อะหลุลบัยตฺในอัลกรุอาน ตอนที่1
อะหฺลุลบัยตฺในอัลกุรอาน ซุนนะฮฺ และประวัติศาสตร์
ตอนที่ 1
๑.โองการที่ ๓๓ ซูเราะฮฺอะหฺซาบ กล่าวถึงความบริสุทธิ์ของอะหฺลุลบัยตฺ (อ.) ในฐานะของผู้ที่เป็นมะฮฺซูมปราศจากความผิดบาปตามรายงานของท่านหญิงอุมุสะละมะฮฺ ซึ่งท่านหญิงได้ขอต่อท่านศาสดา เพื่อเข้าร่วมอยู่ในผ้ากิซานั้นด้วย แต่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ตอบกับท่านหญิงว่า “เธออยู่ในที่ๆดีอยู่แล้ว”ตรงนี้เป็นความพิเศษเฉพาะพวกเราห้าคน
กลุ่มศ่อฮาบะฮฺที่รายงานว่าโองการข้างต้นได้ถูกประทานให้กับบุคคลทั้งห้า ซึ่งเป็นริวายะฮฺมุตะวาติรฺได้แก่ท่านสะอฺ บิน อบีวะกอศ, อนัสบินมาลิก, อิบนุอับบาส, อบูสอีดคุดรีย์, อุมะริบนิอบูสะละมะฮฺ, วาซิละฮฺ บินอัสเกาะอฺ, อับดุลลอฮฺ บินญะฮฺฟัรฺ, อบูหัมรอฮิลาล, อาอิชะฮฺ, อุมมุสะละมะฮฺ, อบูฮุรอยเราะฮฺ, มุอักกิล บินยะซารฺ, อบูฏุฟัยล์, ญะฟะริบนิ หับบาน, หุบัยเราะฮฺ, อบูบัรฺซะฮฺ อัสลัมมี,และมิกดารฺบินอัสวัด ความว่า..
إِنَّمَا يُرِيد ُاللَّهُ لِيُذْهِبَ عَنكُمُ الرِّجْسَ أَهْلَ الْبَيْتِ وَيُطَهِّرَكُم ْتَطْهِيرًا
“อันที่จริงอัลลอฮฺพึงประสงค์ที่จะขจัดมลทินออกไปจากพวกเจ้า โอ้อหฺลุลบัยตฺ และทรง (ประสงค์) ที่จะขัดเกลาพวกเจ้าให้สะอาดบริสุทธิ์”
หลังจากโองการดังกล่าวได้ถูกประทานลงมามีศ่อฮาบะฮฺ ๙ ท่านได้รายงานว่า ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ขณะที่ออกจากบ้านเพื่อไปนมาซศุบฮิที่มัสญิดท่านจะไปแวะที่บ้านของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (อ.) และกล่าวว่า.
السلام عليكم يااهل البيت إِنَّمَا يُرِيد ُاللَّهُ لِيُذْهِبَ عَنكُمُ الرِّجْسَ أَهْلَ الْبَيْتِ وَيُطَهِّرَكُم ْتَطْهِيرًا
“ขอความสันติจงมีแด่พวกเธอ โอ้บรรดาอหฺลุลบัยตฺ อันที่จริงอัลลอฮฺพึงประสงค์ที่จะขจัดมลทินออกไปจากพวกเจ้า โอ้อหฺลุลบัยตฺ และทรง (ประสงค์) ที่จะขัดเกลาพวกเจ้าให้สะอาดบริสุทธิ์”
ซึ่งท่านศาสดา (ศ็๋อลฯ) ได้ปฏิบัติเช่นนี้ทุกเช้าจนกระทั่งท่านได้อำจากโลกไป รอวี บางท่านได้กล่าวว่า ฉันอยู่ที่มะดีนะฮฺเป็นเวลานาน ๖ เดือนบางรอวีกล่าวว่า ฉันได้อยู่ ๙ เดือน และบางคนกล่าวว่า ฉันได้อยู่ ๑ ปี ซึ่งฉันได้เห็นท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ปฏิบัติเช่นนั้นทุกวัน
ฉะนั้นจากที่กล่าวมาข้างต้นสรุปได้ว่าโองการดังกล่าวได้ลงให้เฉพาะสมาชิกที่อยู่ที่บ้านของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (อ.) เท่านั้น และการที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ปฏิบัติเช่นนั้นกล่าวคือก่อนไปนมาซท่านได้แวะที่บ้านของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ และกล่าวว่าสลามฯ ดังกล่าวไว้ข้างต้น ท่านศาสดาต้องการบอกว่าเมื่อวานหากใครไม่ได้ยินคำพูดของฉันวันนี้ให้สดับฟังเสีย ถ้าวันนี้ไม่ได้ยินวันพรุ่งนี้ให้ฟังใหม่ หากวันพรุ่งนี้ยังไม่ได้ยินอีก ให้ฟังในวันต่อไป ซึ่งเหล่าบรรดาศ่อฮาบะฮฺทั้งที่พำนักประจำอยู่ที่มะดีนะฮฺ หรือ เดินทางผ่านมา หรือแวะมาเยี่ยมเยือนต่างได้เห็นการปฏิบัติของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กันอย่างถ้วนหน้า
๒. โองการที่ ๒๓ ซูเราะฮฺอัชชูรอ กล่าวถึงสิทธิของความรักที่มวลมนุษย์ต้องมอบให้กับอหฺลุลบัยตฺ (อ.) ทายาทชั้นใกล้ชิด (กุรฺบา) ของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ตามบัญชาของอัลลอฮฺ เพราะเป็นสิ่งเดียวที่ท่านได้ขอจากอัลลอฮฺ (ซบ.) เพื่อเป็นรางวัลในการประกาศสารธรรมของพระองค์นั้นคือ ความรักที่มีต่อทายาทชั้นใกล้ชิด หมายถึงเฉพาะความรักที่มีต่อทายาทของท่านศาสดาเท่านั้นที่สามารถเป็นรางวัลตอบแทนการงานที่ยิ่งใหญ่ของท่านศาสดาได้ ความว่า
قُل لَّا أَسْأَلُكُمْ عَلَيْهِ أَجْرًا إِلَّا الْمَوَدَّةَ فِي الْقُرْبَى
“จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด ฉันมิได้ขอรางวัลตอบแทนใด ๆ เพื่อการนี้ เว้นแต่เพื่อความรักใคร่ในเครือญาติที่ใกล้ชิด”
มีความเห็นพร้องตรงกันทั้งสุนี และชีอะฮฺว่า โองการดังกล่าวได้ลงให้กับอหฺลุลบัยตฺ (อ.) ท่านอหฺมัด หันบัล ได้บันทึกไว้ในมะนากิบ, ท่านฮาฟิซ อิบนิมุนซัรฺ, ฮาฟิซ อิบนิอบีหาตัม, ฮาฟิซ ฏ็อบรอนี, ฮาฟิซ อิบนิมุรฺดะวียะฮฺ, วาหิดี มุฟัซซิรฺ, ษะอฺละบี มุฟัซซิรฺ, ฮาฟิซอิบรอฮีม, บักวา มุฟัซซิรฺ, ฟะกีฮฺ อิบนุลมะฆอซิลี, ได้รายงานจากท่านอิบนุอับบาสว่า
لما نزلت هذه الآيه قِيل يارسول اللّه من قرابتك هؤلاء الّذين وجبت علينا مودّتهم,فقال:على وفاطمة وابناهما
“เมื่อโองการดังกล่าวได้ถูกประทานลงมา มีผู้ถามท่านศาสดาว่า ใครกันหรือทายาทชั้นใกล้ชิดของท่านที่เป็นวาญิบที่พวกเราต้องรักพวกเขา ? ท่านตอบว่า อะลี ฟาฏิมะฮฺ และบุตรทั้งสองของเขา”
ท่านมุหิบบุดดีน ฏ็อบรีย์ ได้บันทึกไว้ใน ซะคออิรฺ, ซะมัคชะรี ในกัชชาบ, หัมวีนี ในฟะรออิด, นิชาบูรี ในตับซีรฺของท่าน, อิบนุฏ็อลหะฮฺ ชาฟิอี ใน มะฏอลิบุซซุอูล, รอซี ในตับซีรฺของท่าน, อบูสอีด, อบูหัยยาน, และนัซฟีได้บันทึกไว้ในตับซีรฺของท่าน, ฮาฟิซ หัยษัมมี ในมัจมะอฺ, อิบนุ ศับบาฆฺ มาลิกี ในฟุศูล, และฮาฟิซ กันญี ในกิฟายะฮฺ อัฏฏอลิบ, ได้รายงานริวายะฮฺข้างต้นไว้เช่นกัน
ท่านกิสฏ่อลานี ได้บันทึกไว้ใน อัล-มะวาฮิบุล ละดุนนียะฮฺว่า
اَلْزَم اللّه مودّة قُرباه كافةَ بَريّته وفرض مجبّة جُمله اهل بيته المعظّم وذُرّيته فقال تعالى: قُل لَّا أَسْأَلُكُمْ عَلَيْهِ أَجْرًا إِلَّا الْمَوَدَّةَ فِي الْقُرْبَى
“อัลลอฮฺ ทรงกำหนดให้ความรักที่มีต่อทายาทชั้นใกล้ชิดของท่านศาสดาเป็นวาญิบสำหรับทุกคน ซึ่งการเป็นวาญิบในการรักอหฺลุลบัยตฺผู้ทรงเกียรตินั้นทรงตรัสว่าจงกล่าวเถิดมุฮัมมัด ฉันมิได้ขอรางวัลตอบแทนใด ๆ เพื่อการนี้ เว้นแต่เพื่อความรักใคร่ในเครือญาติที่ใกล้ชิด”
ริวายะฮฺดังกล่าว ท่านซัรฺกอนีย์ ได้บันทึกไว้ใน ชัรฺหุลมะวาฮิบ, อิบนุหะญัรฺ ในศ่อวาอิก, ซุยูฏีย์ ในอะหฺยาอุลมัยยิต, อิตติหาด กับ ชับลันญี ในนูรุลอับศอรฺ, และท่านศอบบาน ได้บันทึกไว้ใน อัสอาฟุลรอฆิบีน.
ท่านฮาฟิซ อบูอับดิลลาฮฺ มุลลา ได้บันทึกไว้ในหนังประวัติศาสตร์ของท่านว่า
انّ رسول اللّه قال:انّ الله جعل اجرى عليكم المودة فى اهل بيتى وانّىسائلكم غداعنهم
ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า “แท้จริงอัลลอฮฺได้กำหนดรางวัล (ในการเผยแพร่สาส์นของฉัน) ไว้กับพวกท่านอันได้แก่ความรักที่มีต่ออหฺลุบัยตฺของฉัน ซึ่งฉันจะถามพวกท่านเกี่ยวกับพวกเขาวันพรุ่บนี้ (กิยามะฮฺ)”
หมายวันกิยามะฮฺประชาชาติของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ทั้งหมดต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องนี้
๓.โองการที่ ๖๑ ซูเราะฮฺอาลิอิมรอน กล่าวถึงกลุ่มชนที่เป็นตัวแทนของสัจธรรมในการกล่าวสาบถถึงความสัตย์จริงของอิสลามกับพวกนัศรอนีซึ่งผู้ที่พ่ายแพ้ในวันนี้จะได้รับการสาปแช่งจากอัลลอฮฺในฐานะของผู้อธรรมและพูดโกหก และในวันนั้นท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้พาท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (อ.) ผู้เป็นตัวแทนของสตรี ท่านอิมามอะลี (อ.) ผู้เป็นชีวิตของท่านศาสดา และท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุซัยนฺอยู่ในฐานะบุตรของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ออกไปทำการสาบถก อัลกุร-อานกล่าวว่า
فَمَنْ حَآجَّكَ فِيهِ مِن بَعْدِ مَا جَاءَكَ مِنَ الْعِلْمِ فَقُلْ تَعَالَوْاْ نَدْعُ أَبْنَاءَنَا وَأَبْنَاءَكُمْ وَنِسَاءَنَا وَنِسَاءَكُمْ وَأَنفُسَنَا وأَنفُسَكُمْ ثُمَّ نَبْتَهِلْ فَنَجْعَل لَّعْنَتَ اللّهِ عَلَى الْكَاذِبِينَ
“ดังนั้นผู้ใดที่โต้เถียงเจ้าในเรื่องของเขา (อีซา) หลังจากที่ได้มีความรู้มายังเจ้าแล้ว จงกล่าวเถิดว่า ท่านทั้งหลายจงมาเราก็จะเรียกลูก ๆ ของเรา และลูกของพวกท่านและเรียกบรรดาผู้หญิงของเรา และบรรดาผู้หญิงของพวกท่าน และตัวของพวกเรา และตัวของพวกท่าน และเราก็จะการสาบถกัน (ต่ออัลลอฮฺ) ด้วยความนอบน้อม โดยที่เราจะขอให้การสาปแช่งของอัลลอฮฺ พึงประสบแก่บรรดาผู้ที่พูดโกหก”
ฉะนั้นในเหตุการณ์มุบาฮิละฮฺ เฉพาะครอบครัวของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ตามลำพังที่ได้รับเกียรติดังกล่าว ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าการมุบาฮิละฮฺนั้น เป็นเหตุการณ์ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่ออิสลามจึงต้องใช้ชีวิตเข้าแลก และไม่ได้หมายความว่าผู้ชายหรือผู้หญิงทุกคนสามารถทำได้ เพราะมันเป็นการสาบถและสาปแช่งกัน เฉพาะฝ่ายที่อยู่กับสัจธรรมจริงจึงจะได้รับชัยชนะ ด้วยเหตุนี้ในเหตุการณ์ดังกล่าวท่านศาสดา (ศ็อลฯ) จึงต้องใช้บุคคลที่มีความบริสุทธิ์และเป็นที่รักจริงๆ ของอัลลอฮฺจึงจะบรรลุเป้าหมาย และในวันนั้นจึงไม่พบใครอื่นนอกจากอหฺลุลบัยตฺของท่านเท่านั้น
๔. โองการที่ ๓๗ ซูเราะฮฺบะก่อเราะฮฺ กล่าวถึงสิทธิในการดุาอฺและขอลุแก่โทษต่ออัลลอฮฺ (ซบ.) กล่าวว่า
فَتَلَقَّى آدَمُ مِن رَّبِّهِ كَلِمَاتٍ فَتَابَ عَلَيْهِ إِنَّهُ هُوَ التَّوَّابُ الرَّحِيمُ
“และอาดัมได้เรียนรู้ถ้อยคำจากพระผู้อภิบาลของเขา และพระองค์ทรงอภัยแก่เขา แท้จริงพระองค์คือผู้ทรงนิรโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ”
โองการดังกล่าวได้ระบุถึงเรื่องราวของท่านนบีอาดัม (อ.) ที่ไม่สมควรรับประทานอาหารบางอย่าง แต่ท่านได้รับประทานเข้าไปจึงเป็นสาเหตุทำให้ท่านต้องถูกห้ามจากนิอฺต่างๆเหล่านั้น ต่อมาท่านศาสดาอาดัม ได้สำนึกในความเลินเล่อของท่าน และด้วยเหตุที่ท่านได้สำนึก ท่านจึ่งได้เรียนรู้ถ้อยคำบางอย่างจากอัลลอฮฺ (ซบ.) อันเป็นสาเหตุทำให้การกลับตัวของท่านอาดัม (อ.) ถูกตอบรับ
จากริวายะฮฺทั้งสุนีและชีอะฮฺได้รายงานว่า จุดประสงค์ของถ้อยคำที่ท่านศาสดาอาดัม ได้เรียนรู้และได้ทำการเตาบะฮฺด้วยกับถ้อยคำนั้นคือ การตะวัสซุลไปยังสิ่งถูกสร้างที่ดีและประเสริฐที่สุดของอัลลอฮฺ (ซบ.) นั้นคือท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และอหฺลุบัยตฺของท่าน ดังที่ริวายะฮฺในตับซีรฺ ดุรุลมันษูรฺ ได้บันทึกริวายะฮฺจากท่านอิบนุ อับบาสว่า “ท่านศาสดาอาดัมได้ทำให้การขอขมาของท่านถูกตอบรับ โดยท่านได้สาาบานกับอัลลอฮฺด้วยกับนามและสิทธิ์ดังต่อไปนี้ بحق محمد وعلى وفاطمة والحسن والحسين ด้วยสิทธิของมุฮัมมัด อะลี ฟาฏิมะฮฺ ฮะซัน และฮุซัยนฺ”
บางคนเชื่อว่าจุดประสงค์ของ ถ้อยคำ ในโองการนันคือประโยคที่กล่าวไว้ในซูเราะฮฺอะอฺรอฟที่ว่า
رَبَّنَا ظَلَمْنَا أَنفُسَنَا وَإِن لَّمْ تَغْفِرْ لَنَا وَتَرْحَمْنَا لَنَكُونَنَّ مِنَ الْخَاسِرِينَ
“โอ้พระผู้อภิบาลของเรา พวกเราได้อธรรมแก่ตัวของพวกเราเอง และถ้าพระองค์ไม่ทรงอภัยโทษแก่พวกเรา ไม่เมตตาแก่พวกเราแน่นอนพวกเราก็ต้องกลายเป็นพวกที่ขาดทุน”
๕. โองการที่ ๓ ซูเราะฮฺมาอิดะฮฺ
الْيَوْمَ يَئِسَ الَّذِينَ كَفَرُواْ مِن دِينِكُمْ فَلاَ تَخْشَوْهُمْ وَاخْشَوْنِ الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ وَأَتْمَمْتُ عَلَيْكُمْ نِعْمَتِي وَرَضِيتُ لَكُمُ الإِسْلاَمَ دِينًا
“บรรดาผู้ปฏิเสธต่างหมดหวังในศาสนาของพวกเจ้า ดังนั้นพวกเจ้าจงอย่ากลัวพวกเขา แต่จงกลัวฉันเถิด วันนี้ฉันได้ทำให้สมบูรณ์สำหรับพวกเจ้า ซึ่งศาสนาของพวกเจ้าและฉันได้ทำให้บริบูรณ์แล้วสำหรับพวกเจ้า ซึ่งความโปรดปรานของฉัน และฉันได้เลือกอิสลามให้เป็นศาสนาสำหรับพวกเจ้า”
ริวายะฮฺทั้งสุนีและชีอะฮฺได้กล่าวว่า الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ ได้ถูกประทานลงมาภายหลังจากที่ได้แต่งตั้งท่านอิมามอะลี(อ.)ให้เป็นตัวแทนของท่านศาสดา และดำรงตำแหน่งอิมามเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ณ ฆ่อดีรฺคุม ซึ่งนอกเหนือจากเหตุผลทางหลักฐานแล้วเหตุผลทางสติปัญญาก็บ่งบอกเช่นเดียวกัน เพราะในวันนั้นมีคุณสมบัติพิเศษอยู่ ๔ ประการด้วยกันกล่าวคือ
-เป็นการสิ้นหวังของบรรดาผู้ปฏิเสธทั้งหมด
-เป็นวันที่ศาสนามีความสมบูรณ์
-เป็นวันที่นิอฺมัติของอัลลอฮฺ (ความโปรดปราน)ได้สมบูรณ์
-เป็นวันที่อิสลาม ได้รับเกียรติให้เป็นศาสนาของประชาชาติ เป็นศาสนาที่มีความสมบูรณ์และเป็นที่ยอมรับของพระผู้เป็นเจ้า
และเมื่อเราพิจารณาวันสำคัญต่างๆ ในประวัติศาสตร์จะพบว่าไม่มีวันใดมีความสำคัญเกินไปกว่า วันบิอฺษัต (วันสถาปนาท่านศาสดา) วันอพยพของท่านศาสดา วันเกิดท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ วันที่ได้รับชัยชนะในสงครามต่างๆ วันหัจญะตุลวะดา และวันอื่นๆ ซึ่งวันเหล่านี้มีคุณสมบัติพิเศษต่างๆ มากมายแต่ไม่ได้มีคุณสมบัติพิเศษสี่ประการตามที่กล่าวมา แม้แต่หัจญะตุลวะดา ก็ตามเพราะว่า การหัจญ์เป็นส่วนหนึ่งของศาสนาเท่านั้น ฉะนั้นมีอยู่วันเดียวที่มีคุณสมบัติพิเศษครบทั้งสี่ประการนั้นคือ วันฆ่อดีรฺคุม ซึ่งเป็นวันที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ทำการแต่งตั้งท่านอิมามอะลีให้เป็นตัวแทนของท่าน และเป็นอิมามอย่างเป็นทางการ และวันนี้นั่นเองที่บรรดาผู้ปฏิเสธทั้งหลายต่างสิ้นหวัง รายละเอียดของโองการดังกล่าวจะทำการอธิบายโดยละเอียดอีกครั้ง
๖. โองการที่ ๒๐๗ ซูเราะฮฺบะก่อเราะฮฺ กล่าวถึงการเสียสละของท่านอิมามอะลี (อ.) ในการปกป้องชีวิตของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) โดยการนอนแทนที่ของท่าน ตอนที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้อพยพออกจากมักกะฮฺตามบัญชาของอัลลอฮฺ (ซบ.) เพื่อหลีกเลี่ยงการเข่นฆ่าของพวกปฏิเสธชาวมักกะฮฺ บรรดานักตับซีรฺทั้งหลายได้ลงความเห็นว่าโองการดังกล่าวได้ประทานให้กับท่านอิมามอะลี (อ.)
وَمِنَ النَّاسِ مَن يَشْتَرِي نَفْسَهُ ابْتِغَاء مَرْضَاتِ اللّهِ وَاللّهُ رَؤُوفٌ بِالْعِبَادِ
“และในหมู่มนุษย์นั้นมีผู้ขายชีวิตของเขา ทั้งนี้เพื่อแสวงหาความปราโมทย์จากอัลลอฮฺ และอัลลอฮฺทรงเป็นผู้ปรานีแก่ปวงบ่าวทั้งหลาย”
แสดงความเห็น