มารยาทในการเข้าร่วมมัจลิสอาชูรอ

มารยาทในการเข้าร่วมมัจลิสอาชูรอ

การจัดมัจลิสอาชูรอนั้นจะต้องควบคู่ไปกับอะห์กามและอัคล๊ากที่เราสมควรเรียนรู้ต่อไปนี้คือมารยาทในการเข้าร่วมมัจลิส
1- ความอิคล๊าศ  ผู้มาร่วมมัจลิส ควรมีเจตนาแสวงหาความใกล้ชิดต่ออัลลอฮ์ ด้วยความอิคลาศ(บริสุทธิ์ใจ) และห่างไกลจากชีรีกค่อฟี(ที่ซ่อนเร้นอยู่ในใจ)ทุกรูปแบบ  สัญลักษณ์ชีรีกค่อฟีเช่น เจ้าของมัจลิสไม่ค่อยให้ความสำคัญต่อแขกที่มาร่วม และผู้ที่มาร่วมก็มาแบบงานสังคม เป็นต้น
ความอิคลาศคือ รากฐานของทุกอามั้ล  
ท่านอิม่ามอาลี(อ)กล่าวว่า

طُوبَى لِمَنْ أَخْلَصَ لِلَّهِ الْعِبَادَةَ وَ الدُّعَاءَ

ตูบา (ขอจงประสบสความดี คือขอให้เข้าสวรรค์) สำหรับผู้ที่ให้ความอิคล๊าศในการทำอิบาดะอ์และการดุอาอ์ต่ออัลลอฮ์
สถานะหะดีษ  : มุวัษษัก(เชื่อได้)  ดูวะซาอิลุชชีอะฮ์  เล่ม 1 : 60 หะดีษที่ 125
ตรวจทานโดยมัรกะซุล บุฮูซ คอมพิวเตอร์ ลิลอุลูมิลอิสลามียะฮ์ เมืองกุม อิหร่าน
มีรายงานกล่าวว่า  อิม่ามมะฮ์ดี(อ)จะมาร่วมมัจลิสวิลาดัตและชะฮาดัต บนเงื่อนไขที่ว่ามัจลิสนั้นต้องมีความ “ อิคล๊าศ “
2- แก่นแท้(ฮะกีกัต)ของมัจลิสคือ  ซิกรุลเลาะฮ์ – การรำลึกถึงอัลลอฮ์ ตะอาลา  เพราะเรากำลังรำลึกถึงบุคคลที่พยายามทำตัวเองให้เป็นบ่าวที่แท้จริงต่ออัล ลอฮ์  ซึ่งนั่นคือ การเสียสละในหนทางอัลลอฮ์ด้วยการพลีชีพ
ฉะนั้นเราควรอิหฺติรอม ให้เกียรติต่อมัจลิส โดยเข้าสู่มัจลิสด้วยกล่าวบิสมิลาฮ์ มีวุฎุอ์ แต่งกายสะอาดและสุภาพเรียบร้อย
3- ก่อนเข้ามัจลิส  ควรมีความเตรียมพร้อมเช่น  ทำการอิสติฆฟ้าร , ซิกรุลเลาะฮ์ ,ซอละวาตและสร้างจิตวิญญาณเพื่อแสวงหาเราะมะตุลเลาะฮ์ เพราะความเมตตาจากอัลลอฮ์จะลงมาที่มัจลิสนี้อย่างไม่ต้องสงสัย
4- หากจัดมัจลิสนี้จัดขึ้นในมัสยิด ควรนมาซตะฮียะตุลมัสยิดสองร่อกะอัต และควรให้ความสำคัญต่ออะห์กามอิสลามอย่างเคร่งครัด
5- ควรตั้งใจฟังการบรรยาย ไม่ควรไปสนใจว่าคนบรรยายเป็นใคร   เพราะเราคือผู้ร่วมรับฟังคนหนึ่ง  และไม่ควรลืมว่า อัลกุรอ่านและหะดีษมะอ์ซูมเตือนสติมนุษย์ทุกคน ไม่ใช่เฉพาะบางคน
6- สร้างบรรยากาศให้กับตัวเองเช่น นึกถึงภาพเหตุการณ์มุซีบัตที่เกิดขึ้นกับอิม่ามฮูเซนและครอบครัวที่กัรบาลา จนทำให้ตัวเองเกิดความเศร้าและหลั่งน้ำตาได้ ให้นึกถึงคำพูดของ
อิม่ามฮูเซน(อ)ที่กล่าวว่า

اَنَا قَتيلُ العَبْرَة لاَ يَذْكُرُنِىْ مُؤْمِنٌ اِلاَّ بَكَي

ความตายของฉันคืออุทาหรณ์แห่งน้ำตา จะไม่มีมุอ์มินคนใดที่รำลึกถึงฉัน  เว้นแต่เขาจะต้องร่ำไห้(เศร้าใจต่อมุซีบัตของฉัน)
อ้างอิงจากหนังสือบิฮารุลอันวาร  โดยอัลลามะฮ์มัจญ์ลีซี  เล่ม 44 : 279 หะดีษ 5
อิม่ามริฎอ(อ) กล่าวว่า

فَعَلَى مِثْلِ الْحُسَيْنِ فَلْيَبْكِ الْبَاكُونَ فَإِنَّ الْبُكَاءَ عَلَيْهِ يَحُطُّ الذُّنُوبَ الْعِظَامَ

สำหรับ อุทาหรณ์เยี่ยงอิม่ามฮูเซน  ผู้ร้องไห้ทั้งหลายจงร่ำไห้ออกมาเถิด เพราะน้ำตาที่หลั่งออกมาให้เขา มันจะลบล้างความผิดมหันต์ต่างๆได้
สถานะหะดีษ  :  ซอฮิ๊ฮฺ  ดูวะซาอิลุชชีอะฮ์  เล่ม 14 :505 หะดีษที่ 19697
ตรวจทานโดยมัรกะซุล บุฮูซ คอมพิวเตอร์ ลิลอุลูมิลอิสลามียะฮ์ เมืองกุม อิหร่าน แต่เราจะได้รับเตาฟีกตรงนี้ได้ ก็ต่อเมื่อต้องพอรู้ชีวประวัติของอิม่ามฮูเซน(อ)อยู่บ้าง
7-  ถ้าท่านร้องไห้ไม่ออก  ก็ให้แสดงออกถึงความเสียใจต่อมุซีบัต  แต่หากจิตใจท่านแข็งกระด้าง จนไม่เกิดความเสียใจเลยตลอดเวลาที่นั่งอยู่ในมัจลิส ท่านควรสำรวจตัวเองว่า  มีปัจจัยใดทำให้ท่านเป็นเช่นนั้น  
อิม่ามอะลีกล่าวว่า

مَا جَفَّتِ الدُّمُوعُ إِلَّا لِقَسْوَةِ الْقُلُوبِ وَ مَا قَسَتِ الْقُلُوبُ إِلَّا لِكَثْرَةِ الذُّنُوبِ

น้ำตา จะไม่เหือดแห้ง ยกเว้นสำหรับ(คนที่)มีจิตใจแข็งกระด้างเท่านั้น  และจิตใจทั้งหลายจะไม่แข็งกระด้าง ยกเว้นสำหรับ(คนที่)มีบาปหนามาก
สถานะหะดีษ  :  ซอฮิ๊ฮฺ  ดูวะซาอิลุชชีอะฮ์  เล่ม 16 : 46 หะดีษที่ 20938
ตรวจทานโดยมัรกะซุล บุฮูซ คอมพิวเตอร์ ลิลอุลูมิลอิสลามียะฮ์ เมืองกุม อิหร่าน
8- หลังจบมัจลิสคือ ควรร่วมกันขอดุอาอ์ เพราะตอนนั้นเป็นช่วงเวลาที่ดุอาอ์มุสตะญับ
9- ควรสำรวมกายวาจา ไม่ควรหยอกล้อกันหลังจบมัจลิส  
10- พยายามหาเวลาว่างให้กับตัวเองในอัยยามอาชูรอ  เช่น การงาน การเรียน การค้าขาย อย่าให้ธุระเหล่านี้มาตรงกับวันอาชูรอ   จนทำให้เราไม่มีส่วนร่วมแสดงความเสียใจร่วมกับอิม่ามมะดี(อ) ดังที่
อิม่ามมะฮ์ดี(อ)กล่าวว่า

فَلَأَنْدُبَنَّكَ صَباَحاً وَ مَسآءً ، وَ لَأَبْكِيَنَّ لَكَ بَدَلَ الدُّمُوعِ دَماً

ฉันจะไว้อาลัยให้กับท่านทั้งยามเช้ายามเย็น  และฉันจะร่ำไห้เป็นสายเลือดให้กับท่านแทนน้ำตา
อ้างอิงจากหนังสือซิยาเราะตุน-นาฮิยะติลมุก็อดดะซะฮ์  เล่ม 1 : 8
ดังนั้นผลของอามั้ลที่ออกมามันขึ้นอยู่ที่การมุญาฮะดะฮ์(ความเพียงพยายาม)
11- เครื่องหมายที่บ่งบอกว่า อามั้ลที่ท่านทำถูกยอมรับคือ การเดินออกจากมัจลิสไปด้วยการเตาบะฮ์(สำนึกผิด)ต่อบาปอย่างแท้จริง
12- ควรพยายามพาครอบครัว มิตรสหายไปมัจลิสด้วย เหมือนที่อิม่ามฮูเซน(อ)พาครอบครัวท่านไปกัรบาลา เพื่อมีส่วนได้รับษะวาบ
13- บุคคลแรกที่สมควรได้รับปลอบประโลมใจ تَسْـلِيَّة ในมัจลิสคือ ท่านอิม่ามมะฮ์ดี(อ)   ดังนั้นถ้าเรามามัจลิสแต่ใจเรามิสามารถแสดงความเสียใจออกมาได้ ก็เท่ากับเรามิได้มีหัวอกเดียวกันกับอิม่ามมะฮ์ดี(อ)
14- ผู้ที่มีส่วนร่วมในโศกนาฎกรรมที่กัรบาลามีทั้ง คนชราอาทิเช่น ฮาบีบ บินมะซอเฮ็ร  ทารกน้อยอาลีอัซฆัร  หนุ่มน้อยกอซิมและอาลีอักบัร  ญูนทาสผิวดำ และบรรดาเด็กกับสตรี  
อุทาหรณ์สำหรับเราในเรื่องนี้ก็คือ หน้าที่การปกป้องดีนอิสลามนั้นมิใช่เป็นของใครคนใดคนหนึ่ง หรือคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ แต่เป็นหน้าที่(ตักลีฟ)ของเราทุกคน.


ที่มา  http://www.q4wahabi.com

แสดงความเห็น