อรรถาธิบายซูเราะฮ์อัลฟาติฮะฮ์ อายะฮฺที่ ๓ และ ๔

อรรถาธิบายซูเราะฮ์อัลฟาติฮะฮ์ อายะฮฺที่ ๓ และ ๔


اَلرَّحمنِ الرَّحِيمِ

 

ความหมาย

 (พระผู้เป็นเจ้า)ผู้ทรงกรุณาปรานียิ่ง ผู้ทรงเมตตาเสมอ

คำอธิบาย

 อัลลอฮฺ (ซบ.)ทรงถือเอาความเมตตาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพระองค์อัล-กุรอานกล่าวว่า

كَتَبَ رَبُّكُم عَلَى نَفسِهِ الرَّحمَةَ(๑)

และความเมตตาของพระองค์นั้นครอบคลุมเหนือทุกสรรพสิ่งอัล-กุรอานกล่าวว่า

وَرَحمَتِى وَسِعَت كُلَّ شَىءٍ(๒)

และในทำนองเดียวกันบรรดาศาสดาและคัมภีร์ที่พระองค์ประทานลงมาก็เป็นความเมตตาด้วยเช่นกันرَحمَة لِلَّعَالَمِين (๓)การอภิบาลของพระองค์วางอยู่บนพื้นฐานของความเมตตาและหากพระองค์ทรงลงโทษก็เนื่องจากความกรุณาปรานีของพระองค์ด้วยเช่นกันการอภัยโทษ การตอบรับการสารภาพผิดของปวงบ่าว การปกปิดข้อบกพร่องของปวงบ่าว (จากสายตาของบุคคลอื่น) และการให้โอกาสแก้ตัวต่อพวกเขาเหล่านี้ล้วนเป็นความเมตตากรุณาของพระองค์ทั้งสิ้น

 

บทเรียนและประเด็นสำคัญจากอายะฮ์

 

๑. การอภิบาลของอัลลอฮฺ (ซบ.) วางอยู่บนพื้นฐานของความเมตตาและความกรุณาปรานี (ทั้งนี้เนื่องจากคำว่า اَلرَّحمنได้ถูกกล่าวไว้เคียงข้างคำว่าرَبِّ)
๒. ในทำนองเดียวกันกับที่การอบรมสั่งสอนต้องอาศัยความเมตตาอัล-กุรอานกล่าวว่า

; الرَحمنُ عَلَّمَ القُرآن(๔)

การอภิบาลและการขัดเกลาก็เช่นเดียวกันต้องวางอยู่บนพื้นฐานของความเมตตาด้วยเช่นกัน

رَبِّ العَالَمِين الرَّحمنِ الرَّحِيم(๕)

 

 อ้างอิง

-------------------------------------------

๑. "พระผู้อภิบาลของเจ้าได้ทรงลิขิตให้ความเมตตาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพระองค์" (อัล-อันอาม ๕๔)

๒. "และความเมตตาของข้าครอบคลุมทั่วทุกสรรพสิ่ง" ( อัล-อะอฺรอฟ ๑๕๖)

๓.(นบี) คือ "ความเมตตาสำหรับมนุษยชาติ" ( อัล-อัมบิยาอฺ ๑๐๗)

๔."พระผู้ทรงเมตตา ทรงสอนอัล-กุรอาน (อัร-เราะฮฺมาน ๑-๒)

๕.พระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก ผู้ทรงกรุณาปรานียิ่ง ผู้ทรงเมตตาเสมอ (ฟาติหะ ๒-๓)

 

 

 

ซูเราะฮฺฟาติหะ อายะฮฺที่ ๔

 

مَالِك يَومِ الدِّين

 

ความหมาย


ผู้ทรงสิทธิ์ในวันตอบแทน


คำอธิบาย


 คำว่า ดีนใช้ในความหมายต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

๑. ประมวลข้อบัญญัติ และกฎหมายของอัลลอฮฺ (ซบ.)ดังอายะฮฺที่ว่า

انَّ الدَينَ عِندَاللّهِ الاسلام(๑.)

๒.การปฏิบัติตามและการจงรักภักดี ดังอายะฮฺที่ว่า

لِلّهِ الدّينُ الخالِصُ(๒)

๓.การสอบสวนและการตอบแทนดังอายะฮฺที่ว่า  مَالِك يَوم الدّين

คำว่าيَومِ الدِّين ในอัล - กุรอานหมายถึงวันกิยามะฮฺซึ่งเป็นวันแห่งการโทษและตอบแทนดังอายะฮฺที่กล่าว

يَسئَلُون اَيَّان يَوم الدِّينِ(๓)

ความว่า "พวกเขาจะถามว่าเมื่อใดเล่าที่วันกิยามะฮฺจะอุบัติขึ้น"หรือดังในอายะฮฺหนึ่งที่แนะนำวันกิยามะฮฺไว้ว่า

 

ثُمَّ مَااَدْرَاكَ مايَومُ الدِّين اَلدِّيْنَ يَومَ لاَتَمْلِكُ نَفْسُ لِنَفْسٍ شَيْئًاوَالأَمْرُ يَوْمَئِذٍ لِلَّهِ

ความว่า "สิ่งใดหรือที่ทำให้เจ้ารู้ว่าวันแห่งดีน (กิยามะฮฺ) คือวันอะไรเป็นวันที่ชีวิตหนึ่งไม่มีสิทธิที่จะยังประโยชน์ใดๆ แก่อีกชีวิตหนึ่ง และในวันนั้นการตัดสินและการบัญชาการทั้งหมดเป็นของอัลลอฮฺ"(๔)

ถึงแม้ว่าอัลลอฮฺ (ซบ.) จะเป็นผู้ทรงสิทธิที่แท้จริงเหนือทุกสรรพสิ่งในทุกกาลเวลาก็ตามแตทว่าการมีกรรมสิทธิ์ของพระองค์ในวันกิยามฮฺและวันแห่งการฟื้นคืนชีพนั้นมีลักษณะที่แตกต่างออกไปกล่าวคือในวันกิยามะฮฺสื่อกลางเพื่อการเจรจาไกล่เกลี่ยและสัมพันธภาพต่างๆจะขาดสะบั้นลงดังที่อัล-กุรอานกล่าวว่า

وَتَقَطَّعَتْ بِهِمُ الاَسْبَاب(๕)

สายตระกูลจะสิ้นสุดลง(๖)

فَلاَاَنْسَابَ بَيْنَهُمْ

ทรัพย์สมบัติ และลูกหลานจะไม่อำนวยประโยชน์ใด ๆ(๗)

لاَيَنْفَعُ مَالُ وَلاَ بَنُوْنَ

อีกทั้งเครือญาติก็ไม่อาจอำนวยประชยชน์ใด ๆ ได้เลย(๘)

لَنتَنْفَعَكُمْاَ رْحَامُكٌمْ

และในท้ายที่สุดแม้แต่ลิ้นก็จะไม่ได้รับอนุญาตให้สรรหาถ้อยคำมาแก้ตัวและสมองก็จะไม่มีโอกาสในการวางแผนการใดๆ ทางรอดทางเดียวเท่านั้นที่ยังคงเหลืออยู่นั้นคือความเมตตาของอัลลอฮฺ (ซบ.) ผู้ทรงสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในวันกิยามะฮฺ


บทเรียนและประเด็นสำคัญจากอายะฮ์

๑. อายะฮฺนี้เป็นรูปแบบหนึ่งของการเตือนสำทับแต่ด้วยกับการที่อายะฮฺถูกใช้คู่กับอายะฮฺاَلرَّحْمنِ الرَّحِيْمِจึงทำให้รู้ว่าการแจ้งข่าวดีนั้นจำเป็นต้องควบคู่กับการเตือนสำทับนัยดังกล่าวปรากฏอยู่ในอีกอายะฮฺหนึ่งที่ว่า

نَبِّئْ عِبَادِی أ َنّی ِأَنَا الغَفُوْرُالرَّحِيْمُ  . وَأنَّ عَذَابِى  هوَالعَذَابُ الاَلِيْمُ

ความว่า "เจ้าจงแจ้งแก่ปวงบ่าวของข้าให้รู้เถิดว่า แท้จริงข้าเป็นผู้ให้อภัยอีกทั้งเมตตายิ่งแต่ทว่าการลงโทษของข้าก็แสนสาหัสด้วยเช่นกัน" (๙)

ในทำนองเดียวกันอัลลอฮฺ (ชบ.) ได้ทรงกล่าวถึงคุณลักษณะของพระองค์พระองค์ ไว้ในอีกอายะฮ.หนึ่งว่า

قَابِل التَّوْبَ شَدِيْدِالعِقَابِ

ความว่า "พระองค์คือผู้ทรงรับการลุแก่โทษ (จากปวงบ่าวผู้สำนึกผิด)และพระองค์คือผู้ทรงลงโทษอย่างรุนแรง (แก่เหล่าคนบาป) (๑๐)

๒. การครอบครองกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ (ซบฺ) หมายรวมถึงการมีอำนาจอธิปไตยของพระองค์ด้วยเช่นกันทั้งนี้เนื่องจากผู้ทรงสิทธิที่แท้จริงนั้นย่อมมีอำนาจสิทธิขาดในสิ่งที่อยู่ภายใต้กรรมสิทธิ์ของตนเอง ดังอายะฮฺที่ว่า

قُل اللَّهٌمَّ مَالِكُ المُلْكِ

ความว่า "จงกล่าวเถิด โอ้ อัลลอฮฺพระองค์คือผู้ทรงสิทธิ์ในอำนาจการปกครองทั้งมวล"(๑๑)

แต่ทว่ากรรมสิทธิ์ของมนุษย์ซึ่งถือเป็นกรรมสิทธิ์ที่สมมติขึ้นนั้นอยู่นอกเหนืออำนาจสิทธิขาดของเขา

๓. การครอบครองกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮ. (ชบ.) ได้ถูกกล่าวไว้ในซูเราะฮฺแรกของอัลกุรอาน

مَالِكِ يَوْمِ الدِّينِ

ส่วนการมีอำนาจอธิปไตยของพระองค์นั้นได้ถูกกล่าวไว้ในซูเราะฮฺสุดท้ายمَلِكِ النَّاسِ

๔.อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงคู่ควรต่อการเคารพภักดี การสรรเสริญ และการขอบคุณในแง่มุมต่างๆ เช่น ความสมบูรณ์ของแก่นแท้ (ซาต) และคุณลักษณะต่าง ๆ ของพระองค์ เนื่องจากพระองค์คือ اَللَّه ความเอื้ออารีและการอภิบาลของพระองค์เนื่องจากพระองค์คือرَبِّ العَالِمِيْنَความหวัง และการรอคอยของเราต่อการได้รับความเมตตาจากพระองค์เนื่องจาก พระองค์ คือالرَّحِمنِ الرَّحِيْمِและพลังอำนาจอีกทั้งความน่าเกรงขามของพระองค์เนื่องจากพระองค์คือ

مَالِكِ يَومِ الدِّينِ

----------------------------------------------------------------------------------

๑." แท้จริง ดีน ณ อัลลอฮฺ คืออิสลาม"( อาลิอิมรอน ๑๙)

๒. "ดีน อันบริสุทธิ์(การงานอันบริสุทธิ์) นั้นเพึ่ออัลลอฮฺ ( อัช-ซุมัรฺ ๓)j

๓. ชูเราะฮฺ อัช-ชาริยาด๑๒)

๔.ชูเราะฮอัล . อินฟิฏอรฺ ๑๘-๑๙

๕.ชูเราะฮฺอัล - บะเกาะเราะฮฺ ๑๖๖

๖.ชูเราะฮฺ อัล มุอมินน ๑๐๑

๗. ซูเราะฮฺ อัช- ชุอะรออฺ ๘๘.

๘.ชูเราะฮฺอัล-มุมตะหินะฮฺ ๓

๙. ชูเราะฮฺอัล-หิจรฺ ๔๙-๕๐

๑๐ ซูเราะฮฺ.อัล-ฆอฟิรฺ( อัล-มุอฺมิน)๓

๑๑. ชูเราะฮฺ อาลิอิมรอน ๒๖

 

ที่มา เว็บไซต์อิสลามซอรส์

แสดงความเห็น