มนุษย์สามารถเข้าถึงเรื่องจิตวิญญาณโดยปราศจากศาสนาได้หรือไม่?

มนุษย์สามารถเข้าถึงเรื่องจิตวิญญาณโดยปราศจากศาสนาได้หรือไม่?

คำถาม


ขณะนี้ในสังคมของเรา มีปัญหาเรื่องจิตวิญญาณที่ปราศจากศาสนา โดยผ่านทางหนังสือบางเล่ม บุคคลเหล่านี้ (spirituals) หรือการวิเคราะห์ทบทวนศาสนาต่างๆ ที่แตกต่างกัน โดยปราศจากการปฏิบัติตามคำสอนของศาสนาอันเฉพาะ พวกเขาจะตัดสินใจบนพื้นฐานของสติปัญญาเป็นหลัก หนึ่ง : ข้าพเจ้าจะยินดีมากถ้าหากจะให้เหตุผลในการปฏิเสธวิธีการนี้ ประการที่สอง : ผมรู้จักบางคนที่ก่อนหน้านี้เป็นชีอะฮฺ และตอนนี้เขาก็ยังนับถืออิสลาม คัมภีร์กุรอาน และปรโลก แต่เขายึดถือปฏิบัติตามวิธีดังกล่าว ถ้าเป็นไปได้ช่วยแนะนำหนังสือประกอบการศึกษาด้วย เพื่อว่าการศึกษาหนังสือเหล่านั้นอาจจะเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ใช้ชี้นำบุคคลเหล่านี้ (แน่นอน บุคคลดังกล่าวไม่สามารถอ่านภาษาฟารซีย หรืออรับได้ ดีกว่าถ้าจะแนะนำหนังสือภาษาอังกฤษ หรือฝรั่งเศสให้ข้าพเจ้า)

คำตอบ

รูปภาพของจิตวิญญาณสมัยที่โจทย์ขานกันอยู่ในปัจจุบัน มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงกับภาพทางจิตวิญญาณ ในความคิดของเราในฐานะมุสลิมหนึ่ง เนื่องจากความก้าวหน้าทางจิตวิญญาณของมุสลิมนั้น มีความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับคำสอนศาสนา จิตวิญญาณทางศาสนา, วางอยู่บนพื้นฐานของการปฏิบัติตามตำแนะนำสั่งสอนของศาสนา จึงจะก่อให้เกิดสถานดังกล่าว คำแนะนำและความรู้เกี่ยวกับความจริงที่พ้นญาณวิสัย เหนือโลกวัตถุและความจริงที่วางอยู่บนพื้นฐานดังกล่าว จะพบว่ามนุษย์ในระบบของการสร้างสรรค์ มีสถานภาพพิเศษ กำลังดำเนินชีวิตไปในหนทางพิเศษ อันเป็นหนทางที่ต้องอาศัยพฤติกรรมอันเฉพาะบางอย่าง อีกนัยหนึ่ง จิตวิญญาณทางศาสนา เป็นความรู้สึกหนึ่งที่มนุษย์มีต่อข้อเท็จจริง ซึ่งจะพบว่าความรู้สึกนั้นตั้งอยู่เหนือโลกของวัตถุ ขณะเดียวกันก็วางอยู่บนข้อตกลงและเงื่อนไขอันเฉพาะ

ถ้าหากพิจารณาสติปัญญาที่มีขอบเขตของจำกัด ในการรู้จักมิติต่างๆ ของการมีอยู่ของมนุษย์ การรับรู้ถึงความต้องการที่แท้จริงของเขา และในที่สุดการเลือกวิธีการต่างๆ ว่าจะดำเนินไปอย่างไร เพื่อไปให้ถึงสิ่งที่ธรรมชาติของมนุษย์ถวิลหา ดังนั้น ตรงนี้จึงไม่อาจพึงความรู้ในเชิงของเหตุผล หรือสติปัญญาได้เพียงอย่างเดียว ทว่าต้องพึ่งคำแนะนำและผู้ชี้นำทาง ซึ่งการทำความเข้าใจ และการครอบคลุมของสิ่งนั้นต้องเหนือกว่า สติปัญญา และสิ่งนั้นก็คือ วะฮฺยู ของพระเจ้า ซึ่งได้มาถึงสังคมมนุษย์โดยผ่านขบวนการของบรรดาเราะซูล ซึ่งได้แนะนำมนุษย์ให้เดินไปสู่สัจธรรมความจริงสูงสุด

อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ประทานเราะซูลลงมาคนแล้วคนเล่า ทรงทำให้ศาสนาของพระองค์สมบูรณ์ มนุษย์มีหน้าที่ตรวจสอบโดยละเอียด ในบทบัญญัติของศาสนาต่างๆ ที่มีความสมบูรณ์ที่สุด และดีที่สุดอันเป็นที่ยอมรับ ณ พระผู้เป็นเจ้า และยึดถือปฏิบัติตามศาสนานั้น แน่นอน วิธีการนี้เท่านั้นที่จะสามารถตอบสนอง ความต้องการด้านจิตวิญญาณของตน ได้อย่างแท้จริง อันเป็นสาเหตุให้ได้รับความสุขที่แท้จริงด้วย

เพื่อความชัดเจนในคำตอบ เบื้องต้นจำเป็นต้องอธิบายความคำว่า จิตวิญญาณ เสียก่อนหลังจากนั้น จะอธิบายความพิเศษของจิตวิญญาณสมัยใหม่ ซึ่งจะทำให้เห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจนระหว่าง จิตวิญญาณทางศาสนากับจิตวิญญาณที่ไม่ใช่ศาสนา

คำว่าจิตวิญญาณ ในพจนานุกรมภาษาละตินคือ (Spirituality) หมายถึง มโนมัย ความเชื่อเรื่องจิตวิญญาณ บ่งชี้ให้เห็นถึงการดำรงชีพ และนั่นก็หมายถึงว่า จิตวิญญาณ ได้ทำให้หัวใจของคุณมีความมั่งคั่ง ได้อบรมให้เกิดศักยภาพ ประสบการอันยิ่งใหญ่ มีความศักดิ์สิทธิ์ และรู้จักความกตัญญูกตเวที ทำให้รู้จักความเศร้าเสียใจในชีวิต รู้จักความกระตือรือร้น นอกจากนั้นยังมอบตนเองให้จำนนต่อ สัจธรรมความจริง ที่อยู่เหนือตัวเรา[1]

ดูเหมือนว่าภาพจากจิตวิญญาณ หรือภาพในจิตวิญญาณในจิตใจของเรา ในฐานะมุสลิมคนหนึ่งมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ในความก้าวหน้าของเรานั้น จิตวิญญาณมีความสัมพันธ์ในเชิงลึกกับคำสอนศาสนา และศาสนาในทัศนะของเราคือ แหล่งวิชาการ ที่กล่าวถึงสัจธรรมความจริงขั้นสูงสุดที่อยู่พ้นญาณวิสัย และอยู่เหนือโลกวัตถุ อันเป็นความจริงซึ่งตามพื้นฐานดังกล่าว จะพบว่ามนุษย์ในระบบของการสร้างสรรค์ มีสถานภาพพิเศษ กำลังดำเนินชีวิตไปในหนทางพิเศษนั้น อันเป็นหนทางที่ต้องอาศัยพฤติกรรมอันเฉพาะบางอย่าง ดังนั้น จำเป็นต้องกระทำบางอย่าง และจำเป็นต้องละเว้นบางอย่างด้วยเช่นกัน

จิตวิญญาณสมัยใหม่นั้น มีคุณสมบัติต่างๆ ที่แตกต่างไปจากจิตวิญญาณทางศาสนา โดยสิ้นเชิง

1.ในทางศาสนา “จิตวิญญาณ” เป็นความจริงในความคิด มิใช่การเพ้อฝัน จินตนาการ หรือผลที่เกิดจากอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ เมื่อสัมพันธ์ไปยังข้อเท็จจริงทางวัตถุ เป็นความรู้สึกหนึ่งที่มนุษย์มีต่อข้อเท็จจริง ซึ่งจะพบว่าความรู้สึกนั้นตั้งอยู่เหนือโลกของวัตถุ ขณะเดียวกันก็วางอยู่บนข้อตกลงและเงื่อนไขอันเฉพาะ เป็นความจริงแท้ที่มีอยู่ และมีผลต่อโลก ขณะที่จิตวิญญาณสมัยใหม่ มิได้มีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงเรื่อง “ความจริงแท้” แต่อย่างใด ประสบการณ์ทางอารมณ์ใดๆ ที่รุนแรง ตื่นเต้น เมื่อสัมพันธ์ไปยังเรื่องทุกเรื่อง สามารถกล่าวได้ว่านั่นคือ จิตวิญญาณ สิ่งสำคัญคือ สิ่งนั้นได้ปลุกเร้าให้คุณตื่นเต้น ทำให้ความรู้สึกของคุณขึ้นไปสู่จุดสูงสุด และมีความเป็นเลิศ หรือตามนิยามสมัยใหม่เรียกว่า เต็มไปด้วยความรู้สึกสง่างามอันยิ่งใหญ่ ดังเช่นที่ดนตรี หรือเพลงแห่งความรัก หรือแม้แต่ความยิ่งใหญ่ของพิธีกรรมศาสนา สิ่งเหล่านี้สามารถทำให้ท่านท่องไปในแดนของจิตวิญญาณ

2.จิตวิญญาณสมัยใหม่ มิได้เป็นผลที่เกิดจาก หน้าที่ เนื่องจากคุณสามารถอ้าแขนไปสู่ประสบการณ์ต่างๆ ประสบการณ์ซึ่งสามารถนำคุณไปสู่จุดสูงสุดได้ แต่ในทางกลับกันนั้น จิตวิญญาณทางศาสนา ประสบการณ์จิตวิญญาณ จะบังเกิดขึ้นบนเงื่อนไขอันเฉพาะเท่านั้น แน่นอนว่า ประสบการณ์ทางจิตวิญญาณจะเกิดขึ้น เมื่อคุณต้องละทิ้งหรือพยามลืมประสบการณ์ด้านอื่นๆ ประสบการณ์ทางบาปกรรมนั้น แน่นอนจะเป็นตัวบั่นทอนความรู้สึกที่ลึกซึ้ง ของจิตวิญญาณ “ตัวตน” ขณะนมาซ[2]

สิ่งที่เป็นที่ยอมรับของเรา และศาสนามีบทบาทอันเป็นพื้นฐานหลักคือ จิตวิญญาณทางศาสนา มิใช่จิตวิญาณสมัยใหม่ ซึ่งจะกล่าวถึงเหตุผลต่อไปว่า จิตวิญญาณสมัยใหม่นั้น ไม่สามารถให้คำตอบแก่ความต้องการต่างๆ ทางจิตวิญญาณของมนุษย์ได้

แน่นอน วัตถุประสงค์ของเราจาก จิตวิญญาณทางศาสนา หมายถึง จิตวิญญาณในศาสนาอิสลาม เพราะเราจะกล่าวถึงเฉพาะศาสนาที่มี ภูมิปัญญายอมรับเรื่องวิทยปัญญา และรวมเอาเรื่องจิตวิญญาณ กับความยุติธรรมไว้เคียงคู่กัน แต่เหตุผลของเรานั้น แตกต่างไปจากนักเหตุผลนิยมที่ปฏิเสธพระเจ้า แห่งตะวันตก เหตุผลของเราอยู่ภายใต้ร่มเงาของ วะฮฺยู และอยู่เคียงข้างกับวะฮฺยูเสมอ เนื่องจาก ความยุติธรรมของเรากับบทบัญญัติของพระเจ้า เป็นสิ่งคู่กัน มิใช่เป็นสิ่งคู่กับบทบัญญัติที่มีความบกพร่อง สิทธิมนุษยชนและความเห็นอกเห็นใจของเรา เป็นสิทธิมนุษยชนที่วางอยู่บนพื้นฐานของ เตาฮีด มิใช่สิทธิมนุษยชนที่วางอยู่บนความเห็นอกเห็นใจที่ปฏิเสธพระเจ้า จิตวิญญาณในอิสลาม นอกเหนือไปจากจิตวิญญาณของพุทธศาสนา ซึ่งมิได้มีความสัมพันธ์กับชิวิตอย่างเป็นรูปธรรม และมิใช่สิ่งที่ไม่จำเป็นโดยปราศจากเป้าหมาย เป็นจิตวิญญาณกึ่งความรักของชาวอเมริกัน ซึ่งเหมือนกับเกมส์ หรือการบันเทิงที่ใช้เติมเต็มความตื่นเต้นอยู่ในขณะนี้ ซึ่งจะเห็นว่าจิตวิญญาณที่ปราศจากพื้นฐานทางศาสนา ผลที่จะได้รับคือความเสียหายแก่ตนเองและสังคม

อีกด้านหนึ่ง จิตวิญญาณ คือคำตอบสำหรับความต้องการ ซึ่งมนุษย์จะมีความรู้สึกเอง และตรงนี้เองที่เราจะต้องมาศึกษาเรื่อง มนุษย์วิทยา และความต้องการอันแท้จริงของมนุษย์ และตรงนี้ต้องอธิบายให้ชัดเจน จิตวิญญาณทางศาสนา สามารถเติมเต็มความอิ่มตัวให้แก่ความต้องการของมนุษย์ได้หรือไม่ แล้วมนุษย์สามารถสนองตอบ ความต้องการอันแท้จริงของตนเอง ด้วยสติปัญญาของตนเพียงอย่างเดียว โดยไม่ต้องอาศัยศาสนาได้หรือไม่

ในทัศนะของอิสลาม มนุษย์คือสิ่งที่มีอยู่ 2 มิติ (มิติของจิตวิญญาณและสรีระ) ซึ่งเป็นเป้าหมายในการบังเกิดเขาขึ้นมาบนโลกใบนี้ อันถือได้ว่าเป็นเป้าหมายศักดิ์สิทธิ์ มนุษย์ เป็นสิ่งมีอยู่ที่ประเสริฐ ถูกบังเกิดขึ้นมาและให้คงอยู่ตลอดไป โดยอนุมัติของพระเจ้า ผู้ซึ่งอาตมันบริสุทธิ์ดำรงอยู่ด้วยพระองค์เอง มิต้องพึ่งพาสิ่งใด กล่าวคือ ณ กฎแห่งพระเจ้าซึ่งได้ออกแบบชีวิตบนโลกสำหรับมนุษย์ มนุษย์นั้นมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ซึ่งมีทั้งเกียรติและฐานันดรหลายระดับ ระดับหนึ่งของความจริงเหล่านั้นคือ กาลเวลาชั่วขณะหนึ่งของเขา อันได้แก่กายวิภาคของร่างกายมนุษย์อันเกิดจากดิน ส่วนอีกระดับหนึ่งของมนุษย์เป็นระดับที่มีความกว้างขวาง เป็นข้อเท็จจริงที่ยิ่งใหญ่ เป็นระดับที่สร้างสรรค์เอกลักษณ์ของความเป็นมนุษย์ ซึ่งซ่อนอยู่ในสังขารที่มีชีวิตชั่วขณะหนึ่ง ภายใต้สถานของคำว่า “ฉัน” หรือถูกเรียกด้วยนามว่า ฉัน นั่นก็คือ จิตวิญญาณอันเร้นลับนั่นเอง ตามคำอธิบายของวะฮฺยูและสติปัญญา “ฉัน” คือมนุษย์หรือองค์ประกอบหลักอันสำคัญยิ่ง ที่สร้างความเป็นเอกลักษณ์ที่แท้จริงของเขา เป็นเครื่องมือที่ก่อให้เกิดความสมบูรณ์ หรือความสัมพันธ์หนึ่งที่เชื่อมต่อมนุษย์กับสังขาร หรือสังขารกับโลกภายนอก การรับรู้ทั้งหมด การเคลื่อนไหว ที่เกิดขึ้นและเป็นไปในตัวมนุษย์ เกิดขึ้นจาก “ฉัน” สังขารมนุษย์อยู่ในกฎของเครื่องมือ เป็นอวัยวะที่ช่วยนำไปสู่ความสมบูรณ์ และการพัฒนาเอกลักษณ์ของความเป็นมนุษย์

อัลกุรอานได้กล่าวถึง ข้อเท็จจริงของจิตวิญญาณว่า เป็นเรื่องของความเป็นจริงหนึ่ง กล่าวคือ เป็นข้อเท็จจริงและเป็นเป็นสิ่งเร้นลับในโลกนี้ อัลกุรอานกล่าวถึง “ฉัน” ในฐานะของมนุษย์ว่า : «یسألونك عن الروح قل الروح من امر ربی» พวกเขาจะถามเจ้าเกี่ยวกับวิญญาณ จงกล่าวเถิดว่า เรื่องวิญญาณนั้นเป็นไปตามพระบัญชาของพระผู้อภิบาลของฉัน[3]

อัลกุรอาน กล่าวว่า : «انما امره اذا اراد شیئاً ان یقول له كن فیكون» อันที่จริง พระบัญชาของพระองค์เมื่อทรงประสงค์สิ่งใด พระองค์จะประกาศิตแก่สิ่งนั้นว่า จงเป็นแล้วสิ่งนั้นก็จะเป็นขึ้นมา (อย่างฉับพลัน)[4] กล่าวคือบัญชาของอัลลอฮฺ เป็นสิ่งมีอยู่ และมิใช่ว่าจะค่อยๆ เกิดและเป็นไปที่ละน้อย และไม่ต้องอาศัยกาลเวลา เป็นข้อเท็จจริงที่อยู่กาลเวลา กล่าวคือเพียงแค่อัลลอฮฺ ทรงประสงค์ สิ่งนั้นจะเกิดอย่างฉับพลันโดยปราศจากความล่าช้าแม้เพียงนิดเดียว ความประสงค์ของพระองค์คือ เช่นนั้น การมีอยู่ก็เช่นนั้น เป็นการมีอยู่ชนิดหนึ่งมาจากชนิดของความเร้นลับแห่งอาณาจักรนิรันดร มิได้มาจากการครอบครองของใคร และข้อเท็จจริงตามธรรมชาติ

บนพื้นฐานของการรู้จักการสร้าง เช่น การสร้างมนุษย์และความต้องการต่างๆ ของเขา จำเป็นต้องพิจารณาเรื่องคำสอนในการสร้างของพระเจ้า เพราะมิเช่นนั้นแล้วขบวนการมนุษย์วิทยา จะเกิดความบิดเบือน การรู้จักความต้องการ วิธีการ และสื่อต่างๆ คำตอบสำหรับความต้องการเหล่านี้ก็จะประสบปัญญาโดยทันที

ขณะเดียวกันสติปัญญาเพียงอย่างเดียว สามารถตั้งโปรแกรมให้มนุษย์ เพื่อสนองตอบความต้องการด้านจิตวิญญาณ และนำเสนอกฎเกณฑ์ต่างๆ โดยไม่ต้องพึ่งพิงศาสนาที่เป็นสัจจริงได้หรือไม่[5] คำตอบสำหรับคำถามนี้จำเป็นต้องกล่าวว่า แม้ว่าศาสนาอิสลามจะเติมเต็มความสมบูรณ์แก่ความต้องการบางเรื่อง โดยปล่อยให้เป็นเรื่องของสติปัญญาและประสบการณ์ก็ตาม[6] แต่ในที่ๆ ของมันได้พิสูจน์ให้เห็นแล้ว[7]ว่ามนุษย์ด้วยคำนิยามทีกล่าวไปแล้ว หนึ่ง, มนุษย์ไร้ความสามารถในการค้นพบทุกความต้องการที่แท้จริง และการจำแนกความต้องการทั้งที่เป็นหลักและเป็นรอง ดังนั้น ในกรณีนี้มนุษย์มีความต้องการศาสนา[8] สอง อุปกรณ์และสื่อต่างๆ ที่มีอยู่ให้คำตอบว่า มนุษย์ไร้ความสามารถในการสนองตอบความต้องการขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ ด้วยเหตุนี้ ศาสนาจึงต้องนำเสนอคำตอบเหล่านั้น[9]

คำสอนของศาสนาแห่งพระเจ้าคือ กลุ่มของกฎต่างๆ ซึ่งมนุษย์ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อตระหนักในความเป็นจริง สถานภาพของมนุษย์ ความสนใจ และผลประโยชน์ของเขา ซึ่งคำตอบสำหรับความต้องการหลักของมนุษย์ และการเติมเต็มด้านสิทธิมนุษย์ชน คุณประโยชน์ และความสมบูรณ์ของเขาถูกรวบรวมไว้ภายใต้องค์กรหนึ่ง นามว่าศาสนา กล่าวคือ องค์รวมส่วนใหญ่ของศาสนานั้นได้แบ่งออกเป็นสิ่งจำเป็นต้องปฏิบัติ และสิ่งจำเป็นต้องละเว้น เพื่อส่งเติมเต็มความต้องการทั้งหลาย และปกป้องสิทธิอันชอบธรรมของมนุษย์ ดังเราจะเห็นว่า สิ่งจำเป็นต้องปฏิบัตินั้นอยู่ในฝ่ายของการส่งเสริมสิทธิ และความต้องการต่างๆ อันเป็นหลัก ส่วนสิ่งจำเป็นต้องละเว้นแสดงให้เห็นถึง อุปสรรคและความเสื่อมเสียต่างๆ อันช่วยเติมเต็มสิทธิมนุษย์เช่นกัน[10] ดังนั้น จากสิ่งจำเป็นต้องปฏิบัติและสิ่งจำเป็นต้องละเว้นนี้เอง ที่สามารถนำมนุษย์ไปถึงยังจิตวิญญาณที่แท้จริงได้ และยังสามารถตอบสนองความต้องการต่างๆ ด้านจิตวิญญาณของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี

บุคคลหนึ่งได้ถามท่านอิมามบากิร (อ.) ว่า “เพราะเหตุใดสิ่งต่างๆ เฉกเช่น สุรา ซากศพ เลือด และเนื้อสุกรจึงฮะรอมสำหรับเรา?

ท่านอิมามบากิร (อ.) ตอบว่า สิ่งฮะลาลและฮะรอม สิ่งจำเป็นต้องปฏิบัติและสิ่งจำเป็นต้องละเว้น มิได้วางอยู่บนความพึงพอพระทัยของอัลลอฮฺ ที่มีต่อสิ่งฮะลาล หรือทรงสาปแช่งสิ่งที่ฮะรอม อัลลอฮฺ ทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมา พระองค์ทรงทราบดีว่า อะไรคือปัจจัยทำให้ร่างกายมนุษย์ดำรงสืบต่อไป และเป็นความเหมาะสมสำหรับเขา ด้วยเหตุนี้  พระองค์จึงให้สิ่งนั้นฮะลาลสำหรับพวกเขา พระองค์ทรงทราบดีว่าอะไรคืออันตรายสำหรับเขา ด้วยเหตุนี้ จึงให้สิ่งนั้นฮะรอม[11]

ดังนั้น สิ่งจำเป็นต้องปฏิบัติ และสิ่งจำเป็นต้องละเว้น (หน้าที่) ทางศาสนา มิใช่สิ่งเสริมเพิ่มเข้าไปบนความรับผิดชอบของมนุษย์, เพื่อว่าบุคคลที่สามจะได้รับผลประโยชน์หรือผลกำไร ทว่าได้ถูกกำหนดขึ้นเพื่อให้มนุษย์ได้มีโอกาสสัมผัสกับความจริงแท้ และขจักอุปสรรคปัญหาที่มีอยู่ในวิถีทางแห่งความจริงนั้น[12]

แน่นอนว่า สิ่งนี้มิได้หมายถึงว่าสติปัญญาไม่ได้มีบทบาทอันใด ในการสร้างความเข้าใจต่อกฎเกณฑ์ และหน้าที่ๆ มีต่อพระเจ้า คำอธิบายที่ว่า สิ่งจำเป็นต้องปฏิบัติ และสิ่งจำเป็นต้องละเว้น (อันได้แก่หน้าที่แห่งพระเจ้า) เมื่อเผชิญกับสติปัญญาสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้:

1.หน้าที่ ซึ่งปราศจากศาสนา,เป็นที่ยอมรับของสติปัญญา และศาสนาให้การสนับสนุนสิ่งนั้น แน่นอนว่าสิ่งนั้นย่อมมีกลิ่นอายของพระเจ้าร่วมปนอยู่ด้วย เช่น ความจำเป็นของความซื่อสัตย์ ยุติธรรม ซึ่งสติปัญญายอมรับสิ่งเหล่านี้โดยปราศจากคำเน้นย้ำของศาสนา

2.หน้าที่ ซึ่งสติปัญญาได้วิเคราะห์วิจัยสิ่งเหล่านั้นแล้ว เช่น ความจำเป็นของการมีอยู่ของผู้สร้าง ความยุติธรรมของผู้สร้าง และหลักปฏิบัติทางศาสนาทั้งหมด

สิ่งที่จำเป็นต้องพิจารณาตรงนี้คือ หน้าที่เหล่านั้นอยู่ในขอบข่ายของสติปัญญามนุษย์อยู่แล้ว และมนุษย์มีศักยภาพพอต่อการทำความเข้าใจสิ่งนั้น ซึ่งการรับรู้หรือการวิเคราะห์วิจัย ต้องการข้อมูลและความเชี่ยวชาญที่เพียงพอ แน่นอนว่า ถ้าหากมีข้อมูลและความเชี่ยวชาญไม่เพียงพอ ความพยายามของบุคคลนั้นก็จะไม่บรรลุเป้าหมาย ส่วนปัญหาที่อยู่เหนือสติปัญญานั้น แม้แต่ในระดับของการทำความเข้าใจ สติปัญญายังต้องอาศัยอำนาจที่อยู่เหนือสติปัญญาของตน

3.หน้าที่ ซึ่งอยู่เหนือสติปัญญา เช่น หลักปฏิบัติทางศาสนาบางประการ เช่น ฮัจญฺ บทบัญญัติต่างๆ และนมาซ เป็นต้น

จากสิ่งที่กล่าวมา เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า จิตวิญญาณสมัยใหม่นั้น มิได้วางอยู่บนพื้นฐานของ มานุษยวิทยาที่แท้จริง  และไม่มีมาตรฐานหรือวิธีการอันเหมาะสม ต่อการสนองตอบต่อความต้องการแท้จริงของจิตวิญญาณ เหตุที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากว่าพลังของสติปัญญา ไม่มีอำนาจเพียงพอต่อการจัดโปรแกรมอันครอบคลุมกว้าง สำหรับความเจริญผาสุกอันแท้จริงสำหรับมนุษย์ แน่นอนว่า ต้องพึ่งพาเครื่องมือหนึ่งที่ครอบคลุมเหนือความต้องการหลายแหล่ของมนุษย์ อีกทั้งยังต้องกำหนดแนวทาง และภารกิจต่างๆ อันเป็นสาเหตุนำไปสู่ความจำเริญก้าวหน้า และความผาสุกที่แท้จริง นอกจากนั้นสถานภาพยังสมารถทำให้มองเห็นเบื้องหลังความตาย ไม่ว่าจะอยู่ในบัรซัค หรืออยู่ในปรโลกได้อีกด้วย ด้วยเหตุนี้ อัลลอฮฺได้ประทานเครื่องมือได้แก่ วะฮฺยู และบรรดาศาสดาแห่งพระองค์ (ซึ่งครอบคลุมเหนือทุกสรรพสิ่งทั้งที่มีอยู่ในโลกนี้ และโลกชั่วคราว) ด้วยการช่วยเหลือของสติปัญญา ดังนั้น สมควรอย่างยิ่งที่มนุษย์ควรพิจารณาเป็นพิเศษต่อบทบัญญัติศาสนา หรือการสอบถามจากผู้รู้ที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษในศาสนา เพื่อจะได้เข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนได้เป็นอย่างดี ดังที่อัลกุรอานได้กำชับและสาธยายเสมอว่า จงถามจากผู้รู้ในสิ่งที่พวกเจ้าไม่รู้[13]

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากหนังสือต่อไปนี้ :

1- Heart  of  Islam เขียนโดย ดร. ฮุเซน นัซรฺ แปลเป็นภาษาฟาร์ซี  (กัลบุ อิสลาม) โดย ชะฮฺ อออีนียฺ

2.ออฟตอบ วะซอเยะฮอ,มุฮัมมัด ตะกียฺ, ฟะอาลี (คณะกรรมการฝ่ายวิชาการ และหัวหน้าภาควิชา มะอาริฟอิสลาม มหาวิทยาลัย ออซอด อิสลามี ฝ่ายวิชาการและการวิจัย เตหะราน)

3. ฮักวะตัฟลีฟ, ญะวาดี ออมุลี, อับดุลลอฮฺ

4. ฟิฏรัต ดัร กุรอาน,ญะวาดี ออมุลี, อับดุลลอฮฺ
 

[1] Psychology Today, Sep, 1999 - spirituality Author: David N. Elkins.

[2] ไซต์ มัจญฺมะอฺ ตัชคีซ มัซละฮัต เนซอม คัดลอกมาจากบทความของ ดร. เดวิด (David N. Elkins) นักจิตวิทยาคลินิก อาจารย์มหาวิทยาลัย ซึ่งกล่าวถึงเรื่อง จิตวิญญาณ ตีพิมพ์ในวารสาร ระวอนเชะนอซี อิมรูซ

[3] บทอัสรอ ,85.

[4] บทยาซีน ,82

[5]หัวข้อ พหุนิยมทางศาสนาและความเข้าใจต่างๆ ในศาสนา, คำถามที่ 118 (ไซต์ :1738)

[6] โคสโร พะนอ อับดุลฮุซัยนฺ, คุสตัรเดะฮฺ ชะรีอัต, หน้า 74-76.

[7] หัวข้อ “สติปัญญากับความกว้างของกิจกรรม, ลำดับที่ 227, (ไซต์ 1866) หัวข้อ อิสลามกับสติปัญญา, คำถามที่ 50 (ไซต์ 286) หัวข้อ บทบาทของแหล่งอ้างอิงทางศาสนาในจริยธรรม, คำถามที่ 562 (ไซต์ 615)

[8] คำอธิบายหัวข้อดังกล่าวติดตามได้จากหนังสือ โคสโรพะนอ, อับดุลฮุซัยนฺ, อิงเตะซอรบะชัรอัซดีน, หน้า 120-124

[9] นัซรฺ, มุฮัมมัด, ชีเวะฮอเยะ ตับยีน เองเตะซอร อัซ ดีน, วารสาร นักด์วะนะซัร, ฉบับที่ 6.3

[10] เฎาะบาเฎาะบาอีย,มุฮัมมัดฮุเซน,ตัพซีรอัลมีซาน, เล่ม 2, หน้า 149.

[11] วะซาอะลุชชีอะฮฺ, เล่ม 24, อิลัลชะรอยิอฺ, เล่ม 2, หน้า 483.

[12] ญะวาดี ออมูลี, อับดุลลอฮฺ, ฮักวาะตักลีฟ, หน้า 38

[13] บทอันนะฮฺลุ , فَسْئَلُوا أَهْلَ الذِّكْرِ إِنْ كُنْتُمْ لا تَعْلَمُونَ

แสดงความเห็น