คำยืนยันฮะดีษเฆาะดีรว่า เมาลา คือ อิมาม

จุดประสงค์ของเมาลาหมายถึงใคร

 

ประเด็นสำคัญที่ต้องกล่าวถึงตรงนี้คือ การอธิบายคำว่า เมาลา ฝ่ายอะฮฺซุนนะฮฺกล่าวว่าหมายถึงมิตร เพื่อน และความรัก ส่วนฝ่ายชีอะฮฺกล่าวว่าหมายถึง ผู้ปกครอง ซึ่งการให้ความหมายที่ถูกต้องนั้นต้องพิจารณาสภาพแวดล้อมเป็นองค์ประกอบสำคัญด้วยว่า ณ ตรงนั้นกำลังกล่าวถึงอะไร

 

จากสิ่งที่กล่าวมาทำให้ไม่ต้องสงสัยต่อสายรายงานและความถูกต้องของฮะดีษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำว่า เมาลา สามารถกล่าวได้ทันทีทั้งในฮะดีษนี้และฮะดีษอื่น ๆ ว่าไม่ได้มีความหมายมากกว่า ๑ ความหมายกล่าวคือ ความประเสริฐ หรือความดีกว่า อีกนัยหนึ่งคือ ผู้นำหรือผู้ปกครอง นั่นเอง อัล-กุรอานหลายโองการกล่าวถึงคำว่า เมาลา ในความหมายของ ผู้ปกครอง เช่น

 

อัล-กุรอาน ๑๘ โองการกล่าวถึงคำว่า เมาลา ซึ่ง ๑๐ โองการใช้ในความหมายของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งไม่เป็นที่สงสัยว่า เมาลา ณ ที่นั้นหมายถึงผู้ปกครองหรือผู้นำ และมีเพียงที่เดียวที่หมายถึง มิตรหรือเพื่อน

 

ด้วยเหตุนี้ คำว่า เมาลา จึงให้ความหมายแรกเสมอ ซึ่งหมายถึงประเสริฐกว่าหรือผู้ปกครองนั่นเอง ในฮะดีษเฆาะดีรเช่นกัน เมาลา หมายถึงผู้ปกครอง เนื่องจากพิจารณาสภาพแวดล้อมแล้วไม่อาจให้ความหมายอย่างอื่นได้ ซึ่งในสภาพเช่นนั้นไม่มีความจำเป็นอันใดที่ท่านศาสดาต้องประกาศให้คนอื่นทราบว่า อะลีคือมิตรของท่าน และนอกจากสภาพแวดล้อมแล้ว ยังมีโองการอัล-กุรอานอีกหลายโองการพิสูจน์ให้เห็นถึงความหมายดังกล่าว

เหตุผลที่สนับสนุนคำกล่าวอ้าง

 

สมมุติว่าคำว่า เมาลา มีหลายความหมาย แต่เครื่องหมายและสัญลักษณ์ต่าง ๆ ในฮะดีษเฆาะดีรและการชุมนุมที่ยิ่งใหญ่ในวันนั้นย่อมเป็นสิ่งยืนยันให้เห็นถึงความหมายที่แท้จริงของคำว่า เมาลา

คำยืนยันที่ ๑.

 

ดังที่กล่าวไปแล้วว่าในวันชุมนุมที่ยิ่งใหญ่วันนั้น ฮัซซาน บิน ซาบิต นักกวีผู้ยิ่งใหญ่ได้ขออนุญาตท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ถ่ายทอดคำพูดของท่านออกมาเป็นบทกลอน ซึ่งโวหารที่ฮัซซานได้ใช้ในวันนั้นได้แทนที่คำว่า เมาลา ด้วยคำว่า อิมาม หรืฮาดียฺ

 

فقال لَهُ قم يا علىُّ فانّنى رضيتك من بعدى إماماً و هادياً

 

ท่านได้กล่าวกับอะลีว่า ลุกขึ้นเถิดโอ้อะลี ฉันได้เลือกเจ้าให็เป็นอิมามและผู้ชี้นำทางประชาชาชติหลังจากฉัน

 

เป็นที่ประจักษ์ว่า ฮัซซานได้แทนที่คำว่า เมาลา ในคำพูดของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ด้วยคำที่มีความหมายใกล้เคียงที่สุดคือ อิมามหรือผู้นำ ในขณะที่ฮัซซานคือผู้เชี่ยวชาญภาษาอาหรับและเป็นนักกวีย่ิอมมีการใช้ภาษาได้ดีกว่าคนอื่น

 

มิใช่ฮัซซานเท่านั้นที่ใช้คำว่า เมาลา ในความหมายของ อิมาม หรือผู้นำเพียงลำพังทว่าหลังจากเขาแล้วมีนักกวีที่มีชื่อเสียงคนอื่น ๆ ก็ใช้เช่นเดียวกัน

 

 

คำยืนยันที่ ๒.

ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้เขียนบทกลอนเกี่ยวกับเฆาะดีรส่งให้มุอาวิยะฮฺมีใจความว่า

 

وَ أَوْجَبَ لِى وِلايَتَهُ عَلَيْكُمْ رَسُولُ اللّهِ يَوْمَ غَدِيرِ خُمٍّ

 

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้มอบวิลายะฮฺของท่านแก่ฉันให้เป็นวาญิบสำหรับเจ้าในวันเฆาะดีรคุม

 

ในอิสลามนอกจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ยังจะมีใครมีความรู้สูงกว่าอิมามอะลี (อ.) และยังจะมีผู้ใดสามารถอธิบายฮะดีษของท่านศาสดาได้ดีไปกว่าอิมาม ฉะนั้น จะเห็นว่าในวันเฆาะดีรคุมท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้ให้ความหมายคำว่า วิลายะฮฺ ไว้อย่างชัดเจนว่าหมายถึงผู้นำหรืออิมาม ซึ่งเป็นที่รับทราบและไม่มีผู้ใดคัดค้านแม้แต่คนเดียว

คำยืนยันที่ ๓.

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ก่อนที่จะกล่าวประโยคว่า ใครก็ตามที่ฉันเป็นเมาลาของเขา อะลีก็เป็นเมาลาของเขาด้วย ท่านได้กล่าวถามว่า

 

اَلَسْتُ أَولى بِكُمْ مِنْ أَنْفُسِكُمْ؟

 

ฉันไม่ได้ดีไปกว่าพวกท่านและชีวิตของพวกท่านดอกหรือ

 

ในประโยคดังกล่าวท่านศาสดา (ซ็อิล ฯ) ได้ใช้คำว่า เอาลา..มินอังฟุซิกุม หมายถึงต้องการยืนยันและให้ประชาชาชนทั้งหมดสารภาพว่า ท่านนั้นดีกว่าคนอื่นทั้งตัวตนและชีวิตของพวกเขา หลังจากนั้นท่านจึงกล่าวว่า

 

مَنْ كُنْتُ مَوْلاهُ فَهذا عَلِىٌّ مَولاهُ

 

ใครก็ตามที่ฉันเป็นเมาลา (ผู้ปกครอง) ของเขาอะลีก็เป็นเมาลาของเขาด้วย

 

จุดประสงค์ของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ในการกล่าวประโยคทั้งสองมาพร้อมกันคืออะไร ท่านต้องการบอกว่าตำแหน่งของท่านที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงแต่งตั้ง และอัล-กุรอานกล่าวรับรองไว้เป็นของอะลีด้วยใช่หรือไม่ ซึ่งทั้งสองแตกต่างกันตรงที่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เป็นศาสนทูตของอัลลอฮฺ ส่วนอะลี (อ.) เป้นอิมาม

 

สรุปความหมายของฮะดีษท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ต้องการบอกว่า บุคคลใดก็ตามที่ฉันดีกว่าเขาอะลีก็ดีกว่าเขาด้วยถ้าจุดประสงค์ของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ไม่ใช่เช่นนี้ หรือท่านศาสดามีจุดประสค์อย่างอื่นไม่จำเป็นที่ท่านต้องกล่าวถามก่อนว่า ฉันไม่ได้ดีไปกว่าพวกท่านและชีวิตของพวกท่านดอกหรือ ซึ่งถ้าเป็นดั่งที่มุสลิมทั้งหลายเข้าใจเราต้องถามตัวเองว่า เราคิดอย่างไรกับท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ความคิดของเรามิได้เป็นการดูถูกและมองข้ามเจตนารมณ์อันดีงามของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ดอกหรือ

คำยืนยันที่ ๔.

สมมุติว่าคำว่า เมาลา ในที่นี้หมายถึงมิตร หรือเพื่อนตามที่ส่วนใหญ่เข้าใจกัน ฮะดีซ ก็จะมีความหมายว่า ใครก็ตามที่ฉันเป็นเพื่อนกับเขา อะลีก็เป็นเพื่อนกับเขาด้วย ในมุมกลับใครก็ตามที่ไม่ได้เป็นเพื่อนกับอะลีก็เท่ากับว่าไม่ได้เป็นเพื่อนกับฉัน ขณะที่ท่านศาสดาคือ ศาสดาแห่งพระผู้เป็นเจ้าไม่ได้อยู่ในฐานเพื่อนหรือมิตรของใคร ดังนั้น คำว่าเมาลาจึงไม่อาจตีความหมายเป็นอย่างอื่นได้ นอกจากผู้ปกครอง

คำยืนยันที่ ๕.

เมื่อเริ่มต้นเทศนาท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้ให้ประชาชนกล่าวยืนยันถึงหลักความเชื่อหลัก ๓ ประการของอิสลาม ซึ่งทุกคนได้กล่าวสารภาพเป็นเสียงเดียวกันว่า

 

أَلَسْتُمْ تَشْهَدُونَ أنْ لا إِلهَ إلاّ اللّهُ وَ أنَّ مُحَمَّداً عَبْدُهُ و رَسُولُهُ وَ أَنَّ الجنَّةَ حَقٌّ وَ النَّارَ حَقُّ؟

 

พวกท่านยืนยันไหมว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ มุฮัมมัดเป็นบ่าวและเป็นศาสดาของพระองค์ วันแห่งการฟื้นคืนชีพเพื่อการสอบสวนสวรรค์และนรกนั้นมีจริง

 

จุดประสงค์ของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ที่ให้ประชาชนกล่าวยืนยันและสารภาพความจริงออกมาคืออะไร ท่านมิต้องการให้ประชาชนเตรียมพร้อมเพื่อรอฟังข่าวสำคัญดอกหรือ หรือว่าเป็นการเตือนสำทับธรรมดาเพื่อเกรงว่าประชาชนจะลืม ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงจำเป็นด้วยหรือที่ท่านต้องให้ประชาชนสารภาพกลางแดดที่ร้อนระอุเช่นนั้น ทั้งที่ก่อนหน้านี้ประชาชนก็ประกาศยอมรับมาแล้ว หรือว่าท่านเตรียมพร้อมประชาชนเพื่อพิสูจน์ตำแหน่งและฐานันดรของอะลี (อ.) เพื่อว่าประชาชนจะได้เข้าใจอย่างดีว่าฐานันดรที่จะกล่าวต่อไปนี้ อยู่ในฐานะเดียวกันกับหลักความเชื่อ ๓ ประการแรกตามที่กล่าวมาข้างต้น อันเป็นหลักความเชื่อสำคัญของศาสนา อีกนัยหนึ่งการประกาศยอมรับวิลายะฮฺของอะลี (อ.) ก็คือการประกาศยอมรับหลักความเชื่อสามประการสำคัญของอิสลาม ซึ่งทั้งหมดได้กล่าวยืนยัน

 

แต่คำว่า เมาลา หมายถึงเพื่อนหรือผู้ช่วยเหลือความสัมพันธ์ของประโยคเหล่านี้ในทางภาษาอาหรับจะสูญเสียทั้งหมด ลีลาและโวหารของภาษาอาหรับก็จะเสียไปด้วย ซึ่งสิ่งนั้นไม่ใช่เจตนารมณ์ของท่านศาสดาอย่างแน่นอน

 

คำยืนยันที่ ๖.

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ในตอนเริ่มต้นคำเทศนาท่านได้กล่าวถึงความตายที่กำลังจะมาถึงโดยกล่าวว่า

 

إنّي أَوْشَكُ أَنْ اُدْعى فَاُجِيبَ

 

ใกล้จะถึงเวลาที่ฉันได้ตอบรับคำเชิญของพระผู้เป็นเจ้าแล้ว

 

ประโยคดังกล่าวหมายถึงว่า ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ต้องการบอกว่าหลังจากฉันได้จากไปแล้ว พวกท่านทั้งหลายจะได้ไม่เดือดร้อน และความตายของฉันจะต้องไม่สร้างช่องว่างให้เกิดขึ้นในหมู่พวกเจ้า สิ่งใดหรือที่สามารถเติมช่องว่างของท่านศาสดาให้เต็มได้ แน่นอนจะไม่มีสิ่งใดมีความสำคัญเกินเลยไปกว่าการแต่งตั้งตัวแทนภายหลังจากท่าน

 

เมื่อใดก็ตามที่ตีความหมายของคำว่า วิลายะฮฺ เป็นอย่างอื่นที่นอกเหนือจากคิลาฟะฮฺ จะทำให้คำพูดของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) สับสนและวกวนขณะที่ท่านศาสดาเป็นผู้ที่มีลีลาและโวหารในการใช้ภาษาได้อย่างยอดเยี่ยม ดังนั้น เมาลา ที่ฮะดีซกกล่าวถึงไม่มีความหมายใดที่จะชัดเจนเกินไปกว่าเรื่องวิลายะฮฺแน่นอน

คำยืนยันที่ ๗.

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้กล่าวหลังจากกล่าวว่า ใครก็ตามที่ฉันเป็นเมาลาของเขา อะลีก็เป็นเมาลาของเขาด้วย หลังจากนั้นท่านกล่าวว่า

 

اَللّهُ أَكْبَرُ عَلى إكْمالِ الدِّينِ وَ إتْمامِ النِّعْمَةِ وَ رِضَى الرَّبِّ بِرِسالَتِى وَ الْوِلايَةِ لِعَلىٍّ مِنْ بَعْدِى

 

อัลลอฮุอักบัร อัลลอฮุอักบัร แทัจริงพระองค์ได้ทำให้ศาสนาของพระองค์สมบูรณ์ ทรงประทานความโปรดปรานแก่พวกเราอย่างครบถ้วน และทรงพีงพอพระทัยกับนบูวัตของฉัน และวิลายะฮฺของอะลีภายหลังจากฉัน[๒๐]

 

ถ้าสมมุติว่าจุดประสงค์ของเมาลาหมายถึง มิตร หรือผู้ช่วยเหลือ จาำกบรรดามุสลิมทั้งหลาย เป็นไปไ้ด้อย่างไรแค่การตอบรับความเป็นเพื่อนและช่วยเหลืออะลี (อ.) ทำให้ศาสนาของพระองค์สมบูรณ์และความโปรดปรานของพระองค์ครบครัน สิ่งนี้ไม่ได้บ่งบอกถึงความประเสริฐสมบูรณ์ของอิมามอะลีดอกหรือ

 

อีกนัยหนึ่งถ้าจะกล่าวให้ชัดเจน การที่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า อัลลอฮฺทรงพีงพอพระทัยกับนบูวัตของฉัน และวิลายะฮฺของอะลีภายหลังจากฉัน ทั้งหมดเหล่านี้ไม่ได้ยืนยันถึงวิลายะฮฺของอะลีดอกหรือ

คำยืนยันที่ ๘.

ยังจะมีหลักฐานใดกระจ่างชัดไปกว่าการที่ ๒ บุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์เฉกเช่น อบูบักรฺ และอุมัร พร้อมกับสหายจำนวนมากมายของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) หลังจากที่ท่่านได้ลงมาจากมิมบัรประชาชนได้แห่กันเข้าไปแสดงความยินดีและให้บัยอัตกับท่านอิมามอะลี (อ.) พิธีกล่าวแสดงความยินดีได้เนินนามมาจนถึงมัฆริบ ซึ่งในพิธีดังกล่าว ๒ คนแรกที่เข้ามากล่าวแสดงความยินดีกับท่านอิมามอะลี (อ.) คือ อบูบักรฺและอุมัร

 

هَنيئاً لَكَ يا عَلِىَّ بْنِ أبِي طالِب أَصْبَحْتَ و أَمْسَيْتَ مَوْلاىَ وَ مَوْلى كُلِّ مُؤْمِن وَ مُؤْمِنَة

 

ขอแสดงความยินดีกับท่าน โอ้บุตรของอบูฏอลิบ บัดนี้ท่านได้เป็นผู้ปกครองและเป็นผู้นำของฉัน และของผู้ศรัทธาชนทั้งชายและหญิง

 

ในวันนั้นอิมามอะลี (อ.) ได้รับตำแหน่งอันทรงเกียรติใดหรือ ประชาชนจึงแห่เข้าไปแสดงความยินดีกับท่าน แน่นอนตำแหน่งนั้นต้องเป็นอิมามและเคาะลิฟะฮฺของมุสลิม ซึ่งจนถึงวันนั้นยังมิได้มีการประกาศอย่างเป็นทางการ และมีความเหมาะสมต่อการกล่าวแสดงความยินดี ความรักและมิตรมิใช่สิ่งใหม่สำหรับท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กับอิมามอะลี (อ.)

คำยืนยันที่ ๙.

 

ถ้าหากจุดประสงค์หมายถึงมิตรหรือความรักที่มีต่อท่านอิมามอะลี (อ.) ดังนั้น ไม่มีความจำเป็นอันใดที่ต้องไปประกาศกลางแดดที่ร้อนระอุเช่นนั้น (กองคาราวานจำนวน ๑๒๐,๐๐๐ คนถูกสั่งให้หยุดท่ามกลางแสงแดดที่ร้อนระอุเพื่อรอฟังคำเทศนาจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ที่ต้องการประกาศว่าท่านกับอิมามอะลี (อ.) เป็นมิตรและเป็นพี่น้องกัน

 

อัล-กุรอานไม่ได้บอกหรือว่าประชาชนที่มีอีมานเป็นพี่น้องกัน อัล-กุรอานกล่าวว่า แท้จริงผู้ศรัทธานั้นเป็นพี่น้องกัน

 

อัล-กุรอานโองการอื่นไม่ได้กล่าวแนะนำให้ผู้ศรัทธารักกันและแสดงความเป็นมิตรต่อกันดอกหรือ ขณะที่อิมามอะลี (อ.) เป็นสมาชิกคนหนึ่งของสังคมทีมีความศรัทธาไม่มีความจำเป็นแต่อย่างใดที่ต้องประกาศเช่นนั้น แต่สมมุติว่ามีความจำเป็นต้องประกาศความเป็นมิตรหรือเพื่อนที่ดีต่อกัน ก็ไม่มีความจำเป็นต้องกล่าวบทนำและสร้างความยากลำบากถึงขั้นนั้น ซึ่งในมะดีนะฮฺก็สามารถประกาศได้ ดังนั้น ไม่มีสิ่งใดมีความสำคัญและต้องการบทนำที่ยุ่งยากเช่นนั้น ซึ่งเป็นบทนำที่ไม่เคยมีมาก่อนในชีวิตของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ)

แสดงความเห็น