ด้วยเหตุผลใดที่่จะต้องกล่าว อะอูซูบิลลาฮิ มินัชชัยฏอนด้วย
ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
คำถาม
อัลกุรอานบทใดระบุว่าต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
คำตอบโดยสังเขป
หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีษคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน
คำตอบเชิงรายละเอียด
ตามหลักการของอิสลามกล่าวว่า ทุกสิ่งต้องมีโปรแกรมในการปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแสวงหาประโยชน์จากคัมภีร์อันยิ่งใหญ่ เฉกเช่นอัลกุรอาน ด้วยเหตุนี้เอง อัลกุรอานจึงได้วางกฎระเบียบเอาไว้สำหรับการอ่านอัลกุรอาน และการได้รับประโยชน์จากโองการเหล่านั้น โดยระบุถึงมารยาทและเงื่อนไขในการเอาไว้ ดังนี้
1.การสัมผัสอักษรอัลกุรอาน จำเป็นต้องมีความสะอาดและวุฎูอฺด้วย อัลกุรอาน กล่าว่า “ไม่มีผู้ใดสัมผัสอัลกุรอานได้ นอกจากผู้มีความสะอาด”[1]
โองการดังกล่าวอาจระบุให้เห็นถึงความสะอาดภายนอกทั้งหมดก็เป็นไปได้ และอาจบ่งชี้ให้เห็นว่าผู้ที่สามารถเข้าใจความหมาย และสาระของโองการได้นั้น ต้องเป็นผู้ที่มีความสะอาดบริสุทธิ์ มีมารยาทอันดีงาม กล่าวคือมนุษย์จำเป็นต้องละเว้นคุณลักษณะเลวร้าย และความประพฤติที่ไม่ดีทั้งหลายทั้งปวง ให้ห่างไปจากตัว เพื่อจะได้ไม่ถูกกีดกันการมองเห็นความสวยงาม และความจริงของอัลกุรอาน
2.จำเป็นต้องอ่านอัลกุรอาน แบบตัรตีล หมายถึงอ่านด้วยความระมัดระวัง พร้อมกับการใคร่ครวญ[2]
3.ก่อนเริ่มอ่านอัลกุรอาน จำเป็นต้องขอความคุ้มครองให้พ้นจากชัยฏอนที่ถูกขับไล่จากความจริง โดยขอที่พึ่งพาต่ออัลลอฮฺ ดังที่โองการข้างต้นกล่าวว่า ดังนั้น เมื่อเจ้าอ่านอัลกุรอาน จงขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺให้พ้นจาก (การหยุแย่ของ) ชัยฏอนที่ถูกอเปหิ[3]
รายงานจากท่านอิมามซอดิก (อ.) เมื่อตอบคำถามว่า เราจะทำตามคำสั่งนั้นได้อย่างไร เราจะพูดว่าอะไร ท่านกล่าวว่า จงพูดว่า “อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม”
อีกรายงานหนึ่งกล่าวว่า เมื่อท่านอิมามได้อ่านซูเราะฮฺฟาติฮะฮฺ ท่านกล่าวว่า …
"اعوذ باللَّه السميع العليم من الشيطان الرجيم، و اعوذ باللَّه ان يحضرون"
ข้าฯขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ ผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงรอบรู้ ให้พ้นจากชัยฏอนที่ถูกอเปหิ และข้าฯขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺให้ทรงอยู่เคียงข้างข้า”
แต่เมื่อต้องการอ่านอัลกุรอาน ควรที่จะกล่าว “อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม” ก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานิรเราะฮีม ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานิรเราะฮีม เป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน ด้วยเหตุนี้เอง ต้องกล่าวอะอูซุบิลลา ก่อนที่จะเข้าสู่เนื้อหาของอัลกุรอาน
นอกจากนี้ยังมีรายงานอีกว่า สิ่งแรกที่ญิบรออีลกล่าวแก่ท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) เกี่ยวกับอัลกุรอานคือ “โอ้ มุฮัมมัด จงกล่าวว่า "أَسْتَعِيذُ بِالسَّمِيعِ الْعَلِيمِ مِنَ الشَّيْطَانِ الرَّجِيمِ" ข้าฯขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ ผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงรอบรู้ ให้พ้นจากชัยฏอนที่ถูกอเปหิ หลังจากนั้นจึงกล่าวว่า " بِسْمِ اللَّهِ الرَّحْمنِ الرَّحِيمِ اقْرَأْ بِاسْمِ رَبِّكَ الَّذِي خَلَقَ"[4]
อย่างไรก็ตาม การขอความคุ้มครองนี้ จะต้องไม่จำกัดอยู่แค่เพียงคำพูด ทว่าต้องสำนึกอยู่ในก้นบึ้งของจิตวิญญาณของเราเสมอ ในลักษณะที่ว่าตลอดการอ่านอัลกุรอาน ตัวของเขาจะต้องแยกห่างออกจากชัยฏอน และใกล้ชิดกับคุณลักษณะสัมบูรณ์ของพระเจ้า เพื่อว่าอุปสรรคในความเข้าใจต่อพระดำรัสของพระเจ้า จะได้ห่างไกลไปจากความคิดของตน และสามารถมองเห็นความสวยงามและความจริงของอัลกุรอานได้[5]
ด้วยเหตุนี้ การขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺจึงมีความจำเป็น ทั้งก่อนเริ่มอ่านอัลกุรอาน และตลอดช่วงเวลาของการอ่าน ถึงแม้จะไม่ได้กล่าวออกมาเป็นคำพูดก็ตาม
[1] บทวากิอะฮฺ, 56 لا يَمَسُّهُ إِلَّا الْمُطَهَّرُونَ
[2] บทมุซัมมิล,4, وَ رَتِّلِ الْقُرْآنَ تَرْتِيلًا
[3] บทอันนะฮฺลุ, 98 فَإِذا قَرَأْتَ الْقُرْآنَ فَاسْتَعِذْ بِاللَّهِ مِنَ الشَّيْطانِ الرَّجيمِ
[4] มุสตัดร็อก อัลวะซาอิล, เล่ม 4, หน้า 256,
الشَّيْخُ أَبُو الْفُتُوحِ الرَّازِيُّ فِي تَفْسِيرِهِ، عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ عَبَّاسٍقَالَ أَوَّلُ آيَةٍ نَزَلَتْ أَوْ أَوَّلُ مَا قَالَهُ جَبْرَئِيلُ لِرَسُولِ اللَّهِ ص فِي أَمْرِ الْقُرْآنِ أَنْ قَالَ لَهُ يَا مُحَمَّدُ قُلْ أَسْتَعِيذُ بِالسَّمِيعِ الْعَلِيمِ مِنَ الشَّيْطَانِ الرَّجِيمِ ثُمَّ قَالَ قُلْ بِسْمِ اللَّهِ الرَّحْمنِ الرَّحِيمِ اقْرَأْ بِاسْمِ رَبِّكَ الَّذِي خَلَقَ.
[5] ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ, เล่ม 11, หน้า 401, 402
แสดงความเห็น