สงครามในภูมิภาคเกิดจากความขัดแย้งทางการเมือง ไม่ใช่หลักความเชื่อทางนิกาย!

สงครามต่างๆและความขัดแย้งที่มีอยู่ในภูมิภาคเกิดจากความขัดแย้งทางการเมือง ไมใช่สงครามระหว่างชีอะฮ์และซุนนี ” ซึ่งคำพูดนี้มาจากอยาตุลลอฮ์ กุมมีย์ (นักปราชญ์ของอิหร่าน)ที่ได้เล่าประโยคคำพูดของอยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี ผู้นำสูงสุดแห่งอิหร่าน

 

sputniknews – “สงครามต่างๆและความขัดแย้งที่มีอยู่ในภูมิภาคเกิดจากความขัดแย้งทางการเมือง ไมใช่สงครามระหว่างชีอะฮ์และซุนนี ” ซึ่งคำพูดนี้มาจากอยาตุลลอฮ์ กุมมีย์ (นักปราชญ์ของอิหร่าน)ที่ได้เล่าประโยคคำพูดของอยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี ผู้นำสูงสุดแห่งอิหร่านที่ได้กล่าวไว้ในการเข้าพบของประธานาธิบดีออสเตรีย

 

เขาได้เล่าว่า “เมื่อประธานาธิบดีออสเตรียเข้าพบผู้นำการปฏิวัติอิสลาม จึงได้ถามผู้นำการปฏิวัติอิสลามว่า ท่านมีความพยายามที่จะมีการเสวนากับศาสนาอื่น ๆ หรือไม่ ? ผู้นำการปฏิวัติอิสลามกล่าวตอบว่า ใช่ เรามีความพยายามในเรื่องนี้ นับจากเริ่มแรกของการปฏิวัติอิสลามเราได้พยายามอย่างต่อเนื่องที่จะมีการเสวนากับศาสนาอื่น ๆ ประธานาธิบดีออสเตรียกล่าวว่า ทำไมพวกท่านไม่พูดคุยเสวนากับซุนนีและนิกายอื่นๆในอิสลามเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งในตะวันออกกลาง ?  ผู้นำการปฏิวัติอิสลามกล่าวว่า ในความคิดของเรานั้นเกี่ยวกับนิกายอิสลามไม่มีคำว่า “เรื่องอื่น ” ทั้งหมดล้วนเป็นพี่น้องกัน และไม่มีความแตกต่างระหว่างชาวมุสลิม ความขัดแย้งในเอเชียตะวันตกไม่ได้เกิดจากความขัดแย้งระหว่างซุนนีและชีอะฮ์ แต่เป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากปัญหาทางการเมือง  บุคคลจำนวนมากคิดว่าสงครามในภูมิภาคเกิดจากความขัดแย้งระหว่างซุนนีและชีอะฮ์ “แต่ถ้าคุณมองไปที่แผนที่สงคราม ก็จะพบว่าสงครามเหล่านี้เกิดขึ้นตามคำพูดของผู้นำการปฏิวัติอิสลาม ที่กล่าวว่า “สงครามทั้งหมดเกิดจากกลไกที่ถูกวางโดยระบอบล่าอานานิคมในภูมิภาคเพื่อให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ทางการเมืองของตัวเอง”

 

เรื่องราวของความขัดแย้งระหว่างอิหร่านและซาอุดิอาระเบียสามารถย้อนกลับไปเมื่อหลายศตวรรษที่ผ่านมาและไม่ใช่ว่าเพิ่งจะเกิดในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่ถ้าย้อนกลับไปที่ประวัติศาสตร์ก็จะสังเกตเห็นว่าความขัดแย้งที่เกิดขึ้นอยู่เสมอนั้นด้วยเหตุผลที่ว่าชาติยุโรปโดยเฉพาะอย่างยิ่งอังกฤษต้องการที่จะครอบงำภูมิภาคและเพื่อสามารถปกครองในภูมิภาคนี้จึงเสี้ยมให้เกิดความขัดแย้งระหว่างชีอะฮ์และซุนนี เพื่อหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งความเป็นปฏิปักษ์ต่อกันในภูมิภาค

 

เมล็ดพันธุ์ที่พวกเขาหว่านในช่วงเวลาดังกล่าว ในวันนี้ก็กลายเป็นต้นไม้ที่แข็งแรงซึ่งมันเป็นเรื่องยากมากที่จะโค่นและกำจัดมันได้ แต่ดั่งที่กล่าวไปข้างต้นมันเป็นสิ่งที่เพียงพอในการสรุปประเด็นดังกล่าวด้วยการมองแผนที่ของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในภูมิภาค

 

ในซีเรียและอิรักสงครามระหว่างรัฐบาลกลางกับศัตรูความขัดแย้งภายในซึ่งจะประกอบด้วยทหารรับจ้างต่างประเทศ

 

กองกำลังทหารซีเรียมากกว่าร้อยละแปดสิบเป็นชาวซุนนี  ดังนั้นหากเกิดสงครามในซีเรียระหว่างชีอะฮ์และซุนนี บรรดาทหารเหล่านี้อยู่ส่วนไหนของความขัดแย้ง?

 

ในอิรักมีชาวซุนนีประมาณครึ่งหนึ่งของกองทัพอิรักและแม้กระทั่งกองกำลังที่นิยมเรียกกันว่า “Alhshd shaabi” ซึ่งเดิมทีเป็นของชีอะฮ์นั้นในวันนี้ก็ได้มีชาวซุนนี ชาวคริสต์และชาวยาซีดีย์ ( Yazidis )เข้าร่วมด้วย

 

ชาวเคิร์ดในอิรักซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นซุนนี

 

ในเยเมนมากกว่าครึ่งหนึ่งของกองทัพเยเมนและกลุ่มอันศอรุลเลาะฮ์นั้นนับถือมัศฮับซุนนีและมีเพียงหนึ่งในกลุ่มของผู้เข้าร่วมที่มีจำนวนน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของกองกำลังอัลเฮาซีย์

 

ไม่ทราบว่าซาอุดิอาระเบียยึดพื้นฐานอันใดในการก่อสงครามของพวกเขากับกลุ่มอัลเฮาซีย์ เพราะขีปนาวุธตะวันตกและระเบิดที่ระเบิดอยู่ในมือของอัลเฮาซีย์หรือ  ครั้นเมื่อพวกเขาถล่มและโจมตีทางอากาศพวกเขาก็ไม่เคยแยกแยะว่าถล่มเฉพาะอัลเฮาซีย์ และสร้างความเสียหายให้กับอัลเฮาซีย์เท่านั้นซึ่งไม่รวมซุนนี

 

ความขัดแย้งในลิเบียไม่ได้เกิดจากชีอะฮ์ แต่เกิดจากกลุ่มหนึ่งที่โปรตุรกีและกาตาร์และอีกฝ่ายหนึ่งโปรซาอุดีอาระเบียและยูเออีซึ่งทั้งสองได้มีการเผชิญหน้ากันและทำสงคราม

 

ในประเทศอิสลามอื่น ๆก็เช่นกัน

 

ในขณะเดียวกันสงครามต่างๆที่เกิดขึ้นในภูมิภาคถูกสรุปว่าเกิดจากความขัดแย้งและข้อพิพาทระหว่างอิหร่านและซาอุดีอาระเบีย แต่ความเป็นจริงแล้วรากเหง้าของความขัดแย้งเหล่านี้เกิดจากความขัดแย้งในหมู่ชาติอาหรับเอง

 

หลังจากการล่มสลายของออตโตมัน ชาติอาหรับมีความคิดที่แตกต่างกันในการเลือกรูปแบบการปกครองของพวกเขา พวกเขาควรจะพร้อมใจกันในรูปแบบรัฐรวมหรือไม่ และการขาดความเป็นผู้นำที่แข็งแกร่งทำให้ชาติอาหรับต้องเผชิญกับความท้าทายครั้งใหม่ที่ร้ายแรง

 

อาจจะกล่าวได้ว่ายกเว้นอียิปต์ประเทศเดียวซึ่งก่อนการล่มสลายของรัฐออตโตมันมีรัฐบาลและการปกครองที่เป็นเอกเทศ ส่วนประเทศอาหรับอื่น ๆ ตกอยู่ภายใต้อาณานิคมและไม่พบเห็นระบบใดๆในการปกครอง

 

การปรากฏตัวอย่างโดดเด่น เช่น กามาลอับเดลนัสเซอร์ – ฮาฟิส อัลอัสซาด – ซัดดัม – มุฮัมมาร์ กัดดาฟี – เบนเบลล่าและ Bouteflika ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นชาตินิยมทำให้พื้นที่สำหรับประเทศอาหรับในอ่าวเปอร์เซียไม่สามารถเปิดโอกาสให้มีการจัดตั้งรัฐบาลการปกครองระบบแบบดั้งเดิมได้ และชาวอาหรับทั่วไปต่างจะชื่นชมและนิยมในตัวกามาล อับเดลนัสเซอร์

 

ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นแม้แต่อียิปต์และซาอุดีอาระเบียทำสงครามกันในเยเมน

 

หลังจากการปฏิวัติในหลายประเทศอาหรับ ในแอฟริกาเหนือและการล่มสลายของบุคคลที่อาจจะทำการยืนหยัดต่อต้านแผนการของซาอุดิอาระเบีย ทำให้ซาอุดิอาระเบียคาดคิดว่ามันเป็นโอกาสและช่วงเวลาสำหรับพวกเขาที่จะเป็นผู้นำของประเทศอาหรับและประเทศอิสลาม

 

ความผิดพลาดของพวกเขาคือการเป็นผู้นำในประเทศอาหรับนั้นต้องเผชิญกับการต่อต้านของชาติอาหรับนิยม อีกทั้งพวกเขาก็ยังไม่ได้ออกจากสนามแห่งนี้ ด้วยเหตุนี้ในวันนี้อียิปต์ – แอลจีเรียและซีเรีย จึงได้ยืนหยัดต่อสู้ในประเด็นการเป็นผู้นำของซาอุดีอาระเบียที่มีเหนือประเทศอาหรับ

 

ในกรณีของรัฐอิสลามที่ถูกชี้นำโดยซาอุดีอาระเบียนั้นมันเป็นประเด็นที่นอกเหนือไปจากนี้ เพราะตุรกี – อิหร่านและปากีสถานก็ถูกเพิ่มเข้าสู่กระแสนี้ด้วย และนอกเหนือจากบางประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามในภูมิภาคเอเชียตะวันออกแล้วก็ไม่มีชาติใดให้การยอมรับและเห็นด้วยในการเป็นผู้นำของซาอุดิอาระเบียพร้อมกันนั้นยังถือว่าชาติตัวเองยังมีเหมาะสมและคู่ควรที่จะเป็นผู้นำด้วยซ้ำไป

 

ด้วยเหตุนี้เองซาอุดิอาระเบียจึงต้องลงทุนและกระโจนตัวเองเข้าสู่การเผชิญหน้าในทุกสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง

 

ซาอุฯ คิดว่าเนื่องจากอิหร่านเป็นประเทศชีอะฮ์ซึ่งสามารถที่จะขับอิหร่านออกไปจากวงจรสนามแห่งการแข่งขันนี้ ด้วยการโฆษณาชวนเชื่อแห่งของความแตกต่างทางศาสนาของพวกเขาและพยายามที่จะวาดภาพให้ตนเป็นผู้นำของซุนนี ที่พยายามจะไล่ชีอะฮ์ออกไปจากดินแดนของพวกเขา

 

กระนั้นก็ตามพวกเขาก็ได้ล้มเหลวในขั้นตอนแรก

 

ในเรื่องนี้เราไม่อาจที่จะมองข้ามความคิดของลัทธิวะฮาบี โดยเฉพาะอย่างยิ่งซาอุดิอาระเบียที่คาดคิดว่าด้วยความคิดและอุดมการณ์ของวะฮาบีและสาลาฟีนั้นจะสามารถที่รวบรวมพี่น้องซุนนีให้เข้าอยู่ภายใต้ร่มธงของพวกเขา

 

แต่เราได้เห็นแล้วว่าประเทศส่วนใหญ่ที่เป็นซุนนีก็ไม่ได้ตกหลุมพรางอันนี้ของซาอุดิอาระเบีย อีกทั้งยังสามารถขจัดแผนของซาอุดิอาระเบียได้อีกด้วย

 

ในความเป็นจริงทั้งหมดได้ตระหนักและเข้าใจว่าเป้าหมายต่อไปของซาอุดีอาระเบียคือการทำลายพวกเขา

 

วันนี้ซาอุดิอาระเบียได้ทุ่มศักยภาพและทรัพยากรทางการเงินของตนทำให้เกิดความขัดแย้งในหมู่มุสลิมทั่วทุกย่อมหญ้า และเป็นที่แน่ชัดว่าทรัพยากรทางการเงินนั้นมันมีวันที่สิ้นสุด

 

สามารถกล่าวได้ว่าสงครามในภูมิภาคนี้อาจจะจบสิ้นลงก็ต่อเมื่อผู้นำซาอุดิอาระเบียเข้าใจว่าพวกเขาไม่ได้อยู่ที่ตำแหน่งของความเป็นผู้นำของประเทศอิสลามหรือชาติอาหรับหรือแม้กระทั่งการที่จะเป็นผู้รับผิดชอบในระดับภูมิภาคและต้องมุ่งมั่นที่จะรักษาประเทศของพวกเขาเองและอย่าเข้าไปยุ่งในกิจการของประเทศอื่น ๆเพราะประเทศอาหรับหรือประเทศที่นับถือศาสนาต่างๆก็ไมยอมรับพวกเขาในฐานะผู้นำโลกอิสลาม

 

ที่มา - abnewstoday.com

แสดงความเห็น