาจากภายนอกจะพบว่า เป็นการแต่งงานถาวร แต่จริง ๆ แล้วเป็นการแต่งงานชั่วคราวนั่นเอง ความแตกต่างของนิกาฮฺอย่างนี้กับการมุตอะฮฺ อยู่ตรงที่ว่าการมุตอะฮฺไม่ว่าจะเป็นภายนอกหรือภายใน มีเวลาที่แน่นอนเป็นตัวกำหนด แต่การนิกาฮฺถาวรดังกล่าวดูภายนอกเหมือนว่าเป็นการนิกาฮฺถาวรแต่ภายในคือการ มุตอะฮฺ (แต่งงานชั่วคราว) นั่นเอง
บุคคลที่อนุญาตให้ทำการแต่งงานดัง กล่าวได้ และเป็นที่ยอมรับของอุละมาอฺและนักปราชญ์โดยทั่วไป ทำไมถึงมีอคติกับกฏชัรอียฺที่อนุญาตให้ทำมุตอะฮฺ
เราทราบแล้วว่าการมุตอะฮฺหมายถึงอะไร ต่อไปจะกล่าวถึงหลักฐานที่อนุญาตให้ทำการมุตอะฮฺ โดยจะนำเสนอใน ๒ ประเด็นดังต่อไปนี้
๑. การอนุญาตให้ทำมุตอะฮฺตั้งแต่เริ่มแรกอิสลาม
๒. การมุตอะฮฺไม่ได้ถูกยกเลิกในสมัยของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ)
หลักฐานของประเด็นแรก อัล-กุรอานกล่าวว่า
فَمَا اسْتَمْتَعْتُم بِهِ مِنْهُنَّ فَآتُوهُنَّ أُجُورَهُنَّ فَرِيضَةً
ดังนั้นหญิงใดที่พวกเจ้าแสวงหาความสุขจากพวกนาง ก็จงมอบรางวัลของพวกนางให้แก่พวกนางอันเป็นข้อกำหนด
จากคำพูดของโองการเห็นได้อย่างชัดเจนว่า เรื่องดังกล่าวนั้น เป็นเรื่องการทำมุตอะฮฺเนื่องจากว่า
ประการ แรก โองการได้ใช้คำว่า อิสตัมตาอฺ ซึ่งภายนอกหมายถึง การแต่งงานแบบมุตอะฮฺ (ชั่วคราว) ถ้าจุดประสงค์ของโองการหมายถึงการแต่งงานแบบถาวรจำเป็นต้องมีกะรีนะฮฺ (สัญลักษณ์) บ่งบอก
ประการที่สอง โองการได้ใช้คำว่า อุญูเราะฮุนนะ หมายถึงรางวัลของพวกนาง อันเป็นการยืนยันอย่างชัดเจนอีกเช่นกันว่าการแต่งงานดังกล่าวหมายถึง การมุตอะฮฺ เนื่องจากว่าหากจุดประสงค์ของโองการหมายถึง การแต่งงานถาวร อัล-กุรอานต้องใช้คำว่า มะฮฺรียะฮฺ หรือ เซาะดาก แทนคำว่า อุญูเราะฮุนนะ
ประการ ที่สาม นักตัฟซีรทั้งซุนนีและชีอะฮฺ มีความเห็นเหมือนกันว่าโองการดังกล่าวต้องการพูดถึงเรื่อง การแต่งงานแบบมุตอะฮฺ ไม่ใช่แบบถาวร
ท่านญะลาลุดดีน ซุยูฏียฺ ได้บันทึกไว้ในตัฟซีรของท่าน (อัดดุรุลมันซูร) โดยรายงานมาจากท่าน อิบนุญะรีร และท่านซุดาว่า โองการข้างต้นได้กล่าวถึงเรื่องการทำมุตอะฮฺ
ท่าน อะบูญะอฺฟัร มุฮัมมัด บิน ญะรีร ฏ็อบรียฺ ได้บันทึกไว้ในตัฟซีรของตน โดยรายงานมาจากท่าน ซุดา ,มุญาฮิด,และอิบนุอับบาซ ว่าโองการดังกล่าวได้พูดถึงเรื่องการทำมุตอะฮฺ
ประการที่สี่ เจ้าของตำราซิฮาฮฺ(หมายถึงบุคคอรีและมุสลิม) มะซานีด และญะวามิอฺ ได้ยอมรับริวายะฮฺที่กล่าวถึงความจริงเกี่ยวกับการมุตอะฮฺ เช่น ท่านมุสลิม บิน ฮะญาจ ได้บันทึกไว้ในเซาะฮียฺของท่านโดยรายงานมาจาก ท่านญาบิร บิน อับดุลลอฮฺ และซะละมะฮฺ บิน อุกูอฺว่า
خرج علينا منادي رسول الله (ص) فقال انّ رسول الله قد أذن لكم أن تستمتعوا يعني متعة النّساء
คน ประกาศสาส์นของท่านศาสดา ได้มาหาพวกเรา และพูดว่า ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้อนุญาตให้พวกท่านทำมุตอะฮฺได้ หมายถึงแต่งงานชั่วคราวกับสตรี
ซิฮา ฮฺ และมะซานีดได้กล่าวถึงริวายะฮฺเกี่ยวกับการทำมุตอะฮฺไว้อย่างมาก ดังนั้นจะเห็นว่าการอนุญาตให้ทำมุตอะฮฺเป็นที่ยอมรับของอุละมาอฺ นักปราชญ์ และนักตัฟซีรตั้งแต่ในสมัยแรกของอิสลาม และในสมัยของท่านศาสดาเป็นต้นมา ตัวอย่างของตำราที่บันทึกฮะดีซบทนี้เอาไว้ เซาะฮียฺบุคอรียฺ บาบ ตะมัตตุอฺ,มุซนัดอะฮฺมัด เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๔๓๖,และเล่มที่ ๓ หน้าที่ ๓๕๖,อัลมุวัฏเฏาะอฺ อิมามมาลิก เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๓๐, ซุนันบัยหะกียฺ เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๓๐๖, ตัฟซีรฏ็อบรียฺ เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๙, นิฮายะฮฺอิบนุอะซีร เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๒๔๙,ตัฟซีรรอซียฺ เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๒๐๑,ตารีคอิบนุคุลกอน เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๓๕๙,อะฮฺกามุลกุรอาน ญะซอซ เล่มที่๒ หน้าที่ ๑๗๘,มุฮาเฎาะราต รอฆิบ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๙๔, อัล-ญามิอุลกะบีร ซุยูฎียฺ เล่มที่ ๘ หน้าที ๒๙๓,ฟัตฮุลบารียฺ อิบนิฮะญัร เล่มที่ ๙ หน้าที่ ๑๔๑
แสดงความเห็น