สิทธิของเพื่อนบ้าน

สิทธิของเพื่อนบ้าน

"...และจงทำดีต่อเพื่อนบ้านผู้เป็นญาติใกล้ชิดของเจ้า และเพื่อนบ้านที่ไม่ใช่ญาติใกล้ชิด..." (อัล-กุรอาน 4 : 36)

อิสลามให้ความสำคัญ อย่างยิ่งต่อสิทธิและหน้าที่ต่อเพื่อนบ้าน ท่านศาสดา(ศ.) กล่าวว่า "ญิบรออีลมักจะแนะนำฉันเสมอให้มีน้ำใจกรุณาต่อเพื่อนบ้าน จนฉันคิดว่าอัลลอฮ์จะให้เพื่อนบ้านอยู่ในกลุ่มผู้รับมรดกของบรรดามุสลิม"

สิทธิของเพื่อนบ้านไม่ ได้หมายถึงเพื่อนบ้านที่เป็นมุสลิมเท่านั้น แน่นอนว่าเพื่อนบ้านที่เป็นมุสลิมมีสิทธิมากกว่าอยู่อย่างหนึ่งสำหรับเราใน ฐานะที่เขาเป็นพี่น้องมุสลิม แต่สำหรับสิทธิของเพื่อนบ้านโดยทั่วไปแล้วนั้น ทุกคนล้วนเท่าเทียมกัน

ท่านศาสดา(ศ.) ได้อธิบายเกี่ยวกับเพื่อนบ้านไว้ว่า :

เพื่อนบ้านแบ่งออกเป็นสามประเภท

  1. เพื่อนบ้านที่มีสิทธิเหนือพวกท่านหนึ่งประการ
  2. เพื่อนบ้านที่มีสิทธิเหนือพวกท่านสองประการ
  3. เพื่อนบ้านที่มีสิทธิเหนือพวกท่านสามประการ

เพื่อนบ้านที่มีสิทธิ เหนือพวกท่านสามประการคือเพื่อนบ้านที่เป็นมุสลิมด้วยและเป็นญาติพี่น้องของ พวกท่านด้วย เพื่อนบ้านที่มีสิทธิสองประการคือเพื่อนบ้านที่ไม่ได้เป็นมุสลิมหรือไม่ได้ เป็นญาติพี่น้องของพวกท่านอย่างใดอย่างหนึ่ง

ส่วนเพื่อนบ้านที่มี สิทธิหนึ่งประการคือเพื่อนบ้านที่ไม่ได้เป็นทั้งมุสลิมและไม่ได้เป็นญาติพี่ น้องด้วย แต่เขาก็ยังมีสิทธิเหนือพวกท่านในฐานะเป็นเพื่อนบ้านอยู่

มีรายงานคำสอนมากมายที่แสดงให้เห็นถึงความรักที่มีต่อเพื่อนบ้านในศาสนาอิสลาม

ท่านศาสดา(ศ.) กล่าวว่า "เขาไม่ได้มาจากฉัน ผู้ที่นอนหลับอย่างสุขสบายในขณะที่เพื่อนบ้านของเขานอนหิวโหย"

อิมามอะลี อิบนฺ ฮุเซน ซัยนุลอาบิดีน(อ.) ได้กล่าวไว้ในริซาละตุล ฮุกูก ของท่านว่า "เหล่านี้คือหน้าที่ของพวกท่านที่มีต่อเพื่อนบ้านของพวกท่าน นั่นคือ ปกป้องผลประโยชน์ของเขาในขณะที่เขาไม่อยู่, แสดงความนับถือต่อเขาในขณะที่เขาอยู่, ช่วยเหลือเขาเมื่อเขาได้รับโทษด้วยความอยุติธรรม"

อย่าทำนิ่งเฉยในการ ตรวจหาความผิดพลาดของเขา และถ้าท่านบังเอิญรู้ถึงสิ่งที่ไม่พึงประสงค์อันใดเกี่ยวกับเขา จงปิดซ่อนมันจากผู้อื่น และในขณะเดียวกัน จงพยายามทำให้เขาเลิกจากนิสัยที่ไม่เหมาะสมนั้น เผื่อว่าบางทีจะมีโอกาสที่เขาจะรับฟังท่าน อย่าทอดทิ้งเขาให้อยู่ลำพังในความเดือดร้อนใดๆ จงให้อภัยเขาถ้าหากเขาทำผิดในสิ่งใด กล่าวสั้นๆ คือ จงใช้ชีวิตอยู่กับเขาด้วยคุณธรรมอันประเสริฐอันมีพื้นฐานอยู่บนหลักจริยธรรม อันสูงส่งของอิสลาม

 

แสดงความเห็น