ประโยชน์ของอิมามมะฮ์ดีในช่วงการเร้นกาย
ประโยชน์ของการมีอิมามมะฮฺดี (อ.) ในช่วงการเร้นกาย
اللهم كن لوليك الحجه بن الحسن صلواتك عليه و على آبائه فى هذه الساعه و فى كل ساعه وليا و حافظا و قائدا و ناصرا و دليلا و عينا حتى تسكنه إرضك طوعا و تمتعه فيها طويلا.
โอ้ข้าแต่อัลลอฮฺ ขอให้พระองค์ทรงประสาทพรแด่หุจญะติบนิลฮะซัน และบรรดาบรรพชนของท่าน ทั้งในเวลานี้และทุก ๆเวลา ผู้เป็น มิตร ผู้ดูแล ผู้นำ ผู้ช่วยเหลือ ผู้ชี้นำทาง(เหตุผล) ผู้เป็นดวงตา ขอพระองค์ทรงให้ที่พำนักแก่เขาบนหน้าแผ่นดินของพระองค์ และเพื่อจะได้รับประโยชน์อันยาวนานจากเขา
ประโยชน์และความสิริมงคลของการมีอิมามามะฮฺดี (อ .) ในช่วงของการเร้นกายนั้นเป็นที่ชัดเจน ซึ่งรายละเอียดของสิ่งนี้ได้ถูกบันทึกอยู่ในตำราต่าง ๆมากมาย และบางครั้งเราก็ได้รับประสบการณ์นั้นด้วยกับตัวของเราเอง แน่นอนการที่จะกล่าวถึงประโยชน์และคุณค่าของการเร้นกายนั้นไม่อาจกล่าวให้จบให้สมบูรณ์ได้ด้วยการเขียนบทความสักสองสามหน้า แต่สิ่งที่สามารถนำเสนอได้ตรงนี้คือขณะท่านอิมาม (อ.) ปรากฏตัวนั้นเราได้รับความสิริมงคลใดบ้าง และช่วงเวลาที่อิมามได้เร้นกายไปความสิริมงคลใดได้ถูกตัดออกไปจากเรา แต่น่าเสียดายอยู่ประการหนึ่งคือ พวกเรารู้จักอิมามและตำแหน่งของอิมามะฮฺเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ทั้งที่พวกเราต่างเป็นสรรพสิ่งถูกสร้างบนความรักและความเอ็นดูของพระผู้สร้างที่มีต่อท่านบรรดาอิมาม และด้วยบะร่อกัตของท่านริสกีได้ตกมาถึงสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย[และ น่าเสียดายอีกเช่นกันว่ามีชนบางกลุ่มได้ใช้บะร่อกัตนั้นมากกว่าใครอื่นทั้งหมดแต่พวกเขากับไม่ใส่ใจทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้และปล่อยปละละเลย
การรู้จักอิมามโดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านอิมามมะฮฺดี (อ.) สำหรับผู้ที่เป็นชีอะฮฺแล้วถือเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีอีมานและเชื่อว่าภายหลังจากท่านศาสดา (ศ็อลฯ) แล้วมีอิมามผู้นำที่บริสุทธิ์อีกสิบสองท่าน ซึ่งหนึ่งในสิบสองท่านนั้นมีอยู่ท่านหนึ่งที่ยังมีชีวิตและอยู่ในสภาพของการเร้นกายจนถึงปัจจุบัน และวันหนึ่งท่านจะปรากฏกายออกมาตามพระบัญชาและพระประสงค์ของอัลลอฮฺ (ซบ.) แก่นแท้ของการมีอยู่ของท่านอิมาม การเร้นกาย ตลอดจนการปรากฏกายของท่านเป็นที่ยอมรับของอหฺลิซซุนนะฮฺส่วนมาก ซึ่งท่านคนได้กล่าวอ้างด้วยซ้ำไปว่าเขาได้พบกับท่านอิมาม สิ่งนี้ได้แสดงให้เห็นว่าความเชื่อเรื่องมะฮฺดี (อ.) ความรักที่มีต่อท่านไม่ได้เฉพาะเจาะจงอยู่ในแวดวงของชีอะฮฺเท่านั้น สิ่งเดียวที่ชีอะฮฺมีความแตกต่างกับคนอื่นในเรื่องนี้คือ ความเชื่อในการเป็นอิมามะฮฺ การมีชีวิตยาวนาน การเร้นกายซึ่ง วัน หนื่งท่านจะปรากฏกายออกมาเพื่อปฏิบัติหน้าที่การเป็นอิมามของท่านและทำให้ โลกนี้เปี่ยมล้นไปด้วยความยุติธรรมเหล่านี้เป็นเงื่อนไขความเชื่อของชีอะ ฮฺสิบสองอิมาม และในช่วงที่อิมามเร้นกายก็ได้รับประโยชน์จากอิมามในด้านตักวีนี (การกำหนดกฏเกณฑ์) และการตะวัสสุล (การขอสื่อสัมพันธ์)
ประโยชน์ของการตะวัสสุล
มีความสิริมงคลมากมายในการตะวัสสุลได้ถูกประทานให้กับท่านอิมามมะฮฺดี (อ.) ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้มีเรื่องเล่าที่ถูกบันทึกไว้ในตำราต่าง ๆ อาทิเช่น นัจมุษษากิบ ของท่านมีรฺซา นูรีย์ การมีอยู่ของอิมามในช่วงของการเร้นกายนั้นเปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ที่อยู่หลังก้อนเมฆ[๒] เราไม่อาจมองเห็นอิมามได้ แต่ท่านนั้นเป็นรัศมีที่ฉายส่อง และเป็นบะร่อกัตที่ถูกประทานลงมา ที่ให้ทั้งแสงสว่างและความร้อนแก่โลกและประชาโลกทั้งหลาย ท่านได้วางรากฐานแนวทางในการดำเนินชีวิต ซึ่งบุคคลใดรู้จักท่านเขาจะรู้ทันที่ว่ามีเพียงม่านเท่านั้นที่เป็นอุปสรรคขว้างกั้นระหว่างท่านกับอิมาม
การรู้จักอิมาม
ปัญญาอยู่ตรงที่ว่าเมื่ออิมามคงปรากฏอยู่อย่างปรกตินั้น เราไม่สามารถเข้าใจได้อย่างดีถึงฐานะภาพที่แท้จริงของการเป็นอิมาม และท่านนั้นมีบทบาทอย่างไรในการกำหนดกฎเกณฑ์และกฎการปฏิบัติ อีกนัยหนึ่งการมีอยู่ของอิมามมีบะร่อกัตอะไร และเมื่อท่านไม่อยู่บะร่อกัตใดที่ได้ถูกตัดออกไปจากสังคม ? สิ่งสำคัญเราต้องยอมรับว่าการรู้จักอิมามของพวกเรานั้นอยู่ขั้นธรรมดา เราได้ละเลยและไม่ได้ใส่ใจเท่าที่ควรหรือหากจะกล่าวไปแล้วไม่ได้เฉพาะเจาะจงอยู่แค่เรื่องการรู้จักอิมามเท่านั้น ทว่าเกี่ยวกับความรู้ด้านอื่น ๆก็เช่นกันเมื่อเราเริ่มเรียนรู้ผู้คนส่วนมากมักจะทุ่มเทไปในเรื่องของกฎการปฏิบัติมากกว่า เพื่อว่าวันข้างหน้าเราอาจได้เป็นผู้ปกครอง หรือผู้เชี่ยวชาญสามารถวินิจฉัยปัญหาของศาสนาได้ (มุจตะฮิด) ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสิ่งที่จำเป็นที่สุดในการเรียนรู้อิสลามนั้น ต้องเริ่มจากการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นเอกภาพของพระผู้เป็นเจ้าเรื่อยลงไปจนไปถึงการรู้จักอิมามและมะอาด แต่น่าเสียดายที่ว่าสิ่งเหล่านี้อ่อนแอเสียเหลือเกินในหมู่ของมุสลิมทั้งหลาย มุสลิมนั้นเชื่อว่าอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงอยู่ทุกที ถามว่าความเชื่อนี้มีอิทธิพลต่อการกระทำและความประพฤติของเรามากน้อยเพียงใด ? มันสามารถปกป้องเราไม่ให้ทำความผิดบาปเมื่อเราอยู่ตามลำพังเพียงคนเดียวได้ไหม ? หรือว่าเปรียบเสมือนเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะเขาสามารถมีอิทธิพลกับเราได้ไหม ? และความเชื่อที่ว่าอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรากฏทุก ๆที่นั้นมีผลกับชีวิตเราบ้างไหม ? เราเคยถามตัวเราเองบ้างไหมว่าความรู้และความเข้าใจเหล่านี้ที่บันทึกอยู่ในดุอาอ์และคำวิงวอนต่างๆ นั้นเราเคยสนใจและเราเคยเข้าใจบ้างหรือไม่ ? และยังมีสิ่งอื่น ๆอีกมากมาย แต่สำหรับคนที่เชื่อจริงว่า มีมลาอิกะฮฺนามว่าญิบรออีลองค์หนึ่งเป็นผู้นำเอาวะฮีย์ (วิวรณ์) จากพระผู้เป็นเจ้ามาให้ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) มีพระผู้เป็นเจ้าผู้คอยออกคำสั่ง และดลใจบางสิ่งบางอย่างแก่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) สิ่งเหล่านี้ประชาชนทั่วไปก็เชื่อเราเองก็เชื่อ และเราเคยถามตัวเองบ้างไหมว่าเรามีความเชื่ออะไรที่เป็นพิเศษมากไปกว่านี้บ้าง? และเกี่ยวกับเรื่องอิมามซะมาน (อ.) นั้นถ้าหากเราพิจารณาหนังสือดุอาอ์ (มะฟาติหุลญะนาน) บางวรรคตอนของดุอาอ์เราจะพบว่าตัวของเรานั้นยังห่างไกลอีกมากอาทิ
من إراد الله بدإ بكم و من وحده قبل عنكم و من قصده توجه بكم...
บางตอนของซิยาเราะฮฺญามิอุลกะบีรฺ กล่าวว่า บุคคลที่ปรารถนาอัลลอฮฺ เขาได้เริ่มต้นที่ท่าน บุคคลที่ยอมรับว่าพระองค์เป็นหนึ่งเดียวเขาได้ยอมรับท่านบุคคลที่ปรารถนาไปสู่พระองค์เขาได้หันมาหาท่าน...
หมายถึงอะไร
หรือประโยคที่กล่าวว่า โอ้อัลลอฮฺ เราขอเริ่มด้วยสื่อของพระองค์ และโดยสื่อของพระองค์เราของสิ้นสุด
.. بكم فتح الله و بكم يختم
ประโยคเหล่านี้เราเข้าใจว่าอย่างไร ?
.. بكم يمسك السمإ ان تقع على الارض الا باذنه و بكم ينفس الهم و يكشف الضر
โอ้อัลลอฮฺ โดยพระองค์แผ่นฟ้าได้ถูกรักษาไว้เพื่อไม่ให้ล่วงหล่นลงมายังพื้นดิน ไม่ใช่เพราะคำสั่งของเขาและโดยผ่านพระองค์ดอกหรือที่ความเศร้าโศกและความไม่สบายใจได้ถูกยกออกไป
ซึ่งประโยคเหล่านี้เราได้อ่านผ่านครั้งแล้วครั้งเล่า แต่เราเคยคิดถึงความหมายของมันบ้างไหม ความหมายด้านในของดุอาอ์นั้นหมายถึงอะไร?
...بكم ينزل الغيث وبكم يمسك السمإ ...
โดยสื่อของท่านฝนได้ตกลงมา และท้องฟ้าได้ถูกรักษาเอาไว้
وبيمنه رزق الورى...
และโดยสื่อของเขาริสกี (เครื่องยังชีพ) ได้ไปถึงยังมวลสรรพสิ่ง..
. خلقكم الله إنوارا فجعلكم بعرشه محدقين حتى من علينا بكم ...
อัลลอฮฺทรงสร้างท่านมาในรูปของรัศมี (นูรฺ) ให้รายล้อมอยู่รอบ ๆ บัลลังก์ของพระองค์จนกระทั่งพระองค์ได้ทำให้ท่านเป็นเครื่องประดับสำหรับพวกเรา
ดุอาอ์เหล่านี้หมายความอะไร ? บรรดาศาสดา และอิมามผู้บริสุทธิ์ที่เราได้รู้จักท่านว่าเป็นบุตรของใคร และถือกำเนิดเมื่อไหร่ สิ้นชีพเมื่อปีอะไร เฉพาะท่านอิมามซะมาน (อ.) เท่านั้นที่ยังมีชีวิตอยู่ส่วนอิมามท่านอื่น ๆได้เป็นชะฮีดไปหมดแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ประโยคนี้ของดุอาอ์หมายความว่าอะไร ?
.. فجعلكم فى بيوت إذن الله إن ترفع و يذكر فيه اسمه ..
พระองค์ทรงให้ท่านพำนักในบ้านหลังหนึ่ง .ซึ่งพระองค์ทรงมีบัญชาให้ทำการยกฐานันดรและทำการรำลึกถึงนามเหล่านั้นในนั้น
ความหมายของประโยคคืออะไร มีความหมายอะไรซ่อนอยู่ผู้มีปัญญาน้อยนิดอย่างเราคงไม่สามารถเข้าใจได้อย่างท่องแท้ เพียงแต่รู้ว่ามีสิ่งหนึ่งที่นอกเหนือไปจากสิ่งที่เราเข้าใจกันซ่อนอยู่ แน่นอนทารกที่อยู่ในครรภ์ของมารดาได้ทำการสรรเสริญอัลลอฮฺ (ซบ.) ซึ่งแตกต่างไปจากทารกทั่ว ๆไปที่เรารู้จักกัน หรือในบางครั้งทารกได้คลอดออกจากครรภ์ของมารดาออกมาอยู่ในท่าสัจญ์ดะฮฺ แน่นอนทารกเหล่านี้ย่อมแตกต่างไปจากทารกคนอื่น ๆริวายะฮฺกล่าวว่ามีอะอิมมะฮฺ (อ.) บางท่านรวมทั้งท่านหญิงฟาฏิมะฮฺขณะที่อยู่ในครรภ์ของมารดาได้พูดคุยกับมารดาของตนและเป็นกำลังใจให้กับมารดา คำอธิบายโองการหนึ่งที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสกับมลาอิกะฮฺว่า
(... إ نبـونى بإسمآء هـولا ء
จงแจ้งฉันถึงนามชื่อเหล่านั้น[๓]
ริวายะฮฺกล่าวว่า ฮาอุลาอิ บ่งบอกถึงรัศมี (นูรฺ) ของอหฺลุลบัยตฺ (ฮ.) ที่อยู่ในโลกนั้น ซึ่งถือว่าเป็นเกียรติยศสำหรับท่านศาสดาอาดัม (อ.) ที่มีต่อเหล่าบรรดามลาอิกะฮฺทั้งหลายเนื่องจากท่านได้เรียนรู้ถึงนามต่าง ๆเหล่านั้น อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสว่า
و علم آدم الا سمآء كلها
และพระองค์ได้สอนนามเหล่านั้นทั้งหมดแก่อาดัม
อัลลามะฮฺฏอบาฏอบาอีย์ กล่าวว่า มิเช่นนั้นแล้วบรรดาท่านเหล่านั้นเองที่เป็นนามต่าง ๆที่พระองค์ได้สอนแก่อาดัม(อ.) พวกเขาได้ถูกสร้างมาก่อน ๆที่พระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) จะสร้างอาดัม (อ.) ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า
كنت نبيا و آدم بين المإ و الطين
ฉันเป็นนบีตั้งแต่อาดัมยังอยู่ระหว่างน้ำกับดิน
คำพูดเหล่านี้หมายถึงอะไร? แน่นอนเป็นการพิสูจน์ให้เห็นถึงการมีอยู่ของรัศมีหนึ่งแห่งอหฺลุลบัยตฺ (อ.) และมนุษย์นั้นพยายามอย่างยิ่งที่จะนำความรู้ของตัวเองเปลี่ยนกับรัศมีเหล่านั้น มีคำพูดหนึ่งกล่าวว่า อัลลอฮฺทรงสร้างพวกท่านในสภาพของรัศมี (นูรฺ)[ (خلقكم الله إنوارا) รัศมีในที่นี้หมายถึงอะไร ? เป็นรัศมีเหมือนกับแสงตะเกียง พระอาทิตย์ ดวงจันทน์ หรือว่าดวงดาวที่เราได้เห็นกัน หรือว่าเป็นอย่างอื่นที่เราไม่เคยพบเห็นมาก่อน ? แน่นอนรัศมีนั้นเป็นสิ่งอื่นที่เราไม่เคยเห็นมาก่อนเนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงตรัสว่า ฉันคือรัศมีแห่งฟากฟ้าและแผ่นดิน
الله نور السمـو ت والا رض
รัศมีดังกล่าวไม่สามารถสัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า เพราะอาตมันของอัลลอฮฺ (ซบ.) ไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตา พระองค์เป็นรัศมี (นูรฺ) ที่มีอยู่รัศมีเดียวแต่ครอบคลุมเหนือรัศมีทั้งหลาย (นูรุนอะลานูริน)
อย่างไรก็ตาม มีความสัจจริงหนึ่งอยู่ที่ไม่อาจปฏิเสธได้นั้นคือ การมีอยู่ของ ๆสิ่งหนึ่งในสภาพของรัศมีอันเป็นแสงเรืองรองที่แสงทั้งหมดบนจักรวาลนี้ ตลอดจนแสงของเส้นทางช้างเผือกและดวงอาทิตย์เมื่อเทียบกับแสงนั้นมันเป็นเพี่ยงความมืดมิดที่อับแสงอันไม่อาจเปรียบเทียบได้ ขณะที่บรรดาอหฺลุลบัยตฺ (อ.) นั้นเป็นรัศมีหนึ่งที่มีอยู่ ซึ่งการมีอยู่ได้มีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับรัศมีดังกล่าว เป็นรัศมีที่ถูกสร้างมาก่อนแผ่นฟ้าและแผ่นดินทั้งหลาย พระองค์ได้สร้างรัศมีแห่งอหฺลุลบัยตฺ (อ.) ไว้รายรอบบัลลังก์ของพระองค์ก่อนสรรพสิ่งอื่นใดทั้งหมด
อีกประเด็นหนึ่ง เรื่องการมีอยู่ของบรรดาศาสดาทั้งหลาย (อ.) และอะอิมมะฮฺผู้บริสุทธิ์ (อ.) เราเชื่อว่าบรรดาท่านเหล่านั้นมีชีวิตอยู่ตลอดเวลาขณะที่เราจะเข้าหะรัมของอะอิมมะฮฺ (อ.) เราจะอ่านว่า
إعلم إن ... يرون مقامى و يسمعون كلامى و يردون سلامى
พึงสังวรไว้เถิดว่า....พวกท่านนั้นเห็นสถานที่ยืนของเรา ได้ยินคำพูดของเรา และตอบรับสลามของพวกเรา
อัลกุรอานกล่าวว่า พวกเขายังไม่ตายยังมีชีวิตอยู่ และได้รับปัจจัยยังชีพ ณ พระผู้อภิบาลของพวกเขา
إحيآء عند ربهم يرزقون
เพียงแต่ว่าเราไม่สามารถสัมผัสพวกเขาโดยผ่านร่างกายได้เท่านั้น แต่สามารถใช้พลังจิตวิญญาณที่เข็มแข็งสัมผัสกับพวกเขาได้เท่านั้นเอง ความสัมพันธ์ที่ได้สัมพันธ์ไปยังพวกเขาเป็นการสัมพันธ์ทางจิตวิญญาณเท่านั้น ซึ่งเป็นจิญญาณที่อยู่ในระดับชั้นที่ต่ำกว่ารัศมี (นูรฺ) เพราะเป็นเพียงสิ่งหนึ่งที่ได้สัมพันธ์กับเรือนร่างเท่านั้น การปรากฏของท่านที่คู่กับเรือนร่าง หรือการเร้นหายไปจากเรือนร่างไม่ได้มีความตำต่างกันเพราะเราสามารถติดต่อกับท่านได้โดยผ่านการตะวัสสุล ดังนั้นการตะวัสสุลในความหมายก็คือ การสร้างความสัมพันธ์อย่างหนึ่ง แน่นอนในตัวเราเองก็มีจิตวิญญาณและภายหลังจากเราได้ตายไปจิตวิญญาณของเราก็ยังคงดำอยู่ เพียงแต่ว่าการดำรงอยู่ของจิตวิญญาณของเรากับพวกเขามีความแตกต่างกันเล็กน้อยอัล-กุรอานกล่าวถึงจิตวิญญาณของพวกเขาว่า พวกเขาได้รับปัจจัย ณ พระผู้อภิบาลของพวกเขา ส่วนจิตวิญญาณของเรานั้นเมื่อเดินทางไปยังโลกนั้นแล้วไม่อาจรับรู้ได้เลยว่าจะเป็นอย่างไร และมีสภาพการเป็นอยู่อย่างไร? จากสิ่งที่กล่าวมาทำให้เข้าใจได้ว่าเรามีตำแหน่งที่เป็นรัศมีอยู่ตำแหน่งหนึ่ง ซึ่งอยู่เหนือการจินตนาการของเรา แม้ว่าเราจะพยายามใช้สมองที่เล็กเพียงนิดเดียวคิดอย่างไรก็ตามเราไม่อาจเข้าใจได้อย่างเด็ดขาด ดังนั้นเป็นการดีให้เราพูดว่ารัศมีของอัลลอฮฺ (ซบ.) ได้สร้างรัศมีอื่นอีกมากมายให้รายรอบอยู่เหนือบัลลังก์ของพระองค์ก่อนการสร้างโลกและจักรวาล ซึ่งการมีอยู่ของสรรพสิ่งอื่นได้เกิดขึ้นเพราะรัศมีของพวกเขา ดังที่ริวายะฮฺทั้งสุนีย์และชีอะฮฺได้รายงานว่า ท่านศาสดากับท่านอะมีรุลมุอ์มินีนเป็นนูรฺ (รัศมี) เดียวกันพระองค์อัลลอฮฺได้สร้างนูรฺนี้ก่อนสร้างท้องฟ้าและแผ่นดิน และนูรฺนี้เองได้ถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนที่ไขสันหลังของอับดุลมุฏ็อลลิบ หนึ่งในสองนูรฺนั้นได้ตกไปอยู่ในไขสันหลังของอับดุลลอฮฺ ทำให้เกิดท่านศาสดา และอีกนูรฺหนึ่งได้ตกไปอยู่ที่ไขสันหลังของอบูฏอลิบทำให้เกิดท่านอิมามอะลี
อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงสร้างสวรรค์จากรัศมีของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) แม้กระทั่งแผ่นบันทึกและปากกา (เลาฮินมะห์ฟูซ) แผ่นบันทึกซึ่งริวายะฮฺกล่าวว่า การกำหนดทั้งหมดของอัลลอฮฺ (ซบ.) ได้บันทึกอยู่ในนั้น คำตัดสินของพระองค์ได้ถูกบันทึกโดยปากกาไว้บนแผ่นบันดังกล่าว ได้ถูกสร้างมาจากรัศมี (นูรฺ) ของอหฺลุลบัยตฺ (อ.) อัล-กุรอานเมือกล่าวถึง รูหุลอามีน ซึ่งบางตับซีรฺกล่าวว่า บุคคลที่มีอำนาจยิ่งใหญ่ (ญิบรออีลอะมีน) ได้สอนเขา (علمه شديد القوى) ผู้เป็นร่อซูลที่มีเกียรติ ร่อซูลอามีนที่อยู่ ณ บัลลังก์ของอัลลอฮฺ (ซบ.) สถานที่ของเขาอยู่ ณ อัลลอฮฺ และรูหุลอามีนนี้เองที่มีเกียรติและมีความยิ่งใหญ่ ริวายะฮฺกล่าวว่า ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้เห็นแก่นการสร้างที่แท้จริงของเขาหลายต่อหลายครั้ง ริวายะฮฺกล่าวว่า
... و روح القدس فى جنان الصاقوره ذاق من حدائقنا الباكوره
เรามีตำแหน่งและสวนต่าง ๆที่เต็มไปด้วยผลไม้ ซึ่งรูหุลอามีนได้อยู่ในสวนนั้นและนูรฺได้ฉายส่องครอบคลุมผลไม้
รูหุลอามีนผู้มีความยิ่งใหญ่ นูรฺของเขาได้ครอบคลุมอยู่เหนือผลไม้แห่งครอบครัวของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) แน่นอนเราจะไม่กล่าวถึงกระแสรายงานของหะดีษเพราะหะดีษลักษณะเช่นนี้มีอยู่มากในริวายะฮฺของเรา แต่สิ่งที่เราต้องการกล่าวถึงคือ มีอยู่สิ่งหนึ่งที่อยู่ในอีกมิติหนึ่งที่อยู่เหนือความเข้าใจของเรา อัล-กุรอานกล่าวว่า
الم ذ لك الـكتـب لا ريب فيه هدى للمتقين الذين يومنون بالغيب
อลีฟ ลาม มีม (พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงยิ่งใหญ่ ผู้ทรงอุบัติคัมภีร์ด้วยพยัญชนะธรรมดา) คัมภีร์นี้ไม่มีความสงสัยใด ๆในนั้น เป็นคำแนะนำสำหรับบรรดาผู้ยำเกรงคือบรรดาผู้ศรัทธาต่อสิ่งเร้นลับ (หมายถึงสิ่งทั้งหลายที่อยู่เหนือความรู้สึก หรือควมรู้สึกธรรมดาไม่อาจสัมผัสได้)
นักอรรถาธิบายอัลกุรอานบางท่านอธิบายว่า โองการดังกล่าวหมายถึงการมีอยู่ของท่านอิมามซะมาน (อ.) แก่นของความแตกต่างระหว่างผู้ศรัทธากับผู้ปฏิเสธคือ ผู้ศรัทธาจะไม่ยึดติดกับการมองเห็น หรือความรู้สึกเพียงอย่างเดียว สมมติว่ายึดถือความรู้สึกเพียงอย่างเดียวแน่นอนเราต้องปฏิเสธแม้แต่เรื่องของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งปัญหาของพวกบนีอิสรออีลก็คือสิ่งนี้ พวกเขาพูดว่า โปรดแสดงพระเจ้าให้พวกเราได้เห็นพวกเราจะไม่ศรัทธาต่อท่านอย่างแน่นอน นอกเสียจากว่าท่านจะเปิดเผยพระเจ้าให้เราได้เห็น พวกเขาไม่ได้มีความเชื่อต่อสิ่งที่เร้นลับ พวกเขาคิดว่าสิ่งใดก็ตามที่มนุษย์ไม่สามารถมองเห็นได้ก็ไม่ควรเชื่อถือสิ่งนั้น และทฤษฎีนี้ได้กลายเป็นความเชื่อของสังคมในยุคปัจจุบัน ฉะนั้นเราสามารถหลีกเลี่ยงทฤษฎีดังกล่าวได้โดย ในขั้นแรกการมีความเชื่อต่อสิ่งที่เร้นลับ และรับรู้ไว้ว่ามีอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่เราไม่รู้จักและสัมผัสไม่ได้ แต่ถ้าเราไม่เชื่อสิ่งเหล่านี้เท่ากับว่าเรายังไม่ได้เข้ามาสู่เขตแดนของการมีความศรัทธาเลยแม้แต่นิดเดียว ขณะที่มีริวายะฮฺและโองการมากมายกล่าวถึง บรรดาอหฺลุลบัยตฺ (อ.) ซึ่งโองการและริวายะฮฺเหล่านั้นได้กล่าวว่า บรรดาอหฺลุลบัยตฺนั้นมีฐานันดรสูงส่ง ซึ่งเราไม่สามารถเข้าใจได้และถ้าเข้าใจ เราก็ไม่อาจเข้าถึงหรือเป็นเจ้าของฐานันดรนั้นได้อย่างเด็ดขาด ตำแหน่งของอิมามและการมีอยู่ของอิมามมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบการกำหนดกฎเกณฑ์และการสร้างของอัลลอฮฺ (ซบ.) เพียงแต่ว่าความเข้าใจของเราเกี่ยวกับเรื่องนี้นั้นมีน้อยมาก อย่างไรก็ตามมีบางคนประสงค์ที่จะเข้าใจเรื่องราวเกี่ยวกับศาสดาอีซา (อ.) และอะอิมมะฮฺ (อ.) ก็ประสบปัญหาเรื่องความสุดโต่งทางความเชื่อ
วันหนึ่งท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ชี้ไปที่ท่านอิมามอะลี (อ.) และกล่าวว่า หากฉันไม่กลัวว่ามุสลิมจะเข้าใจอะลีผิดเหมือนกับที่พวกยะฮูดีเข้าใจท่านศาสดาอีซา (อ.) ผิดแล้วละก็ฉันจะพูดถึงความประเสริฐของอะลีให้พวกท่านฟังจนกระทั่งประชาชนจะนำฝุ่นใต้ฝ่าเท้าของเขาไปเป็นชะฟาอะฮฺ ฉันเกรงว่าประชาชนจะคิดว่าอะลีนั้นเป็นพระเจ้า เพราะพวกเราไม่รู้พระเจ้าดีพอเมื่อเห็นใครมีอำนาจบารมีเช่นนั้นก็คิดว่าเขาต้องเป็นพระเจ้าแน่นอน
อย่างไรก็ตาม การรู้จักอิมามของคนทั่วไปเฉกเช่นเราที่มีทั้งประชาชนทั่วไปและคนโง่เขลา ซึ่งการไปถึงยังตำแหน่งการรู้จักนั้นยังต้องพึ่งพิงขั้นตอนอื่น ๆอีกมากมายและทุกคนก็รู้จักไปตามพื้นฐานความอดทนและการขวนขวายของตนเอง แน่นอนถ้าเขาเดินไปบนแนวทางที่ถูกต้องเขาต้องรู้จักแน่นอน เราเคยคิดบ้างไหมว่าการตะวัสสุลกับท่านศาสดา (ศ็อลฯ) และบรรดาอหฺลุลบัยตฺ (อ.) ไม่มากก็น้อยมีประชาชนทั่วไปยอมรับแม้แต่ในหมู่ของอหฺลิซซุนนะฮฺเองก็ตาม ซึ่งในบางครั้งพวกเขาได้กล่าวถึงอหฺลุลบัยตฺในสิ่งที่พวกเราไม่เคยได้ยินด้วยซ้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำพูดเกี่ยวกับท่านหญิ่งฟาฏิมะฮฺ (อ.) หรือประโยคที่กล่าวว่า ขอความสันติพึงประสบแด่ท่านโอ้อบาซอลิห์ อัลมะฮฺดีย์ โปรดช่วยเหลือพวกเรา (السلام عليك يا إباصالح المهدى إدركنى) มีประชาชนมากมายได้กล่าวประโยคนี้และได้เห็นผลลัพธ์ของมัน ขณะที่เขาได้เดินหลงทางกลางทะเลทรายเขาได้พบหนทางของเขา, เมื่อเขาเผชิญกับภยันตรายเขาได้รับการช่วยเหลือ, เขาได้ยินเสียงเหล่านี้ และตอบอย่างไร ? เจ้าของเสียงได้แยกแยะเสียงอย่างไร มันมาจากไหน และพวกเขาต้องการอะไร ?
คำถามเหล่านี้เองที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวว่า ถ้าหากฉันได้ตอบคำถามของพวกเขา ฉันเกรงว่าพวกเขาจะคิดเหมือนกับพวกนัศรอนีทั้งหลายที่คิดกับท่านศาสดาอีซา (อ.)
พวกเราจะสลามท่านศาสดาทุกวันในนามซต่าง ๆ อัสลามุอะลัยกะอัยยุฮันนะบี.. (ขอความสันติพึงประสบแด่ท่าน โอ้ท่านศาสดา) สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงคำพูดที่เอื้อนเอ่ยออกจากปากโดยไม่มีผู้รับฟังอย่างนั้นหรือ ?
เงื่อนไขของนมาซกล่าวว่าเมื่อลืมปฏิบัติบางอย่างที่ไม่ใช่รุกุ่นของนมาซ เมื่อทำนมาซเสร็จแล้วให้ทำสัจญ์ดะฮฺสะฮฺวีย์ เพื่อเป็นการต่อเติมสิ่งที่ได้หลงลืมไป ขณะที่ในสัจญ์ดะฮฺสะฮฺวีย์นั้นเราได้กล่าวสลามแก่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) สิ่งที่ได้ถูกกำหนดให้ปฏิบัติไม่ได้มีเจตนาหรือมีเป้าหมายดอกหรือ ?
สิ่งสำคัญที่ต้องกล่าวคือมีหลายอย่างเกี่ยวกับบุคคลเหล่านี้ที่เรายังไม่รู้และไม่เข้าใจจำเป็นต้องเรียนรู้และศึกษาต่อไป แน่นอนเราไม่อาจศึกษารายละเอียดของทุกคนจากตำราทั้งหมดได้ แต่ถ้าเราได้พิจารณาจากริวายะฮฺจะพบว่าไม่มีสิ่งใดเป็นที่สงสัยต่อไปอีก
การมีอยู่ของอิมามไม่ใช่เพียงแค่ทำหน้าที่อธิบายอหฺกามเท่านั้นเพราะคำพูดของท่านเป็นหุจญัติ (เหตุผล) หรือเป็นวาญิบสำหรับบรรดาผู้นำองค์กรต่าง ๆต้องปฏิบัติตามเท่านั้น สิ่งนี้เป็นเพียงรูปลักษณ์ภายนอกและเป็นพื้นฐานเบื้องต้นของอีมาน
ที่มา www.al-shia.org
แสดงความเห็น