“ตุรกี” เป็นมิตรหรือศัตรูกับ “ไอซิส”กันแน่!

นักเขียนชื่อดังชาวอาหรับ ได้วิเคราะห์แรงจูงใจในทิศทางการเปลี่ยนแปลงของยุทธ์ศาสตร์ตุรกี ในเชิงความสัมพันธ์กับกลุ่มก่อการร้ายไอซิส และข้อเท็จจริงในการเปลี่ยนแปลงยุทธ์ศาสตร์ครั้งนี้  

“ตุรกี” เป็นมิตรหรือศัตรูกับ “ไอซิส”กันแน่!

 

 

สำนักข่าวทีวีชีอะฮ์ ฝ่ายข่าวต่างประเทศ รายงาน

เพรสทีวี – นักเขียนชื่อดังชาวอาหรับ ได้วิเคราะห์แรงจูงใจในทิศทางการเปลี่ยนแปลงของยุทธ์ศาสตร์ตุรกี ในเชิงความสัมพันธ์กับกลุ่มก่อการร้ายไอซิส และข้อเท็จจริงในการเปลี่ยนแปลงยุทธ์ศาสตร์ครั้งนี้

 

อับดุลบารี อัตวาน  นักเขียนชื่อดังเชื้อสายปาเลสไตน์  ได้เขียนบทวิเคราะห์ตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ รัสเซียทูเดย์  กรณีท่าทีและจุดยืนล่าสุดของตุรกี จากการที่บุกโจมตีฐานที่มั่นของกลุ่มก่อการร้ายไอซิสทางภาคเหนือของซีเรีย

 

การเปลี่ยนแปลงยุทธ์ศาสตร์ที่มีต่อไอซิสครั้งนี้ มีขึ้นหลังจากที่ไอซิสบุกกราดยิงเมืองตากอากาศ แห่งหนึ่งในตุรกี ทำให้มีนักท่องเที่ยวเสียชีวิต 32   ราย

 

โดยผู้เสียชีวิตทั้งหมดเป็นสมาชิกของสมาคมเยาวชนสังคมนิยม ซึ่งได้มีการชุมนุมเพื่อระดมทุนสำหรับการฟื้นฟูเมืองโคบานีของซีเรียที่ถูกกลุ่มก่อการร้ายไอซิสทำลาย

 

เขาชี้ว่า  การเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายของอังการา เป็นสิ่งที่อันตรายมาก  และเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคง ความปลอดภัยและเศรษฐกิจของตุรกี

 

เขากล่าวเสริมว่า  ช่วงนี้ตุรกีอาจเห็นการเพิ่มขึ้นในการโจมตีของผู้ก่อการร้ายในดินแดนของตนรวมทั้งในพื้นที่ของการท่องเที่ยว   ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นเหล่านี้อาจจะกลายเป็นวิกฤติเศรษฐกิจของตุรกีที่จะตามมา

 

ก่อนหน้านี้ อังการา คัดค้านกาขึ้นบัญชีไอซิสเป็นกลุ่มก่อการร้าย   อีกทั้งตุรกียังถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้สนับสนุนกลุ่มก่อการร้ายอาวุธและให้การฝึกอบรมทักษะการต่อสู้อีกด้วย

 

แม้นว่านโยบายล่าสุดของตุรกีมีการเปลี่ยนแปลง  แต่ขณะเดียวกันตุรกีก็ยังไม่ลดละความพยายามช่วยเหลือกลุ่มก่อการร้ายเพื่อที่จะโค่นล้มรัฐบาลของบาชาร์อัล-อัสซาด  แห่งซีเรีย

 

เขากล่าวเสริมว่า บางทีการกระทำที่ผ่านมาของตุรกีนั้นก็เพื่อตอบสนองความต้องการของมหาอำนาจตะวันตกที่ต่อต้านตุรกีในการเป็นชาติสมาชิกยุโรป

 

อัตวาน กล่าวเสริมว่า  ตุรกียังได้แสดงเจตจำนงในการจัดตั้งเขตห้ามบินที่มีระยะทาง ถึง  90 กิโลเมตรตามแนวชายแดนกับประเทศซีเรีย    ตามประเด็นที่มีการหารือล่าสุดระหว่างอังการาและวอชิงตันในเรื่องนี้ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการตั้งเขตปกครองพิเศษของกลุ่มก่อการร้ายชาวเคิร์ด

 

เขากล่าวทิ้งท้ายว่า  ตุรกีกำลังเผชิญกับภัยคุกคามและความไร้เสถียรภาพภายใน ผนวกกับพรรคแกนนำของอุรดุฆอน ล้มเหลวในการเลือกตั้ง ที่ไม่สามารถครองเสียงข้างมากของจำนวนเสียงในการเลือกตั้งที่ผ่านมา และจะต้องจัดตั้งรัฐบาลร่วมกับพรรคอื่นๆ

 

ที่มา www.abnewstoday.com

แสดงความเห็น