อรรถาธิบายซูเราะฮฺอัลฟาติฮะฮ์ อายะฮฺที่ ๕

อรรถาธิบายซูเราะฮฺฟาติฮะฮ์ อายะฮฺที่ ๕

اِيَّاكَ نَعْبُد وَاِيَّاكَ نَسْتَعِيْنُ

ความหมาย:

“ (โอ้ อัลลอฮฺ)เฉพาะพระองค์เท่านั้นที่เราเคารพภักดีและเฉพาะพระองค์เท่านั้นที่เราขอความช่วยเหลือ”

:คำอธิบาย
 ในท่ามกลางบรรยากาศของการตั้งภาคีในทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการตั้งภาคีที่เกิดขึ้นในจิตใจเช่นความปรารถนาและอารมญ์ใฝ่ต่ำหรือการตั้งภาคีในรูปของอำนาจต่าง ๆ เช่น ผู้ปกครองทื่อยุติธรรมนักบวชหรีอนักพรตนั้น เราจะต้องผินหน้ามุ่งตรงไปยังอัลลอฮฺ (ซบ.)และเคารพภักดีเฉพาะพระองค์เท่านั้นอีกทั้งเราจะต้องขอความช่วยเหลือจากพระองค์แต่เพียงผู้เดียว

การเพ่งพินิจและใคร่ครวญถึงคุณลักษณะต่าง ๆ แห่งความกรุณาปรานีความเมตตา การอภิบาลและการเป็นผู้ทรงสิทธิของอัลลอฮฺ (ซบ.)นั้นก่อให้เกิดความรักต่อพระองค์ขึ้นในจิตใจของมนุษย์จนในที่สุดผู้เป็นที่รักก็ได้กลายเป็นผู้ที่คู่ควรต่อการเคารพภักดีและเพื่อความรอดพ้นจากการตั้งภาคีในรูปแบบดังกล่าวข้างต้นเราจะต้องพึ่งพิงและขอความคุ้มครองต่อผู้เป็นศูนย์รวมของพลังอำนาจและความเป็นเอกะ

ในนมาซขณะที่ผู้นมาซอ่านอายะฮฺนี้ ประหนึ่งว่าเขากำลังกล่าวแทนผู้ศรัทธาทั้งหลายว่าโอ้อัลลอฮฺลำพังข้าพระองค์แต่เพียงผู้เดียวนั้นไม้คู่ควรที่จะทำการเคารพภักดีอันเหมาะสมใดๆ ได้เลยเเต่ทว่าเราทุกคนล้วนเป็นบ่าวของพระองค์ลำพังข้าพระองค์แต่เพียงผู้เดียวนั้นไม่มีคุณค่าใด ๆ เลยแต่ทว่าเราทุกคนล้วนขอความช่วยเหลือจากพระองค์ ดังนั้นจึงเห็นได้วาพื้นฐานของการนมาซคือการปฏิบัติรวมกันเป็นหมู่คณะ(ญะมาอะฮฺ)

ในอายะฮฺต่าง ๆ ก่อนหน้านี้ของซูเราะฮฺฟาติหะ เราได้รับรู้ถึงเอกภาพ องอัลลอฮฺ (ชบ.) ในเชิงทฤษฎี และในเชิงเหตุผลไปแล้วส่วนในอายะฮฺนี้เราจะเรียนรู้ถึงเอกภาพของอัลลอฮฺ (ซบ.)ในด้านการเคารพภักดีและการปฏิบิตเพื่อที่ว่าในการเคารพภักดีและการขอความช่วยเหลือนั้นเราจะได้ไม่ผินหน้าไปหาผู้อื่นนอกจากอัลลอฮฺ (ซบ.)ไม่กลายเป็นทาสของตะวันออกและตะวันตก ไม่กลายเป็นทาสของทรัพย์สมบัติอำนาจและผู้ปกครองที่อยุติธรรมทั้งหลาย แต่ทว่าเราจะกลายเป็นบ่าวของอัลลอฮฺ (ซบ.)แต่เพียงพระองค์เดียว

โดยเหตุผลและการตัดสินของสติปัญญานั้นมนุษย์จำต้องยอมรับการเป็นบ่าวของอัลลอฮฺ (ซบ.) ทั้งนี้เนื่องจากมนุษย์รักความสมบูรณ์อีกทั้งปรารถนาที่จะได้รับการอภิบาลและการพัฒนาไปสู่ความสมบูรณ์ และอัลลอฮฺ (ซบ. ) ทรงครอบคลุมความสมบูรณ์ทั้งมวลอีกทั้งทรงเป็นพระผู้อภิบาลของสรรพสิ่งทั้งหลายหากมนุษย์ต้องการความรักและความเมตตา พระองค์ก็คือ ผู้ทรงกรุณาปรานียิ่งผู้ทรงเมตตาเสมอ หากมนุษย์ห่วงใยต่ออนาคตอันยาวไกลของตนพระองค์ก็คือเจ้าของและผู้ทรงสิทธิ์ในวันนั้นดังนั้นด้วยเหตุผลใดเล่าที่มนุษย์จะหันไปหาผู้อื่นนอกจากอัลลอฮฺ (ซบ.)แน่นอนที่สุดสติปัญญาของมนุษย์ย่อมจะตัดสินว่าเฉพาะพระองค์เท่านั้นที่เราจะต้องเคารพภักดีและขอความช่วยเหลือ

บทเรียนและประเด็นสำคัญจากอายะฮฺ

๑.ก่อนอื่นใดเราจะต้องตอบสนองสิทธิของอัลลอฮฺ (ซบ.)ด้วยการทำความเคารพภักดีเป็นอันดับแรกหลังจากนั้นจึงขอในสิ่งที่ต้องการอัล-กุรอานกล่าวว่า

اِيَّاكَ نَعْبُد وَاِيَّاك نَسْتَعِيْن

๒. เรามิได้เคารพภักดีพระองค์เนื่องจากคำสัญญา (ด้วยรางวัลตอบแทน)หรือการเตือนสำทับ (ด้วยการลงโทษ) และมิใช่เนื่องจากความหวาดกลัวหรือความโลภแต่ทว่าเนื่องจากเหตุผลที่พระองค์ทรงคู่ควรต่อการเคารพภักดี พระองค์คืออัลลอฮฺ (ซบ.) ผู้ทรงกรุณาปรานียิ่ง ผู้ทรงเมตตาเสมอ ผู้อภิบาลและผู้ทรงสิทธิเราจึงเคารพภักดีพระองค์

๓. เราแสวงหาความช่วยเหลือจากพระองค์เท่านั้นและการกระทำดังกล่าวก็ด้วยกับสื่อของการเคารพภักดีที่พระองค์ทรงอนุมัติไว้และเราจะเป็นผู้ต่อต้านคัดค้านต่อการขอความช่วยเหลือและการแสวงหาความใกล้ชิดพระองค์ด้วยสิ่งที่เป็นความเพ้อฝันและเป็นเท็จ

๔. กฎเกณฑ์และสูตรต่าง ๆ ทางธรรมชาติที่ครอบคลุมอยู่เหนือทุกสรรพสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ละเมิดไม่ได้ แต่ทว่าเรามิได้เป็นผู้ยอมจำนนและเป็นเชลยของสิ่งเหล่านั้นเราถือว่าเจตนารมณ์ของอัลลอฮฺ (ซบ.) ครอบคลุมเหนือกฏเกณฑ์ทั้งมวลและกฎเกณฑ์เหล่านั้นอยู่ภายใต้การควบคุมของพระองค์ (๑)

๕. แม้ว้าการเคารภักดี (อิบาดะฮฺ) จะเป็นหน้าที่ของเราก็ตามแต่ทว่าในการปฏิบัตินั้น เราจำต้องได้รับการช่วยเหลือจากพระองค์ อัล-กุรอานกล่าวว่า

وَمَاكُنَّا لِنَهْتَدِىَ لَوْلا اَنْ هَدَانَاللّهُ(๒)

๖. (เมื่อผู้นมาซอ่านอายะฮฺนี้ประหนึ่ง)บ่าวที่กำลังยืนอย่างนอบน้อมถ่อมตนต่อหน้านายผู้มีอำนาจสิทธิขาดโดยสมบูรณ์ของเขาพร้อมกับกล่าวว่า "ข้าพระองค์เป็นเพียงบ่าวส่วนพระองค์เท่านั้นที่เป็นนายของข้าพระองค์

"
๗.โอ้ อัลลอฮฺ ข้าพระองค์ไม่มีผู้ใดนอกจากพระองค์ส่วนพระองค์นั้นทรงมีสิ่งอื่นนอกจากข้าพระองค์อย่างล้นเหลืออีกทั้งสรรพสิ่งทั้งมวลล้วนเป็นข้าทาสของพระองค์ อัล-กุรอานกล่าวว่า

اِن كُلُّ مَنْ فِى السَّمَاوَاتِ وَالأَرْضِ اِلاَّ آتِى الرَّحْمنِ عَبْداً(๓)

ความว่า "ไม่มีผู้ใดในฟากฟ้าและแผ่นดินนอกเสียจากว่าเขาจะเป็นบ่าวและผู้ปฏิบัติตามคำบัญชาของพระผู้ทรงเมตตา"

๘.หากมนุษย์ไม่เคารพภักดีพระองค์แต่เพียงผู้เดียวแล้วเขาย่อมจะกลายเป็นทาสของอารณ์ใฝ่ต่ำอย่างแน่นอนอัล-กุรอานกล่าวว่า

 مَنِ اِتَّخَذَ اِلَهَهُ هَوَاهُ(๔)


๙.ผู้ใดที่กล่าวว่า ایاک نعبد อย่างจริง เขาจะไม่ยโสโอหังและก่อกบฏต่ออัลลอฮ์


๑๐. เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเมตตาต่อเราอย่างล้นเหลือ เราจึงแสดงความนอบน้อมถ่อมตนอย่างดีที่สุดต่อพระองค์    اِيِّاكَ نَعْبُدُ(๕)

๑๑. เราจะต้องเข้าร่วมอยู่ในกลุ่มของผู้มีคุณธรรม เพื่อที่จะสามารถกล่าวว่า  اِيَّاك نَعْبُدُ อย่างบริสุทธิ์ใจร่วมกับพวกเขาได้
๑๒. ประโยคที่ว่า نَعْبُدُซึ่งหมายถึง "เราทำการเคารพภักดี"นั้นชี้ให้เห็นว่านมาซควรจะทำในรูปของหมู่คณะ (ญะมาอะฮฺ)อีกทั้งยังแสดงให้เห็นอีกเช่นกันว่ามวลมุสลิมเป็นพี่น้องกันและอยูในระดับชั้นเดียวกัน

๑๓.اِيَّاكَ نَعْبُدُوَاِيَّاك نَسْتَعِيْنُชี้ให้เห็นว่ามนุษย์มิใช่ผู้ที่ถูกกำหนดชะตากรรมไว้โดยปราศจากอำนาจเลือกสรรใด ๆ ในการกระทำของตน และมิใช่ผู้ที่มีเสรีภาพอย่างสมูรณ์ทั้งนี้เนื่องจากเมื่อเรากล่าวว่า نَعْبُدُซึ่งหมายถึง "เราทำการเคารพภักดี" นั้น ชี้ให้เห็นว่าเรามีเจตนารมณ์เสรีและอำนาจเลือกสรร และเมื่อเรากล่าวว่าنَسْتَعِيْنُ ซึ่งหมายถึง "เราขอความช่วยเหลือ" ชี้ให้เห็นว่าเราจำต้องพึ่งพาอัลลอฮฺ (ซบฺ)เนื่องจากการมีอยู่ของตัวเราพละกำลังในการเคลื่อนไหวและแม้กระทั่งอำนาจเลือกสรรของเรานั้นล้วนเป็นพระประสงค์และเจตนารมณ์ของอัลลอฮฺ (ซบ.) ทั้งสิ้น

๑๔. เนื่องจากรากฐานหลักคืออัลลอฮฺ (ซบ.)ส่วนการเคารพภักดี และการขอความช่วยเหลือของเราคือแขนงและผลปลีกย่อยของรากฐานดังกล่าวดังนั้นاِيَّاكَซึ่งหมายถึง (เฉพาะพระองค์เท่านั้น) จึงอยู่ก่อนหน้าنَعْبُدُและنَسْتَعِيْن

ดังนั้นท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า "ฉันไม่เห็นสิ่งใดเลยนอกเสียจากว่าจะเห็นอัลลอฮฺอยู่ก่อนหน้าสิ่งนั้น

๑๕. บ่าวที่ปรากฏตัวอยู่ (ต่อหน้านายของตน) ย่อมได้รับประโยชน์ก่อนผู้อี่น ดังนั้นด้วยกับคำว่า اِيَّاكَ

ซึ่งเป็นสรรพนามบุรุษที่๒ (ผู้ที่เราพูดด้วย) นั้นเราจะรู้สึกว่าตนเองปรากฏตัวอยู่ ณ เบื้องพระพักตร์ของอัลลอฮฺ (ซบ.)และวอนขอการชี้นำทางจากพระองค์ทั้งนี้เนื่องจากการวอนขอของผู้ที่ปรากฏตัวอยู่นั้นย่อมมีผลมากกว่า

๑๖. มารยาทที่เหมาะสมในการเข้าใกล้ชิดอัลลอฮฺ (ซบ.)คือการเข้าใกล้ชิดอย่างเป็นลำดับขั้นตอน ดังนั้นในเบื้องแรกเราจึงต้องกล่าวว่า "อัลลอฮฺคือพระผู้อภิบาล ผู้ทรงสิทธิ ผู้ทรงกรุณาปรานียิ่ง และผู้ทรงเมตตาเสมอหลังจากนั้นจึงกล่าวว่า เฉพาะ

๑๗. ลำดับขั้นตอนของการเติบโตและการพัฒนาของจิตวิญญาณประกอบด้วย การสรรเสริญการสร้างสายสัมพันธ์ และการขอพร (ดุอาอฺ)ดังนั้นในตอนต้นซูเราะฮฺฟาติหะจึงเป็นการสรรเสริญ อายะฮฺเป็นการสร้างสายสัมพันธ์ส่วนอายะฮฺต่าง ๆ หลังจากนั้นเป็นการขอพร (ดุอาอฺ)
๑๘.เนื่องจากการสนทนากับคนรักที่แท้จริงคือความหวานชื่น ดังนั้นคำว่า

نَعْبُد ซึ่งบ่งชี้ถึงคนรักที่แท้จริงนั้นจึงถูกกล่าวซ้ำในอายะฮ
اِيَّاك نَعْبُدُوَاِيَّاك نَسْتَعِيْنُ
๑๙. ในตอนต้นซูเราะฮฺฟาติหะ เราจะรับรู้และคุ้นเคยกับคุณลักษะต่าง ๆของอัลลอฮฺ (ซบ.) อย่างเป็นลำดับและค่อย ๆ เข้าใกล้ชิดพระองค์ในที่สุด  اِيَّاكَ
เพราะเหตุใด

اِيَّاك نَعْبُدُจึงถูกกล่าวไว้ก่อนหน้า  اِيَّاكَ نَسْتَعِيْنُ
๑. เนื่องจากพระประสงค์ของอัลลอฮฺ (ซบ.) มีความสำคัญเหนือความต้องการของปวงบ่าวด้วยเหตุนี้การเคารพภักดี (อิบาดะฮฺ) ซึ่งเป็นพระประสงค์ของอัลลอฮฺ (ซบ.) (เพื่อการบรรลุ ความสมบูรณ์ของมนุษย์)จึงมีลำดับความสำคัญเหนือกว่าการขอความช่วยเหลือซึ่งเป็นความต้องการของมนุษย์

๒. เนื่องจากการเคารพภักดี (อิบาดะฮฺ) เป็นสื่อกลางของการขอความช่วยเหลือ ดังนั้นประโยคاِيَّاك نَعْبُدُจึงอยู่ก่อนหน้า اِيَّاكَ نَسْتَعِيْنُ
๓. การให้ความสำคัญต่อความไพเราะของถ้อยคำ ถือเป็นคุณค่าประการหนึ่ง ด้วยเหตุนี้اِيَّاك نَسْتَعِيْنُจึงถูกกล่าวไว้หลังاِيَّاك نَعْبُدُเพื่อที่คำท้ายอายะฮฺต่าง ๆของซูเราะฮฺฟาติหะจะได้กลมกลืนและคล้องจองกันแต่ถ้าหากอายะฮฺทั้งสองข้างต้นสลับที่กันลีลาและท่วงทำนองดังกล่าวจะสูญเสียไป

เชิงอรรถ
๑.ในระบบของการสร้างสรรค์เราได้รับประโยชน์จากมูลเหตุปัจจัยและสื่อกลางต่าง ๆมากมายแต่เราต่างทราบดีว่าการมีผลหรือการไร้ผลของทุก ๆมูลเหตุ และทุก ๆสื่อกลางนั้นอยู่ในอำนาจของพระองค์พระองค์ทรงเป็นทั้งผู้กำหนดให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นมูลเหตุและสื่อกลางอีกทั้งทรงสามารถยับยั้งผลของมันได้ด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่นพระองค์ทรงกำหนดให้ไฟเป็นมูลเหตุของความร้อน และเผาไหม้แต่พระองค์ทรงยับยั้งผลของมันมิให้ทำอันตรายใด ๆ ต่อท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.)
๒. "พวกเราจะไม่ได้รับการชี้นำอย่างแน่นอน หากอัลลอฮฺ มิทรงชี้นำพวกเรา" (อัล- อะอฺรอฟ ๔๓)
๓. ชูเราะฮอัล - มัรยัม ๙๓
๔.ซูเราะฮฺ อัล-ฟุรกอน ๔๓
๕. "เฉพาะพระองค์เท่านั้นที่เราทำการเคารพภักดี"
๖. หมายถึง การเกิดขึ้นและการตำรงอยู่ของทุกสรรพสิ่ง นั้น จำเป็นด้องพึ่งพาต่อการมีอยู่ของอังลอฮ์(ซ.บ ) และเจตนารมณ์ของพระองค์ในทุกขณะ

ที่มาเว็บไซต์อิสลามซอรซ์

แสดงความเห็น