ลัทธิไซออนิสต์
ลัทธิไซออนิสต์
ประมาณปีที่ 60 กว่าของศตวรรษที่ 19 นักคิดบางคนของยะฮูดียฺได้ริเริ่มที่จะกลับไปยังปาเลสไตน์ เพื่อพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัยของพวกเขา พวกเขาจึงเริ่มต้นประกาศเชิญชวนยะฮูดียฺทั่วไป Hirsch kalischer (เฮิรช์ แคลิเชอร์) และ คอคอม [2] เป็นยะฮูดียฺคนแรกที่เริ่มต้นเชิญชวนและบันทึกไว้ในหนังสือชื่อ การค้นหาไซออนนิสต์ในปี ค.ศ.ที่ 1861 นอกจากเขาแล้วยังมีบุคคลอื่นอีกที่เป็นนักคิดนักเขียน พวกเขาได้เขียนบทความเกี่ยวกับประเด็นนี้ เพื่อสอดแทรกและเรียกร้องให้บรรดาผู้อพยพชาวยะฮูดียฺทั้งหลายกลับมาตั้งรัฐบาลไซออนนิสต์ ในหมู่นักคิดยะฮูดียฺเราสามารถเห็นหลักคิด 2 ประการจากพวกเขา กล่าวคือ
-บางคนของพวกเขามีจิตวิญญาณของศาสนา พวกเขากล่าวถึงเอรฟานของยะฮูดียฺ ซึ่งสิ่งที่เป็นความหวังอันยิ่งใหญ่ของพวกเขาคือ การยืนหยัดของกออิมแห่งยะฮูดียะฮฺ บนพื้นฐานดังกล่าว เมื่อกออิมในยุคสุดท้ายได้ยืนหยัดขึ้น อำนาจการปกครองของพระเจ้า ซึ่งประชาชาติทุกเผ่าชนบนโลกนี้ต่างให้สัญญากับพระองค์ไว้ จะเกิดขึ้นสำหรับมนุษย์ทุกคนบนโลกนี้ มนุษย์ทุกคนจะท่องไปสู่ดินแดนที่ถูกกล่าวไว้ในคัมภีร์เตารอต ซึ่งศาสดาอิบรอฮีม (อ.) และศาสดามูซา (อ.) ได้อธิบายไว้ ในศตวรรษที่ 19 เป้าหมายเพื่อความรักลัทธิซะฮฺยูนิสต์ พวกเขาได้ตั้งศูนย์นักบวชขึ้นมาเพื่อเผยแผ่หลักความเชื่อ และวัฒนธรรมของยะฮูดียฺบนแผ่นดินซะฮฺยูนิสต์ ซึ่งสิ่งที่น่าสนใจในประเด็นนี้คือ ยะฮูดียฺ ที่ยึดมั่นในศาสนากลุ่มนี้ พวกเขาจะสร้างสัมพันธ์แคบๆ เฉพาะกลุ่มของพวกเขากันเอง พวกเขาไม่เคยลุกขึ้นสู้รบหรือทำลายมุสลิมเลย พวกเขามีความเชื่อว่าพวกเขาคือทายาทที่สืบเชื้อสายมาจากท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) และเป็นพวกที่ยึดมั่นบนศาสนาของอิบรอฮีม ยะฮูดียฺที่นับถือศาสนากลุ่มนี้จะไม่สนใจเรื่องการเมือง หรือจัดตั้งการปกครองบนพื้นแผ่นดินปาเลสไตน์ พวกเขาไม่เคยแสดงท่าที่เลยว่าต้องการสู้รบกับประชาชนอาหรับ ไม่ว่าจะเป็นมุสลิมหรือคริสเตียนก็ตาม
แต่ซะฮฺยูนิสต์การเมืองได้ถูกจัดตั้งขึ้นโดย Theodor Hertzl (ซีโอโด เฮิซเซิล) เขาเป็นนักข่าวยะฮูดียฺ เชื้อสายออสเตรีย เขาเป็นผู้ก่อตั้งแนวคิดรัฐบาลไซออนนิสต์ในประเทศปาเลสไตน์ เมื่อปี ค.ศ. 1882 เขาได้เขียนบทความเรือง ดอกเตอร์เรน ไว้ในหนังสือของเขานามว่า รัฐบาลยะฮูด และหลังจากการสัมมนาครั้งแรกเรือง ไซออกนิสต์โลก ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงบาเซล ประเทศสวิสเซอร์แลน ซึ่งผลจากการสัมมนาครั้งนั้นพวกเขาก็คิดถึงการนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม Theodor Hertzl มีความคิดที่ต่างไปจากยะฮูดียฺที่นับถือศาสนา เขาเป็นคนหนึ่งที่สงสัยการมีอยู่ของพระเจ้ามาโดยตลอด เขาไม่ใช่คนเคร่งครัดในศาสนา ทว่ามีความคิดเรื่องการเมืองเป็นหลัก เขาเป็นคนแรกที่กล่าวถึงเรือ่งไซออนนิสต์ในแนวใหม่
หลักความคิดโดยรวมของ Theodor Hertzl คือ
1) ยะฮูดียฺบนโลกนี้ทุกคนไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนในประเทศใดก็ตาม ถือว่าเป็นเชื้อชาติเดียวกันทั้งสิ้น
2) ยะฮูดียฺ ไม่สามารถเชิญชวนหรือผสมผสานกับเชื้อชาติอื่นใดได้ แม้ว่าจะอยู่ร่วมกับคนอื่นแต่จะไม่กลายเป็นชนชาติอื่น
3) ยะฮูดียฺ บนโลกนี้ในทุกที่ทุกเวลาล้วนได้รับการกลั่นแกล้งจากบุคคลอื่น
จากหลักการ 2 ข้อแรกของเขาแสดงให้เห็นถึง ความเป็นชาตินิยม ส่วนในประเด็นที่สามแสดงให้เห็นถึง การรุกรานและการยึดครองของพวกไซออนนิสต์ บนพื้นฐานดังกล่าวจะเห็นว่าแนวทางแก้ไขตามที่ Theodor Hertzl ได้นำเสนอนั้นคือ การปฏิเสธไม่รับและไม่ผสมกับชนชาติอื่น เป็นการนำเสนอแนวคิดที่อันตรายอย่างยิ่ง เพราะไม่ใช่เป็นการเสริมสร้างความเชื่อศรัทธาของยะฮูดียฺเพียงอย่างเดียว ทว่าเป็นที่มาของการจัดตั้งรัฐบาลยะฮูด ซึ่งเป็นหน้าที่ของยะฮูดียฺทุกคนบนโลกนี้ต้องให้ความร่วมมือกัน แน่นอนว่าการจัดตั้งรัฐบาลของพวกเขาต้องจัดตั้งบนพื้นที่ว่างเปล่าที่ไม่มีเจ้าของครอบครอง ไม่ใช่ไปยึดครองพื้นที่ของคนอื่น หรือขับไล่เจ้าของบ้าน หรือไล่สังหารเจ้าของบ้านแล้วยึดครองพื้นแผ่นดินของเขานำมาจัดตั้งรัฐบาลของตน
Theodor Hertzl คือผู้สถาปนาไซออนนิสต์ เขาได้เสนอ ประเทศฮูกันดา เป็นศูนย์กลางของรัฐบาลยะฮูดียฺ แต่ถูกที่ประชุมยะฮูดียฺปฏิเสธ พวกเขาได้เน้นย้ำว่าศูนย์กลางรัฐบาลยะฮูดต้องเป็นปาเลสไตน์ หรืออย่างน้อยที่สุดก็ควรเป็นพื้นที่ใกล้เคียงกันนั้น เพื่อว่าภายหลังจะได้สามารถจับจองปาเลสไตน์ได้ ผลสรุปในที่สุดแล้วไซออนนิสต์ ปฏิเสธการมีอยู่ของประชาชนชาวปาเลสไตน์ ซึ่งบนพื้นฐานดังกล่าวนั้นแน่นอนว่าภายหลังจะต้องเกิดการเข่นฆ่าสังหาร และอาชญากรรมต่างๆ มากมาย
นางมาเยอร์ได้ประกาศในหนังสือพิมพ์ แซนดีไทมซฺ ฉบับวันที่ 15 มิถุนายน 1969 ว่า ประเทศปาเลสไตน์ไม่มีอยู่ในโลกนี้ ไม่ใช่เช่นนั้น ไม่เป็นดังที่เราคิดว่ามีการสร้างปาเลสไตน์ในประเทศปาเลสไตน์ แล้วเขาก็มาพูดว่าเราเป็นคนสร้างปาเลสไตน์ให้เจริญเติบโต และเราก็มาขับไล่พวกเขาออกนอกประเทศ เรายึดของประเทศของเขา ซึ่งจริงๆ แล้วพวกเขาไม่มีอยู่ในโลกนี้ต่างหาก
ศาสตราจารย์ Benzion Dinur. (เบนซั่น ดิเนอ) คือรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาคนแรกของอิสราเอล เขาเป็นเพื่อนสนิทกับ ดาวูด บิน โกเรน ผู้สถาปนานารัฐบาลอิสราเอล ในปี ค.ศ.ที่ 1954 เขาเขียนไว้ในคำนิยมของหนังสือชื่อว่า ฮากานาฮฺ[6] เป็นสำนักพิมพ์ขององค์กรไซออนนิสต์โลก เขาได้เขียนว่า ในประเทศของเรา ไม่มีสถานที่ให้คนอื่นที่ไม่ใช่ยะฮูดียฺ เราจะบอกกับพวกอาหรับว่า จงออกไป ถ้าพวกเขาไม่ทำตาม หรือดื้อดึงต่อต้าน เราจะเป็นผู้ขับไล่พวกเขาออกไปเอง
ไซออนนิสต์การเมืองได้หยิบฉวยประโยชน์ทางประวัติศาสตร์จากคัมภีร์เตารอต ในเรื่องราวที่กล่าวอ้างถึงแผ่นดิน และสิทธิของพระเจ้า โดยอ้างว่าพวกเขาคือเจ้าของปาเลสไตน์ ตามความคิดของพวกเขาเชื่อว่าทุกสิ่งในปาเลสไตน์อนุมัติสำหรับพวกเขา เนื่องจากพวกเขาคือประชาชาติที่ได้รับการเลือกสรรแล้วจากพระเจ้าพวกเขามีสิทธิกระทำการทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการทรมาน การแสดงมารยาททราม การสังหารชีวิตผู้อื่น การขู่กรรโชก การปล้นสะดม การจับกุม การโยกย้ายพลเมืองตามอำเภอใจ การเนรเทศ การทำลายทรัพย์สินของประชาชน การทำร้ายผู้คน การสังหารหมู่ และการกระทำอื่นๆ ตามอำเภอใจถือว่าเป็นสิ่งถูกต้องสำหรับพวกตน ดังตัวอย่างอาชญากรรมอันโหดร้ายของพวกเขาเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ปี ค.ศ. 1948 ในครั้งนั้นพวกเขาได้สังหารหมู่พลเมืองปาเลสไตน์ที่ เดรยาซีน
ในครั้งนั้นมีนายมะนาคีน บุกีน เป็นผู้บัญชาการสังหาร ในหนังสือของพวกเขาภายใต้หัวข้อ การยืนหยัดประวัติศาสตร์เอรคูน เขียนว่า ถ้าไม่ได้รับชัยชนะในเดรยาซีนแล้วละก็จะไม่มีรัฐบาลไซออนนิสต์อย่างแน่นอน นอกจากนั้นกลุ่ม ฮากานาฮฺ ยังมีการโจมตีเพื่อชัยชนะในสนามรบอื่นๆ อีก บรรดาอาหรับต่างหวาดกลัวแตกหนีกระเจิงออกไปขณะที่ร้องตะโกนว่า เดรยาซีน
นางมาเยอร์และนายมะนาคีน บุกีน กล่าวว่า แผ่นดินนี้ได้ถูกสัญญาไว้แล้วสำหรับพวกเรา และเราก็มีสิทธิเหนือแผ่นดินดังกล่าว[8]
มูเชะ ดายัน กล่าวว่า ถ้าเราเชื่อคัมภีร์เตารอต ถ้าเราเชื่อว่าเราคือชนชาติในคัมภีร์ เราต้องกลับไปยังแผ่นดินที่ได้ถูกสัญญาแห่ง บัยตุลมก็อดดิส ฮิบรูน อะรีฮา และที่อื่นๆ อีกที่เราต้องครอบครอง[9]
ความเข้าใจในข้อสัญญาต่างๆ และความเสรีที่เกิดขึ้นนั้น ก็เหมือนกับคำว่า ประชาชาติที่ได้รับการเลือกสรร อิสราเอลผู้ยิ่งใหญ่จากแม่น้ำไนล์ถึงยูเฟรติส สิ่งเหล่านี้คือ วิสัยอันเป็นพื้นฐานสำคัญในการก่อตั้งไซออนนิสต์การเมือง บรรดานักล่าอาณานิคมไม่ว่าจะอยู่ในยุคใดสมัยใดและชนชาติใด พวกเขาจะร่วมมือกันอย่างเต็มที่และมีข้ออ้างเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ปล้นสะดมและครอบครอง โดยทั่วไปแล้วข้ออ้างของพวกเขาคือ การมีวัฒนธรรมและอารยธรรมที่ดีกว่า ดังนั้น การปล้นสะดมและการเข่นฆ่าสังหาร จึงถือเป็นหนึ่งในหน้าที่ทางอารยธรรมประจำชนชาติของตนที่ต้องกระทำกับคนอื่น การใช้ประโยชน์จากสื่อของศาสนา ถือเป็นการครอบคลุมสำหรับการปกครองของชนกลุ่มหนึ่งในสังคมที่มีต่อชนกลุ่มอื่น ความคิดที่ว่า ประชาชาติที่ได้รับการเลือกสรร ถ้าพิจารณาในแง่ประวัติศาสตร์และการเมืองแล้ว นิยามนี้คือที่มาของความชั่วร้ายและการก่ออาชญากรรมบนหน้าแผ่นดิน เนื่องจากการปล้นสะดม การขยายความต้องการ และการล่าอาณานิคมถือเป็นความศักดิ์สิทธิ์ ความคิดที่ว่า ประชาชาติที่ได้รับการเลือกสรร ถ้าพิจารณาตามหลักการของศาสนา สิ่งนี้ไม่เป็นที่ยอมรับของทุกศาสนา เนื่องจากในที่มีผู้ได้รับการเลือกสรรที่นั่นย่อมมีผู้ถูกเกลียดชัง
บนพื้นฐานความคิดดังกล่าวนี้ บินกูเรน กล่าวเสียงดังฟังชัดว่า ปัญหาของเราไม่ใช่การรักษาสถานภาพ ทว่าเป็นหน้าที่ของเราที่ต้องจัดตั้งรัฐบาล เพื่อการแผ่ขยายให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้[10]
การขยายความต้องการตามเจตนารมณ์ การโจมตีอย่างโหดร้ายของรัฐบาลไซออนนิสต์ มาจากเหตุผลของผู้อธรรมที่ไร้มนุษยธรรมเฉกเช่น ยิวไซออนนิสต์ ในปี ค.ศ. ที่ 1937 บินกูเรนได้ขยายพรมแดนประเทศไซออนนิสต์ตามคำกล่าวของเตารอต ตามความเชื่อของเขาแผ่นดินยิวไซออนนิสต์ต้องควบคุม 5 พื้นที่ด้วยกันกล่าวคือ ตอนใต้ของเลบานอน จนถึงแม่น้ำลิตตาเนีย (บินกูเรนถือว่าเป็นเขตพื้นที่บางส่วนทางตอนเหนือของอิสราเอลตะวันตก) ตอนใต้ของประเทศซีเรียกินลึกของไปจนถึงประเทศจอร์แดน (พื้นทีดังกล่าวทุกวันนี้คือประเทศจอร์แดนนั่นเอง) ประเทศปาเลสไตน์และทะเลทรายซีนา พวกเขาเชื่อว่าเมือง เฮมัซ ในประเทศซีเรียเป็นเมืองเดียวกันกับ เฮมาต ซึ่งปรากฏชื่ออยู่ในจดหมายเหตุเดินทาง บาบที่ 34 โองการที่ 1,2 และ 8 ซึ่งได้ระบุพรมแดนทางตอนเหนือของ กันอาน ไว้อย่างชัดเจน ซึ่งบางคนยังมีเชื่อว่าเมืองดังกล่าวกินลึกเข้าไปในตุรกีด้วย[11] ตามหลักคิดในการก่อสงครามเพื่อขยายพรมแดนนั้นจะเกิดขึ้นเฉพาะแก่รัฐบาลไซออนนิสต์เท่านั้น
มะนาคีน บุเกน ประกาศเมื่อวันที่ 12 เดือนตุลาคม ปี ค.ศ. 1955 ว่า ฉันเชื่อลึกๆ โดยไม่มีความสงสัยหรือลังเลใจแม้แต่วินาทีเดียวว่า จำเป็นต้องก่อสงครามกับรัฐบาลอาหรับเหล่านี้ ถ้าเราทำเช่นนี้จะทำให้เราบรรลุเป้าหมาย 2 ประการ กล่าวคือ อันดับแรกเป็นการทำลายอำนาจอาหรับ และสองเพื่อขยายเขตแดนให้กว้างออกไป[12]
อย่างไรก็ตามเพื่อการยึดครองประเทศปาเลสไตน์ ยะฮูดียฺ ได้ก่อตั้งองค์กรและมูลนิธิการเงินขึ้นหลายแห่ง Theodor Hertzl ได้พยายามบีบบังคับให้ ซุลต่าน อับดุลฮะมีดที่ 2 ของรัฐบาลอุสมานียฺ รับข้อเสนอเป็นเหรียญทองจำนวนหลายล้านเหรียญ เพื่อให้เขาเห็นด้วยที่จะมอบปาเลสไตน์ให้ยิวไซออนนิสต์ แต่ซุลต่านอับดุลฮะมีดปฏิเสธข้อเสนอของเขา และย้ำว่าแผ่นดินปาเลสไตน์เป็นของมุสลิม เราจะไม่ขายปาเลสไตน์ให้ยะฮูดียฺเด็ดขาด แม้ว่าเขาจะนำเอาทรัพย์สินทั้งหมดมารวมกันเพื่อแลกก็ตาม แต่ในที่สุดในปี ค.ศ. ที่ 1908 ยะฮูดียฺได้ร่วมมือกันโค่นล้มการปกครองของเขาจนสำเร็จ Theodor Hertzl ซึ่งรู้สึกโกรธมากกว่าใครเป็นพิเศษ เขาได้เดินทางไปเยอรมัน อิตลี และเซีย เพื่อขอให้ชาวยะฮูดียฺช่วยเหลือเขาในการยึดครองปาเลสไตน์ แต่ในเบื้องต้นพวกเขาปฏิเสธ เนื่องจากประเทศปาเลสไตน์เป็นแผ่นดินซึ่งมีพลเมืองของตนอยู่แล้ว แม้ว่าจะตกอยู่ภายใต้การดูแลของรัฐบาลอุสมานีก็ตาม หลังจากนั้น Theodor Hertzl ได้ขยายแนวคิดไซออนนิสต์ของตนกว้างออกไป โดยการนำเอาบริแทนเนีย[13]เข้ามาเกี่ยวข้อง และพวกเขาก็สัญญากับยิวว่าจะให้ความช่วยเหลือ
หลังจากนั้นสงครามโลกครั้งแรกก็เกิดขึ้น (ค.ศ. 1914) ในวันที่ 2 พฤศจิกายน 1917 ประเทศหมู่เกาะอังกฤษได้รับความร่วมมือจากประเทศฝรั่งเศส อเมริกา และประเทศตะวันตกอีกหลายประเทศ ประกาศเป็นสาส์นออกมาโดยรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของอังกฤษในสมัยนั้น แก่มหาเศรษฐีคนหนึ่ง ซึ่งเป็นยะฮูดียฺอังกฤษ บนพื้นฐานของสาส์นฉบับดังกล่าว หลังจากนั้นได้ส่งไปยัง แบลโฟร ซึ่งเขาได้สัญญาว่าจะให้การช่วยเหลือในการสร้างประเทศในปาเลสไตน์แก่พี่น้องร่วมสายพันธ์เดียวกันกับเขา
แบลโฟรได้ประกาศว่า รัฐบาลมหาจักรพรรดิแห่งอังกฤษเห็นชอบและให้การดูแลเป็นพิเศษในการจัดตั้งรัฐบาลยิวไซออนนิสต์ในประเทศปาเลสไตน์ ในอนาคตอันใกล้นี้รัฐบาลอังกฤษจะให้การช่วยเหลือเพื่อให้การจัดตั้งรัฐบาลประสบความสำเร็จโดยเร็ว และง่ายดายที่สุด[14]
ในปี ค.ศ. ที่ 1918 ขณะที่ตุรกีพ่ายแพ้และปาเลสไตน์ก็ถูกยึดครองพอดีโดยหมู่เกาะอังกฤษ ประที่ปกครองโดยกษัตริย์ในตะวันตก ต่างพยายามร่วมกันเพื่อจัดตั้งรัฐบาลไซออนนิสต์ในปาเลสไตน์ ขณะเดียวกันองค์การสหประชาชาติก็เห็นชอบกับหมู่เกาะอังกฤษ และอนุมัติให้มีการจัดตั้งรัฐบาลยิวขึ้นในปาเลสไตน์ หมู่เกาะอังกฤษได้ส่งตัวแทนที่เป็นยะฮูดีนามว่า ฮารเบิต ซามูเอล เข้าไปในปาเลสไตน์เมื่อปี ค.ศ. ที่ 1920 เพื่อตระเตรียมการอพยพชาวยิวจากทั่วโลกเข้าไปในปาเลสไตน์ ประเทศหมู่เกาะอังกฤษนักล่าอาณานิคม ได้ตระเตรียมการอบรมการทหารและการปกครองแก่ยะฮูดียฺ พวกเขาได้มอบแผ่นดินที่มีความกว้างใหญ่ไพศาลให้อยู่ในครอบครองของยะฮูดีย เพื่อให้พวกเขาสร้างบ้านเมือง บรรดายะฮูดีย ได้รับการสนับสนุนจากอังกฤษพวกเขาจึงได้ครอบครองแผ่นดินปาเลสไตน์ไว้เป็นจำนวนมาก ทั้งการยึดครองและการจัดซื้อ ประเทศอังกฤษประเทศเดียวได้มอบพื้นดินจำนวน 50,000 เฮคแทของปาเลสไตน์ซึ่งพวกเขาครอบครองอยู่แก่ชาวยะฮูดียฺ (1 เฮคแท = 10,000 เมตร)
ความพยายามทั้งหมด การโฆษณาชวนเชื่อ และการประกาศหลังจาก แบโฟลได้กล่าวปราศรัยเชิญชวนให้ชาวยะฮูดียฺกลับไปยังแผ่นดินบรรพบุรุษ ในเวลานั้นจนถึงปี ค.ศ. ที่ 1922 พลเมืองปาเลสไตน์มีชาวยิวอยู่ 11 % (ตามสถิติการสำรวจของอังกฤษ เมือวันที่ 31 ธันวาคม 1922) อีก 89 % ของพลเมืองที่เหลือเป็นชาวอาหรับทั้งที่เป็นมุสลิมและคริสเตียน
บรรดาผู้นำยิวไซออนนิสต์หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 พวกเขาได้เห็นการแผ่อำนาจของรัฐบาลอเมริกา พวกเขาจึงพยายามสร้างตนเองให้เทียบชั้นอเมริกา ขณะนั้นอังกฤษประกาศว่าตามคำสั่งของสหประชาชาติ ซึ่งออกเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 1948 โดยสั่งให้ปาเลสไตน์อพยพออกนอกประเทศทั้งหมด และคืนประเทศให้สหประชาชาติ แต่ในปี ค.ศ. ที่ 1947 ประเทศหมู่เกาะอังกฤษและอเมริกาได้บังคับให้สหประชาชาติออกคำสั่งแบ่งประเทศปาเลสไตน์ออกเป็นส่วน ขณะนั้นยิวที่อาศัยอยู่ในประเทศปาเลสไตน์มีจำนวนไม่ถึง 15 % ของพลเมืองทั้งหมด แต่ได้ครอบครองพื้นที่ถึง 7 % ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่นั้นเนื่องจากรัฐบาลอังกฤษได้เข้ามาครอบครองพื้นที่ในปาเลสไตน์และได้ยกให้ยิว แน่นอน ประเทศปาเลสไตน์นั้นอาหรับส่วนใหญ่ทั้งที่เป็นมุสลิมและไม่ใช่มุสลิมคัดค้านไม่เห็นด้วย พวกเขาได้ร่วมกันต่อสู้กับยิวและบรรดาผู้อธรรม อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1948 หลังจากได้จัดตั้งศูนย์กลางทหารเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และรัฐบาลของยิวสามารถดูแลตนเองได้ ระดับผู้บังคับบัญชาหลายคนของอังกฤษที่มารับใช้ยิวอยู่ในปาเลสไตน์ ได้ปลดระวางตนเองและเดินทางกลับอังกฤษ บินกูเรน หนึ่งในหัวของไซออนนิสต์ ได้หยิบฉวยโอกาสเมื่ออังกฤษได้ถอนตัวออกไป ประกาศตั้งประเทศอิสราเอลทันทีบนพื้นที่ ที่พวกเขายึดครอง ในปี ค.ศ. ที่ 1948 เมื่อเขาประกาศตั้งประเทศไม่ทันที่จะสิ้นเสียง อเมริกาก็ประกาศรับรองทันที หลังจากนั้นรัศเซียได้ประกาศรับรองบ้าง และติดตามมาด้วยประเทศต่างๆ ในยุโรป ในที่สุดสหประชาชาติก็ประกาศรับรองประเทศมหาโจรอิสราเอลอย่างเป็นทางการ
รัฐบาลยิวไซออนนิสต์ต้องการอวดศักดา และรักษาสถานภาพของตนเขาได้เริ่มการโจมตีอย่างเหี้ยมโหดไร้มนุษยธรรมแถบพื้นที่อยู่อาศัยของชนอาหรับ เช่น ในพื้นที่เดรยาซีน ยิวโจมตีเพียงครั้งเดียวสามารถสังหารประชาชนบริสุทธิ์ตายไปคราวเดียวกันถึง 250 คน ในนั้นมีทั้งเด็ก สตรี คนชรา ซึ่งบางคนถูกฆ่าตัดศีรษะด้วยซ้ำไป และอีกหลายหมื่นคนต้องกลายเป็นผู้เร่ร่อนไร้ถิ่นฐาน และเพื่อสร้างความหวาดกลัวแก่พลเมืองชาวปาเลสไตน์ และเป็นการขับไล่ชาวปาเลสไตน์ให้ออกนอกประเทศเร็วที่สุด พวกเขาได้ลงมือกระทำสิ่งเลวร้ายไร้มนุษยธรรมเลวยิ่งกว่าสัตว์เดรัจฉาน เช่น เขาได้จับสตรีมุสลิมเปลื้องเสื้อผ้าแล้วนำขึ้นรถทหารขับประจานไปตามเมืองต่างๆ และเนื่องจากความป่าเถื่อนโหดร้ายเยี่ยงสัตว์เดรัจฉาน ทำให้ชาวปาเลสไตน์จำนวนเป็นล้านคนต้องหลีภัยออกนอกประเทศ ไปพึ่งพิงประเทศอื่นกลายเป็นพวกเร่ร่อนไร้แผ่นดิน
ชาวปาเลสไตน์อีกบางส่วนได้ยืนหยัดต่อสู้กับยิวไซออนนิสต์ อย่างไม่หวาดกลัว ในการต่อสู้ครั้งนี้ได้มีหทหารอาหรับจากประเทศอียิปต์ จอร์แดน ซีเรีย เลบานอน อิรัก ซาอุดิอารเบีย ลิเบีย ซูดานและยังมีอาสาสมัครจากกลุ่มอิควานุลมุสลิมีนเข้าร่วมด้วย แต่เนื่องจากว่าทหารเหล่านั้นอ่อนการฝึกฝน และอีกอย่างอาวุธยุทโธปกรณ์ก็ไม่ทันสมัย ประกอบกับประเทศล่าอาณานิคมจากหมู่เกาะอังกฤษ ฝรั่งเศส ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในประเทศใกล้เคียง ประกอบกับการทรยศหักหลังของผู้นำประเทศมุสลิมบางประเทศ และด้วยการสนับสนุนของรัฐบาลอเมริกา และอังกฤษที่มีต่อยิวไซออนนิสต์ ทำให้ทหารจากประเทศมุสลิมพ่ายแพ้ และจากเหตุการณ์การสู้รบนั่นเองทำให้ชาวปาเลสไตน์ ต้องเร่ร่อนออกนอกประเทศอีกเป็นจำนวนหลายแสนคน แต่อย่างไรก็ตามหลังจากสงครามครั้งนั้นทำให้เมืองใหญ่ๆ เช่น การอนนะฮฺ บาคเตรี กุดส์ และกาซ่า ยังอยู่ในการดูแลของมุสลิมต่อไป แต่ก็ได้แบ่งส่วนกันเองอีกกล่าวคือ การอนนะฮฺ บาคเตรี และกุดส์ได้ขึ้นกับจอร์แดน ส่วนกาซ่าขึ้นกับอียิปต์
หลังจากสงครามผ่านพ้นไป ในปี ค.ศ. 1948 ประเทศอเมริกา ฝรั่งเศส อังกฤษ และยิวไซออนนิสต์ ได้ร่วมกันสร้างอาวุธหนักที่ร้ายแรง (ปรมาณู อาวุธเชื้อโรค และระเบิดเคมี) และแม้ว่าชาวปาเลสไตน์จะปราชัยในการสู้รบ แต่พวกเขาก็ไม่ได้รามือจากการสู้รบแต่อย่างใด ยังคงจัดตั้งกลุ่มนักต่อสู้ขึ้นมาแม้จะเป็นกลุ่มเล็ก แต่พวกเขาก็คอยปั่นป่วนตามเมืองต่างๆ ของยิว ที่มาตั้งรกรากในปาเลสไตน์ แต่รัฐบาลโจรเฉกเช่นยิวไซออนนิสต์ก็พยายามสร้างความปลอดภัยให้ตนเอง และต้องการขยายอาณาจักรออกไป ในปีค.ศ. 1956 พวกเขาจึงได้วางแผนร่วมกับอังกฤษและฝรั่งเศส ยกกำลังทหารมาบุก 3 เส้าในอียิปต์ พวกเขาได้ยึดฉนวนกาซ่า และบางส่วนในทะเลาทรายซีนา แต่เนื่องจากว่าโลกได้บีบบังคับ ประกอบกับชาวปาเลสไตน์ได้ยืนหยัดต่อสู้ พวกเขาจึงถอนกำลังออกจากพื้นที่ดังกล่าวไป
แสดงความเห็น