๔๐ หะดีษจากท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ตอนที่ ๑


๔๐ หะดีษจากท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ตอนที่ ๑

๑.ความประเสริฐของผู้ใฝ่หาความรู้

مَنْ سَلَكَ طَريقًا يَطْلُبُ فيهِ عِلْمًا سَلَكَ اللّهُ بِهِ طَريقًا إِلَى الْجَنَّةِ... وَ فَضْلُ الْعالِمِ عَلَى الْعابِدِ كَفَضْلِ الْقَمَرِ عَلى سائِرِ النُّجُوم لَيْلَةَالْبَدْرِ

ศาสดามูฮัมหมัด (ศ็อลฯ)ได้กล่าว่า บุคคลใดก็ตามได้เดินทางบนหนทางที่เป็นการถวิลหาความรู้ อัลลอฮฺจะทรงนำเขาไปสู่หนทางที่ไปสู่สวรรค์ นักปราชญ์นั้นย่อมมีความประเสริฐกว่าผู้เคร่งครัด ดุจดังเช่นที่เดือนจันทร์วันเพ็ญเจิดจรัสกว่าหมู่ดวงดาวทั้งหลาย.

หมายเหตุ อาบิดหมายถึงผู้ที่เคร่งครัดในการปฏิบัติตามคำสั่งสอนของศาสนา โดยไม่ใยดีกับสิ่งอื่นๆ เหมือนพวกฤๅษีบำเพ็ญศีลทั้งหลาย


๒.การใฝ่หาศาสนาของชนชาวอีหร่าน

لَوْ كانَ الدِّينُ عِنْدَ الثُّرَيّا لَذَهَبَ بِهِ رَجُلٌ مِنْ فارْسَ ـ أَوْ قَالَ ـ مِنْ أَبْناءِ فارْسَ حَتّى يَتَناوَلَهُ

ศาสดามูฮัมหมัด (ศ็อลฯ)ได้กล่าว่า มาตรว่าศาสนานั้นอยู่ถึงดาวลูกไก่ ชายหนุ่มแห่งเปอร์เซีย (ลูกหลานแห่งเปอร์เซีย) จะไปนำเอามันมา


๓. ชาวอีหร่านเป็นผู้ถวิลหาอีมาน

إِذا نَزَلَتْ عَلَيْهِ(صلى الله عليه وآله وسلم) سُورَةُ الْجُمُعَةِ، فَلَمّا قَرَأَ: وَ آخَرينَ مِنْهُمْ لَمّا يَلْحَقُوا بِهِمْ. قَالَ رَجُلٌ مَنْ هؤُلاءِ يا رَسُولَ اللّهِ؟ فَلَمْ يُراجِعْهُ النّبِىُّ(صلى الله عليه وآله وسلم)، حَتّى سَأَلَهُ مَرَّةً أَوْ مَرَّتَيْنِ أَوْ ثَلاثًا. قالَ وَفينا سَلْمانُ الفارْسىُّ قالَ فَوَضَعَ النَّبِىُّ يَدَهُ عَلى سَلْمانَ ثُمَّ قالَ: لَوْ كَانَ الاِْيمانُ عِنْدَ الثُّرَيّا لَنالَهُ رِجالٌ مِنْ هؤُلاءِ

เมื่อซุเราะฮฺญุมุอะฮฺ ได้ถูกประทานลงมาแก่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ท่านได้อ่านโองการที่ว่า “และกลุ่มชนอื่น ๆ ในกลุ่มพวกเขาที่จะติดตามมาภายหลังจากพวกเขา” وَآخَرِينَمِنْهُمْلَمَّايَلْحَقُوابِهِمْ ได้มีผู้ท่านศาสดาว่า พวกเขาเป็นใครหรือโอ้ท่านศาสดา ท่านศาสดาไม่ได้ตอบเขาจนกระทั่งเขาได้ถามอีกเป็นครั้งที่สองและสาม รอวีได้พูดว่า ในหมู่พวกเรานั้นมี ซัลมาน อัลฟารซีอยู่ขณะนั้นท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้เอามือไปแตะที่ไหล่ของท่านซัลมาล พร้อมทั้งกล่าวว่ามาตรว่าอีมาน (ความศรัทธา) จะอยู่ถึงดาวลูกไก่ลูกหลานของซัลมานก็จะเป็นผู้ไปนำเอามันมา”

 

๔. ผู้ที่ได้รับชะฟาอะฮฺ (การอนุเคราะห์พิเศษ)

أَرْبَعَةٌ أَنَا الشَّفيعُ لَهُمْ يَوْمَ القِيمَةِ: مُعينُ أَهْلِ بَيْتى. : وَ الْقاضى لَهُمْ حَوائِجَهُمْ عِنْدَ مَا اضْطُرُّوا إِلَيْهِ. : وَ الُْمحِبُّ لَهُمْ بِقَلْبِهِ وَ لِسانِهِ: وَ الدّافِعُ عَنْهُمْ بِيَدِهِ.

ศาสดามูฮัมหมัด (ศ็อลฯ)ได้กล่าว่า ฉันจะให้ชะฟาอะฮฺกับคนสี่กลุ่มในวันกิยามะฮฺ ซึ่งได้แก่..

(๑) ผู้ที่ให้การช่วยเหลืออหฺลุลบัยตฺของฉัน

(๒) ผู้ที่ตอบสนองความต้องการของพวกเขาในยามที่พวกเขาเดือดร้อน

(๓) ผู้ที่รักอหฺลุลบัยตฺของฉันทั้งใจและวาจา

(๔) ผู้ที่ปกป้องอหฺลุลบัยตฺของฉันด้วยมือและการกระทำของเขา

หมายเหตุ อะหฺลุลบัยตฺ หมายถึงทายาทชั้นใกล้ชิดของท่านศาสดา ไม่ได้หมายรวมครอบครัวทั้งหมดของท่านศาสดาตามความหมายของโองการที่กล่าวว่า..“อันที่จริงอัลลอฮฺพึงประสงค์ที่จะขจัดมลทินออกไปจากพวกเจ้า โอ้อหฺลุลบัยตฺ และทรง (ประสงค์) ที่จะขัดเกลาพวกเจ้าให้สะอาดบริสุทธิ์” (๓๓/๓๓)

หลังจากโองการดังกล่าวได้ถูกประทานลงมามีศ่อฮาบะฮฺ ๙ ท่านได้รายงานว่า ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ขณะที่ออกจากบ้านเพื่อไปนมาซศุบฮิที่มัสญิดท่านจะไปแวะที่บ้านของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (อ.) และกล่าวว่า.

السلام عليكم يااهل البيت إِنَّمَا يُرِيدُ اللَّهُ لِيُذْهِبَ عَنكُمُ الرِّجْسَ أَهْلَ الْبَيْتِ وَيُطَهِّرَكُمْ تَطْهِيرًا

 

“ขอความสันติจงมีแด่พวกเธอ โอ้บรรดาอหฺลุลบัยตฺ อันที่จริงอัลลอฮฺพึงประสงค์ที่จะขจัดมลทินออกไปจากพวกเจ้า โอ้อหฺลุลบัยตฺ และทรง (ประสงค์) ที่จะขัดเกลาพวกเจ้าให้สะอาดบริสุทธิ์”

ท่านฏ็อบรอนี รายงานไว้ใน มัจมะอฺ จากอบีสอีด คุดรีย์ ตอนอธิบายโองการ “อันที่จริงอัลลอฮฺพีงประสงค์ที่จะขจัดมลทินให้ออกไปจากพวกเจ้าโอ้อหฺลุลบัยตฺ ทรงขจัดเจ้าให้สะอาดอย่างแท้จริง” ว่าโองการดังกล่าวได้ลงให้กับคน ๕ คนคือท่านรอซูล อะลี ฟาฏิมะฮฺ ฮะซัน และฮุซัยนฺ

نزلت في خمسة : في الرسول وعلي وفاطمة واحسن والحسين


๕. หลักเกณฑ์ในการตอบรับการกระทำ

لا يُقْبَلُ قَوْلٌ إِلاّ بِعَمَل وَ لا يُقْبَلُ قَوْلٌ وَ لا عَمَلٌ إِلاّ بِنِيَّة وَ لا يُقْبَلُ قَوْلٌ وَ لا عَمَلٌ وَ لا نِيَّةٌ إِلاّ بِإِصابَةِ السُّنَّةِ

ศาสดามูฮัมหมัด (ศ็อลฯ)ได้กล่าว่า อัลลอฮฺไม่ทรงตอบรับคำพูดใดนอกจากต้องมีการปฏิบัติ ไม่ทรงตอบรับคำพูดและการปฏิบัติใดนอกจากต้องมีเจตนาบริสุทธิ์ และไม่ทรงตอบรับคำพูด การปฏิบัติพร้อมเจตนาที่บริสุทธิ์ใดๆ นอกจากต้องถูกต้องตรงกับแบบฉบับของฉัน


๖. คุณลักษณะชาวสวรรค์

أَلا أُخْبِرُكُمْ بِمَنْ تَحْرُمُ عَلَيْهِ النّارُ غَدًا؟ قيلَ بَلى يا رَسُولَ اللّهِ.

فَقالَ: أَلْهَيِّنُ الْقَريبُ اللَّيِّنُ السَّهْلُ

ศาสดามูฮัมหมัด (ศ็อลฯ)ได้กล่าว่า พวกท่านปรารถนาให้ฉันแนะนำบุคคลที่ไฟนรกเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับพวกเขาไหม มาตรว่าวันพรุ่งนี้เป็นวันสิ้นโลก ได้พูดว่า พวกเราปรารถนาแน่นอนโอ้ศาสดาแห่งอัลลอฮฺ ท่านได้กล่าวว่า ได้แก่คนที่มีความหนักแน่น และมีความเมตตากรุณา

๗. สัญลักษณ์ของผู้กดขี่

عَلامَةُ الظّالِم أَرْبَعَةٌ: يَظْلِمُ مَنْ فَوْقَهُ بِالْمَعْصِيَةِ، وَ يَمْلِكُ مَنْ دُونَهُ بِالْغَلَبَةِ، وَ يُبْغِضُ الْحَقَّ وَ يُظْهِرُ الظُّلْمَ

ศาสดามูฮัมหมัด (ศ็อลฯ)ได้กล่าว่า สัญลัษณ์ของผู้กดขี่มีสี่ประการได้แก่..

(๑) ทำการดกขี่ผู้ที่ตนเองอยู่เหนือเขาด้วยการทำความผิดบาป

(๒) ทำการกดขี่ผู้ที่อยู่ใต้บังคบบัญชาด้วยการออกคำสั่ง

(๓) เป็นปรปักษ์กับสัจธรรมความจริง

(๔) เปิดเผยความอธรรม


๘. สาขาของความรู้ศาสนา

إِنَّمَا الْعِلْمُ ثَلاثَةٌ: آيَةٌ مُحْكَمَةٌ أَوْ فَريضَةٌ عادِلَةٌ أَوْ سُنَّةٌ قائِمَةٌ وَ ما خَلاهُنَّ فَهُوَ فَضْلٌ

ศาสดามูฮัมหมัด (ศ็อลฯ)ได้กล่าว่า แท้จริงความรู้ศาสนานั้นมีสามประการ ถ้าสิ่งอื่นที่นอกเหนือจากนี้ถือว่าเป็นความประเสริฐ ได้แก่

(๑) อายะฮฺมุหฺกะมะฮฺ (โองการที่ชัดเจนอันหมายถึง ความรู้เกี่ยวกับหลักความศรัทธา)

(๒) ฟะรีเฎาะฮฺ อาดิละฮฺ (จุดประสงค์คือความรู้ด้านจริยศาสตร์)

(๓) ซุนนะฮฺ กออิมมะฮฺ (จุดประสงค์คือความรู้ด้านอหฺกามกฎเกณฑ์การปฏิบัติต่างๆ)

๙.คำวินิจฉัยที่ไม่ได้ออกมาจากผู้รู้

مَنْ أَفْتى النّاسَ بِغَيْرِ عِلْم... فَقَدْ هَلَكَ وَ أَهْلَكَ

ศาสดามูฮัมหมัด (ศ็อลฯ)ได้กล่าว่า บุคคลใดก็ตามได้ออกคำวินิจฉัยแก่ประชาชนโดยไม่ได้มาจากพื้นฐานความรู้ เท่ากับเขาได้ทำให้ตัวเองและคนพบกับความหายนะ


๑๐.ศีลอดที่แท้จริง

أَلصّائِمُ فى عِبادَة وَ إِنْ كانَ فى فِراشِهِ ما لَمْ يَغْتَبْ مُسْلِمًا

ศาสดามูฮัมหมัด (ศ็อลฯ)ได้กล่าว่า การถือศีลอด-เป็นดำรงอิบาดะฮฺแม้ว่าจะอยู่บนเตียงนอนก็ตาม-ถ้าเขาไม่ได้นินทาพี่น้องมุสลิมด้วยกัน


๑๑.ความประเสริฐของเดือนรอมฎอน

شَهْرُ رَمضانَ شَهْرُ اللّهِ عَزَّوَجَلَّ وَ هُوَ شَهْرٌ يُضاعَفُ فيهِ الْحَسَناتُ وَ يَمْحُو فيهِ السَّيِّئاتُ وَ هُوَ شَهْرُ الْبَرَكَةِ وَ هُوَ شَهْرُ الاِْنابَةِ وَ هُوَ شَهْرُ التَّوبَةِ وَ هُوَ شَهْرُ الْمَغْفِرَةِ وَ هُوَ شَهْرُ الْعِتْقِ مِنَ النّارِ وَ الْفَوْزِ بِالْجَنَّةِ أَلا فَاجْتَنِبُوا فيهِ كُلَّ حَرام وَ أَكْثِرُوا فيهِ مِنْ تِلاوَةِ الْقُرآنِ

ศาสดามูฮัมหมัด (ศ็อลฯ)ได้กล่าว่า เดือนรอมฎอนเป็นเดือนของอัลลอฮฺผู้ทรงอานุภาพยิ่ง เดือนที่คุณความดีทั้งหลายได้รับความเพิ่มพูน ความผิดบาปได้รับการลบล้าง เดือนที่มีความจำเริญ เดือนแห่งการกลับไปสู่อัลลอฮฺ เดือนแห่งการกลับตัวกลับใจในความผิดบาป เดือนแห่งการให้อภัยโทษเดือนแห่งเสรีภาพจากไฟนรกและการย่างก้าวไปสู่สรวงสวรรค์ ดังนั้นในเดือนนี้จงหลีกเลี่ยงจากความผิดบาปทั้งมวล และอ่านอัล-กุรอานให้มาก.


๑๒. สัญลักษณ์ของผู้มีความอดทน

عَلامَةُ الصّابِرِ فى ثَلاث:أَوَّلُها أَنْ لا يَكْسَلَ،و الثّانِيَةُ أَنْ لا يَضْجَرَ،وَ الثّالِثَةُ أَنْ لا يَشْكُوَ مِنْ رَبِّهِ عَزَّوَجَلَّ. لاَِنـَّهُ إِذا كَسِلَ فَقَدْ ضَيَّعَ الْحَقَّ،وَ إِذا ضَجِرَ لَمْ يُؤَدِّ الشُّكْرَ،وَ إِذا شَكى مِنْ رَبِّهِ عَزَّوَجَلَّ فَقَدْ عَصاهُ

ศาสดามูฮัมหมัด (ศ็อลฯ)ได้กล่าว่า สัญลักษณ์ของผู้ที่มีความอดทนมีสามประการดังนี้..

(๑) ต้องไม่แสดงความเกียจคร้าน

(๒) ต้องไม่แสดงความรำคาญขุ่นเคือง

(๓) ต้องไม่แสดงความข้องใจหรือกล่าวหาพระผู้อภิบาลของเขา

เพราะเมื่อใดที่เกียจคร้านสัจธรรมความจริงจะถูกทำลาย เมื่อมีความรำคาญเขาก็จะไม่ทำการขอบคุณ และเมื่อเขาข้องใจต่อพระผู้อภิบาลของเขา เขาก็จะทำความผิดบาป.


๑๓. ชั่วที่สุดของชาวนรก

إِنَّ أَهْلَ النّارِ لَيَتَأَذُّونَ مِنْ ريحِ الْعالِمِ التّارِكِ لِعِلْمِهِ وَ إِنَّ أَشَدَّ أَهْلِ النّارِ نِدامَةً وَ حَسْرَةً رَجُلٌ دَعا عَبْدًا إِلَى اللّهِ فَاسْتَجابَ لَهُ وَ قَبِلَ مِنْهُ فَأَطاعَ اللّهَ فَأَدْخَلَهُ اللّهُ الْجَنَّةَ وَ أَدْخَلَ الدّاعِىَ النّارَ بِتَرْكِهِ عِلْمَهُ

ศาสดามูฮัมหมัด (ศ็อลฯ)ได้กล่าว่า แท้จริงนักปราชญ์ ที่ไม่ปฏิบัติตามความรู้ของตนเอง ถือเป็นชาวนรกที่ชั่วที่สุด ชาวนรกที่สำนึกและลำบากที่สุดคือผู้ที่เชิญชวนคนอื่นไปสู่อัลลอฮฺ และบุคคลนั้นได้ตอบรับ และทำการเชื่อฟังปฏิบัติตามอัลลอฮฺ พระองค์จะทรงนำเขาเข้าสวรรค์ ส่วนผู้ที่ทำการเชิญชวนพระองค์จะจับเขาโยนลงไปในไฟนรก เพราะเขาไม่ปฏิบัติตามความรู้ของตน.

 

แสดงความเห็น