การบะดาอ์ ในอิสลาม ตามความเชื่อของชีอะฮ์
การบะดาอ์ ในอิสลาม ตามความเชื่อของชีอะฮ์
คำว่า บะดาอฺ ในด้านภาษา มาจากภาษาอาหรับ หมายถึง การปรากฏ การเปิดเผย ในความหมายของเชิงวิชาการหมายถึง
การเปลี่ยนแปลงชะตากรรมมนุษย์ด้วยกับการกระทำคุณงามความดี (อะมั้ลซอลิฮฺ)ดังนั้น บะดาอฺ ถือว่า เป็นความเชื่ออย่างหนึ่งในสายธารชีอะฮฺ อิมามียะฮ์ ถูกวางอยู่บนพื้นฐานแห่งอัล-กุรอาน ตรรกะ และสติปัญญา
ทัศนะของอัล-กุรอานกล่าวว่า ชะตากรรมของมนุษย์ไม่ได้ถูกปิดตาย มนุษย์มีสิทธิ์ที่จะเลือกสรรชะตากรรมของตนเอง แต่ว่าวิถีทางที่นำไปสู่ความผาสุกนั้นเปิดสำหรับเขาตลอดเวลา เขาสามารถเปลี่ยนแปลงชะตากรรมของตนเองได้ด้วยการไปสู่แนวทางแห่งสัจธรรม และการประพฤติคุณงามความดี ด้วยเหตุนี้เองจะเห็นว่า
บะดาอฺเป็นความเชื่อที่เป็นแก่นประการหนึ่งของอิสลาม ซึ่งอัล-กุรอานกล่าวว่า
إِنَّ اللّهَ لاَ يُغَيِّرُ مَا بِقَوْمٍ حَتَّى يُغَيِّرُواْ مَا بِأَنْفُسِهِمْ
แท้จริงอัลลอฮฺจะมิทรงเปลี่ยนแปลงประชาชาติใด จนกว่าพวกเขาจะเปลี่ยนแปลงตนเอง
อัล-กุรอานกล่าวว่า
وَلَوْ أَنَّ أَهْلَ الْقُرَى آمَنُواْ وَاتَّقَواْ لَفَتَحْنَا عَلَيْهِم بَرَكَاتٍ مِنَ السَّمَاءِ وَالأَرْضِ
และหากว่าชาวเมืองนั้นได้ศรัทธาและมีความยำเกรง แน่นอนเราจะเปิดประตูความจำเริญแห่งฟากฟ้าและแผ่นดินให้แก่พวกเขา
อัล-กุรอานกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงชะตากรรมของท่านศาสดายูนุสว่า
فَلَوْلَا أَنَّهُ كَانَ مِنْ الْمُسَبِّحِينَ لَلَبِثَ فِي بَطْنِهِ إِلَى يَوْمِ يُبْعَثُونَ
หากเขามิได้เป็นคนหนึ่งในหมู่ผู้แซ่ซ้องสดุดีแล้ว แน่นอน เขาจะอยู่ในท้องปลาจวบจนกระทั่งวันฟื้นคืนชีพ
จากโองการนี้สามารถเข้าใจได้ว่า ท่านศาสดายูนุส (อ.) ต้องอยู่ในท้องปลา (อันเป็นที่คุมขังพิเศษ) สำหรับท่านตลอดไปจนถึง
วันกิยามะฮฺ แต่เป็นเพราะว่าความประพฤติที่ดี (ท่านทำการแซ่ซ้องสดุดี) ชะตากรรมของท่านศาสดา (อ.) จึงเปลี่ยนแปลงไป
และได้รับการช่วยเหลือในที่สุด ความจริงดังกล่าวเป็นที่ยอมรับของอิสลาม ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า
إن الرجل ليحرم الرزق بالذّنب يصيبه ولا يردّ القدر إلا الدّعاء و لا يزيد فى العمر إلاّ البرّ
คน ๆ หนึ่งริซกี (ปัจจัยยังชีพ) จะถูกห้ามสำหรับเขา เนื่องจากการทำบาป และไม่มีสิ่งใดสามารถเปลี่ยนแปลงชะตากรรมนี้ได้
นอกจากดุอาอฺ และอายุของเขาจะไม่ยั่งยืนนอกจากการปฏิบัติความดี
จากริวายะฮฺดังกล่าวและริวายะฮฺอื่น ๆ ที่มีความหมายใกล้เคียงกันนี้สรุปได้ว่า มนุษย์เราจะถูกห้ามจากริซกีต่าง ๆ เนื่องจากการ
กระทำบาป แต่ทว่าด้วยกับการประพฤติคุณงามความดี เช่น การขอดุอาอฺ การบริจาคทาน และการทะนุบำรุงศาสนาของ
พระองค์ให้มีชีวิตเสมอ สามารถเปลี่ยนชะตาชีวิตและทำให้มีอายุยืน
สรุป ทั้งโองการจากอัลกุรอานและริวายะฮฺ กล่าวได้ว่าแม้มนุษย์ได้ประพฤติตนตามใจปรารถนา (หากพิจารณาที่สาเหตุ และตัวการที่เป็นธรรมชาติของมนุษย์) ความประพฤติของเขานั่นเองที่เป็นตัวการสำคัญทำให้ชะตากรรมเปลี่ยนแปลงไป หรือในบางครั้ง อาจมีบรรดาเอาลิยาอฺของอัลลอฮฺ (ซบ.) อย่างเช่น ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) หรือบรรดาอิมาม (อ.) ได้แจ้งข่าวให้เขาทราบล่วงหน้า หมายถึงว่า ถ้าเขายังประพฤติเช่นนั้นต่อไป เขาต้องพบกับชะตากรรมที่รออยู่อย่างแน่นอน แต่ผลจากการเปลี่ยนแปลงการกระทำอย่างฉับพลัน จะทำให้ชะตากรรมของเขาเปลี่ยนทันที ดังนั้นจะเห็นว่าแก่นแท้ของเรื่องดังกล่าว ที่วางอยู่บนพื้นฐาน
ของอัล-กุรอาน ,ซุนนะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และสติปัญญาที่สมบูรณ์ ชีอะฮฺ อิมามียะฮ์ เรียกการเปลี่ยนนี้ว่า การบะดาอฺ หากพิจารณาไปตามความเป็นจริงจะพบว่า บะดาอฺ ไม่ใช่สิ่งที่มีแต่ชีอะฮฺฝ่ายเดียว หรือเป็นการตีความของผู้รู้ชีอะฮฺเท่านั้น ทว่าเรื่องนี้ได้มีบันทึกอยู่ในตำราของอะฮฺลิสซุนนะฮฺ และท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้กล่าวไว้เช่นกันเช่นกล่าวว่า
بَدَ ا للهُ عزّ و جَلّ ان يبتليهم
อัลลอฮฺทรงยกเลิกการทดสอบสำหรับพวกเขา
สิ่งจำเป็นที่ต้องกล่าวถึงคือ การบะดาอฺ ไม่ได้เป็นสิ่งที่ทำให้ความรู้ของพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจาก
พระองค์ทรงทราบตั้งแต่แรกแล้วถึง ความประพฤติที่เป็นไปตามธรรมชาติของมนุษย์ และตัวการที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลง อันเป็นสาเหตุที่นำไปสู่การบะดาอฺ อัล-กุรอานกล่าวว่า
يَمْحُو اللّهُ مَا يَشَاءُ وَيُثْبِتُ وَعِندَهُ أُمُّ الْكِتَابِ
อัลลอฮทรงยกเลิกสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์ และทรงยืนหยัดให้มั่น (สิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์) และแม่บทแห่งคัมภีร์อยู่ ณ
พระองค์
ด้วยเหตุนี้ พระองค์อัลลอฮฺ ผู้ทรงปรีชาญาณและทรงพลานุภาพ เมื่อพระองค์ทรงบะดาอฺนั้น แก่นแท้ของสิ่งดังกล่าวเป็นที่ล่วง
รู้ตั้งแต่แรก ณ พระองค์ แค่ทรงเปิดเผยสิ่งนั้นให้มนุษย์ได้รับรู้ ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า
ما بدا الله فى شيء الا كان فى علمه قبل ان يبدوله
ไม่มีสิ่งใดปิดบังสำหรับอัลลอฮฺ นอกจากว่าพระองค์ได้ล่วงรู้สิ่งนั้นตั้งแต่แรกแล้ว
เพราะฉะนั้นปรัชญาของการบะดาอฺ ไม่เป็นที่สงสัยหากมนุษย์สามารถเปลี่ยนชะตาชีวิตของตนเองได้ แน่นอนเขาต้องทำให้อนาคตของเขาสูงส่งและดี ความพากเพียรของเขาต้องมีมากและเป็นประโยชน์กว่าที่เป็นอยู่ อีกนัยหนึ่งดังที่กล่าวไปแล้วว่า การชะฟาอะฮและการเตาบะฮฺเป็นความหวังในการช่วยเหลือมนุษย์ ซึ่งแก่นแท้ของการบะดาอฺก็เช่นกัน เป็นสาเหตุในการสร้างความสุข และความปิติยินดีแก่มนุษย์ ทำให้มีความหวังต่ออนาคตของตนเอง เพราะว่ามนุษย์ทราบดีว่าเขาสามารถเปลี่ยนแปลงชะตาชีวิตที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้กำหนดไว้แล้วแก่เขาได้ และยังสามารถกระทำในสิ่งที่ดีกว่าแก่ตนเองได้อีกต่างหาก
แสดงความเห็น