ทำไมชีอะฮฺจึงนะมาซ ๕ เวลาเหลือเพียง ๓ เวลา

คำถาม

 ทำไมชีอะฮฺจึงนมาซ ๕ เวลาเหลือเพียง ๓ เวลา 

คำตอบ

สิ่งจำเป็นที่ต้องกล่าวถึงก่อนลำดับแรกคือ การนำเสนอทัศนะของบรรดานักปราชญ์ที่กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้
๑. ทุกกลุ่มและทุกนิกายต่างมีความเห็นพ้องต้องกันว่า ในอะเราะฟะฮฺ นั้นสามารถนะมาซซุฮรฺและอัซรฺติดต่อกันโดยไม่ต้องทิ้งช่วงเวลาให้ห่างออกไป และเช่นกันในมุซดะละฟะฮฺ สามารถนะมาซมัฆริบและอิชาอฺติดต่อกันในช่วงเวลาของนะมาซอิชาอฺได้
๒. ฮะนะฟียฺ กล่าวว่า การนะมาซซุฮรฺกับอัซรฺ และมัฆริบกับอิชาอฺรวมในเวลาเดียวกัน อนุญาตให้ทำได้เฉพาะอยู่ในอะเราะฟะฮฺและมุซดะละฟะฮฺเท่านั้น ส่วนในสถานภาพอื่นไม่อนุญาต
๓. ฮัมบะลียฺ มาลิกียฺ และชาฟิอียฺกล่าวว่า การนะมาซติดต่อกันระหว่างซุฮรฺกับอัซรฺ และมัฆริบกับอิชาอฺเข้าด้วยกัน มิได้อนุญาตเฉพาะอยู่ในอะเราะฟะฮฺและมุซดะละฟะฮฺเท่านั้น ทว่าในช่วงเดินทางไกลก็อนุญาตด้วยเช่นกัน และบางคนจากนิกายเหล่านี้ ยังได้อนุญาตให้ทำนะมาซ ๒ เวลาเหลือเพียงเวลาเดียว ในช่วงที่มีความจำเป็น อาทิเช่น ช่วงที่มีฝนตก ผู้ทำนะมาซไม่สบาย หรือหลบหนีศัตรู 
๔. ชีอะฮฺ กล่าวว่านะมาซทุกเวลาไม่ว่าจะเป็นนะมาซซุฮรฺ อัซรฺ มัฆริบ และอีชาอฺมีช่วงเวลาที่เฉพาะเจาะจงและช่วงเวลาร่วม
๔.๑. ช่วงเวลาเฉพาะสำหรับนะมาซซุฮรฺ นับตั้งแต่เริ่มเข้าเวลาซุฮรฺชัรอียฺ (เข้าเวลาบ่ายลงไปหรือตะวันคล้อย) ไปจนถึงช่วงเวลาที่ได้ทำนะมาซสี่เราะกะอัตเสร็จ ช่วงเวลานี้ได้ถูกจำกัดไว้ เฉพาะนะมาซซุฮรฺเท่านั้น
๔.๒. ช่วงเวลาเฉพาะสำหรับนะมาซอัซรฺ นับตั้งแต่ช่วงเวลาหนึ่งจนถึงพระอาทิตย์ตกดิน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สามารถทำได้เฉพาะนะมาซอัซรฺเท่านั้น
๔.๓. ช่วงเวลาร่วมระหว่างนะมาซซุฮฺรฺกับนะมาซอัศรฺ นับตั้งแต่ช่วงสิ้นสุดเวลาเฉพาะสำหรับนะมาซซุฮรฺเป็นต้นไปจนถึงช่วงเริ่มต้น เวลาเฉพาะสำหรับนะมาซอัซรฺ
    คำกล่าวของชีอะฮฺคือ ในช่วงเวลาร่วมระหว่างนะมาซซุฮรฺกับอัซรฺนั้น สามารถทำติดต่อกันได้โดยไม่จำเป็นต้องทิ้งช่วงเวลาให้ห่างออกไป แต่อะฮฺลิซซุนนะฮฺเชื่อว่า นับตั้งแต่เริ่มเวลาซุฮรฺชัรอียฺ (บ่ายลงไป) จนกระทั่งเงาของทุกสิ่งได้ทอดเท่ากับตัวจริงของมัน ช่วงเวลาดังกล่าวได้ถูกจำกัดไว้เฉพาะสำหรับนะมาซซุฮรฺเพียงอย่างเดียว จึงไม่อนุญาตให้นะมาซอัซรฺในเวลานั้น และนับตั้งแต่ช่วงดังกล่าวไปจนถึงเวลามัฆริบเป็นช่วงเวลาเฉพาะสำหรับนะมา ซอัซรฺ ดังนั้นไม่สามารถนะมาซซุฮรฺได้
๔.๔. ช่วงเวลาเฉพาะสำหรับนะมาซมัฆริบ นับตั้งแต่เริ่มเข้าเวลามัฆริบชัรอียฺ จนกระทั่งนะมาซเสร็จ ๓ เราะกะอัต  ช่วงเวลาดังกล่าวได้ถูกจำกัดไว้สำหรับน มาซมัฆริบอย่างเดียว
๔.๕. ช่วงเวลาเฉพาะสำหรับนะมาซอิชาอฺ นับตั้งแต่ช่วงเวลาหนึ่งจนถึงครึ่งคืนชัรฺอียฺ ซึ่งช่วงนั้นมีเวลาพอแค่ทำนะมาซอิชาอฺเพียงอย่างเดียว ในเวลาเพียงเล็กน้อยนั้นสามารถทำได้เฉพาะนะมาซอิชาอฺ ไม่อนุญาตให้ทำนะมาซอื่น
๔.๖. ช่วงเวลาร่วมระหว่างนะมาซมัฆริบกับนะมาซอิชาอฺ นับตั้งแต่ช่วงสิ้นสุดเวลาเฉพาะสำหรับนะมาซมัฆริบไปจนถึงช่วงเริ่มต้นเวลา เฉพาะสำหรับนะมาซอิชาอฺ
โดยหลักการของชีอะฮฺเชื่อว่า ในช่วงเวลาร่วมระหว่างนะมาซมัฆริบกับนะมาซอิชาอฺนั้น สามารถทำนะมาซติดต่อกันได้โดยไม่ต้องทิ้งช่วงเวลาให้ห่างออกไป แต่อะฮฺลิซซุนนะฮฺเชื่อว่า นับตั้งแต่พระอาทิตย์ตกดินจนถึงช่วงแสงอาทิตย์ทางทิศตะวันตกได้หมดลง เป็นช่วงเวลาเฉพาะสำหรับนะมาซมัฆริบ จึงไม่อนุญาตให้ทำนะมาซอิชาอฺในช่วงเวลาดังกล่าว และตั้งแต่ช่วงแสงอาทิตย์ทางทิศตะวันตกหมดลง จนถึงครึ่งคืนชัรฺอียฺ เป็นช่วงเวลาเฉพาะสำหรับนะมาซอิชาอฺ ไม่สามารถทำนะมาซมัฆริบได้
สรุปตามหลักการของชีอะฮฺหลังจากเข้าสู่เวลาซุฮรฺชัรฺอียฺแล้ว เมื่อทำนะมาซซุฮรฺเสร็จสามารถทำนะมาซอัซรฺต่อได้ทันที โดยไม่ต้องทิ้งช่วงเวลาให้ล่าช้าออกไป หรือสามารถปล่อยเวลานะมาซซุฮรฺให้ล่าออกไป จนถึงช่วงเริ่มต้นเวลาเฉพาะสำหรับนะมาซอัซรฺ หมายถึงนะมาซซุฮรฺได้เสร็จก่อนที่จะเข้าเวลาดังกล่าว หลังจากนั้นจึงทำนะมาซอัซรฺ การทำเช่นนี้เท่ากับเป็นการนะมาซติดต่อกันสองเวลา ถึงแม้ว่าเป็นมุสตะฮับให้ทำมาซซุฮรฺหลังจากเวลาบ่าย และทำนะมาซอัศรฺเมื่อเงาของทุกสิ่งได้ทอดเท่ากับตัวจริงของมันก็ตาม
ทำนอง เดียวกันเมื่อเข้าเวลามัฆริบชัรฺอียฺ ได้เริ่มนะมาซเมื่อเสร็จแล้วสามารถนะมาซอิชาอฺต่อได้ทันที โดยไม่ต้องทิ้งช่วงเวลาล่าออกไป หรือปล่อยเวลานะมาซมัฆริบให้ล่าออกไป จนถึงช่วงเริ่มต้นเวลาเฉพาะสำหรับนะมาซอิชาอฺ หมายถึงนะมาซมัฆริบได้เสร็จก่อนที่จะเข้าเวลาดังกล่าว หลังจากนั้นจึงได้นะมาซอิชาอฺ การทำเช่นนี้เท่ากับเป็นการนะมาซสองเวลาติดต่อกันระหว่างนะมาซมัฆริบกับนะมา ซอิชาอฺ ถึงแม้ว่าเป็นมุสตะฮับให้ทำนะมาซมัฆริบหลังเวลามัฆริบชัรฺอียฺ และทำนะมาซอิชาอฺหลังจากแสงอาทิตย์ทางทิศตะวันตกได้หมดลงก็ตาม
สิ่งเหล่า นี้เป็นหลักการของชีอะฮฺ  ขณะที่อะฮฺลิซซุนนะฮฺไม่อนุญาตให้นะมาซ ๒ เวลาติดต่อกันในทุก ๆ ที่และทุกเวลา ด้วยเหตุนี้ ประเด็นที่แตกต่างกันคือ การนะมาซ ๒ เวลาในเวลาเดียวในทุกที่และทุกเวลา โดยที่นะมาซทั้งสองได้ปฏิบัติตรงเวลาในเวลาเดียวกัน เช่น ในอะเราะฟะฮฺ หรือมุซดะละฟะฮฺ
๕. มุสลิมทั้งหลายเห็นพ้องต้องกันว่า ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้นะมาซ ๒ เวลาในเวลาเดียวกัน เพียงแต่ว่าการอธิบายริวายะฮฺนั้นได้แบ่งเป็น ๒ ทัศนะดังนี้
๕.๑. ชีอะฮฺกล่าวว่าจุดประสงค์ของริวายะฮฺ นะมาซเวลาแรกคือนะมาซซุฮรฺ หลังจากเสร็จนะมาซซุฮรฺแล้วให้ทำนะมาซอัศรฺ ในทำนองเดียวกันนะมาซเวลาแรกคือนะมาซมัฆริบ หลังจากนะมาซมัฆริบเสร็จให้ทำนะมาซอิชาอฺ และการทำนะมาซ ๒ เวลาติดต่อกันไม่ได้ขึ้นอยู่กับเวลา หรือสถานที่หรือมีเงื่อนไข ที่เฉพาะเจาะจงแต่อย่างใด ทว่าอนุญาตให้ทำได้ทุกที่และทุกเวลา
๕.๒. มุสลิมอีกกลุ่มกล่าวว่า จุดประสงค์ของริวายะฮฺคือ นะมาซซุฮรฺทำใกล้จะหมดเวลา ส่วนนะมาซอัซรฺเริ่มต้นเวลา ทำนองเดียวกันนะมาซมัฆริบทำใกล้จะหมดเวลา ส่วนนะมาซอิชาอฺเริ่มต้นเวลา
ต่อไปจะทำการวิเคระห์ริวายะฮฺ และพิสูจน์ให้เห็นว่าจุดประสงค์ของริวายะฮฺเป็นดังเช่นที่ชีอะฮฺเข้าใจ และกล่าวถึงคือ นะมาซ ๒ เวลาได้ทำติดต่อกันในเวลาเดียวกัน ไม่ใช่ว่านะมาซหนึ่งทำในช่วงใกล้จะหมดเวลาและอีกนะมาซหนึ่งทำตอนเริ่มต้น เวลา โดยมีริวายะฮฺดังนี้ 
๑. อหะฮฺมัด บิน ฮัมบัล ผู้นำนิกายฮัมบะลียฺได้บันทึกไว้ในหนังสือมุซนัดของตน โดยรายงานมาจากท่านญาบิร บิน ซัยดฺว่า
أخبرنى جابر بن زيد انهّ سمع ابن عباس يقول : صليت مع رسول الله صل الله عليه[وآله] وسلم ثمانياً جميعاً و سبعاُ جميعاً قال قلت له يا أبا الشّعثاء اظنّه أخر الظّهر و عجّل العصر و أخّر المعرب و عجّل العشاء قال و أنا أظنّ ذلك
ญาบิร บิน ซัยดฺ กล่าวว่า ฉันได้ยินอิบนุอับบาซกล่าวว่า ฉันได้นะมาซพร้อมกับท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ๘เราะกะอัต (ซุฮรฺกับอัซรฺ) และ ๗ เราะกะอัต (มัฆริบและอิชาอฺ) พูดว่าฉันได้บอกกับ ท่านอะบูชุอฺซาอฺว่า ฉันคิดว่าท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) คงจะปล่อยเวลานะมาซซุฮรฺให้ล่าออกไป และนะมาซอัซรฺเร็วขึ้น อะบูชุอฺบา กล่าวว่า ฉันคิดเช่นนั้นเหมือนกัน 
จาก ริวายะฮฺดังกล่าวเข้าใจได้ว่าท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้ทำนะมาซซุฮรฺกับอัซรฺ และนะมาซมัฆริบกับอิชาอฺติดต่อกันโดยไม่ได้ทิ้งช่วงเวลาให้ห่างออกไป
๒. อะฮฺมัด บิน ฮัมบัล ได้รายงานจากท่าน อับดุลลอฮฺ บิน ชะกีกว่า
خطبنا ابن عباّس يوماً بعد العصر حتىّ غربت الشّمس و بدت النّجوم و علّق النّاس ينادونه الصّلاة و فى القوم رجل من نبى تميم فجعل يقول : الصّلاة الصّلاة : قال فغضب قال أتعلّمنى با لسّنّة ؟ شهدت رسول الله صل الله عليه [وآله] وسلم جمع بين الظهر و العصر والمغرب و العشاء . قال عبدالله فوجدت فى نفسى من ذلك شيئًا فلقيت أبا هريرة فسألته فوافقه
หลังจากนะมาซอัซรฺ อิบนุอับบาซ ได้กล่าวปราศรัยแก่พวกเราจนกระทั่งพระอาทิตย์ตก ทำให้มองเห็นดวงดาวระยิบระยับ ประชาชนได้ส่งเสียงว่านะมาซ และในหมู่ของพวกเขาได้มีชายคนหนึ่งจากเผ่าบะนีตะมีมตะโกนซ้ำว่า นะมาซ ท่านอิบนุอับบาซโกรธมากและได้กล่าวว่า เจ้าต้องการจะสอนซุนนะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) แก่ฉันหรือ  ฉันได้เห็นท่านนะมาซซุฮรฺกับอัศรฺ มัฆริบและอิชาอฺติดต่อกัน
ท่านอับดุลลอฮฺ กล่าวว่า สำหรับฉันเรื่องนี้ยังมีความคลางแคลงใจอยู่ ด้วยเหตุนี้ ฉันจึงไปพบกับท่านอะบูฮุรัยเราะฮฺ เพื่อถามความจริงเขาได้ยืนยันคำพูดของอิบนุอับบาซ
ฮะดีซดังกล่าวมีเซาะฮาบะฮฺ ๒ ท่านคือ อับดุลลอฮฺบินอับบาซ และอะบูฮฺร็อยเราะฮฺ เป็นผู้ยืนยันว่า ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้นะมาซซุฮรฺกับอัซรฺ และมัฆริบกับอิชาอฺติดต่อกัน และอิบนุอับบาซยังเป็นผู้หนึ่งที่ยืนหยัดในซุนนะฮฺดังกล่าวนี้ของท่านศาสดา
๓. ท่านมาลิก บิน อะนัซ ผู้นำนิกายมาลิกียฺ บันทึกไว้ในหนังสื่อ อัล-มุวัฏเฏาะฮฺ ของตนดังนี้
صلى رسول الله (ص) الظهّر و العصر جميعاً، والمغرب و العشاء جميعاً فى غير خوفٍ ولا سفرٍ
ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้นะมาซซุฮรฺกับอัซรฺ และมัฆริบกับอิชาอฺติดต่อกัน ทั้งที่ไม่ได้หวาดกลัวศัตรูหรือเดินทางไกล   
๔. มาลิก บิน อะนัซ ได้รายงานจากท่าน มะอาซ บิน ญุบัล ดังนี้ว่า
فكان رسول الله (ص) يجمعُ بين الظَهر و العصر، والمغرب و العشاء
ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้นะมาซซุฮรฺกับอัซรฺและมัฆริบกับอิชาอฺติดต่อกัน 
๕. มาลิก บิน อะนัซ ได้รายงานจากท่าน นาฟิอฺ และเขาได้รายงานมาจาก อับดุลลอฮฺ บิน อุมัรว่า
كان رسول الله (ص) إذا عجل به السّير يجمع بين المغرب و العشاء
ทุกครั้งที่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) มีความรีบร้อนท่านจะนะมาซมัฆริบกับอิชาอฺติดต่อกัน
๖. มาลิก บิน อะนัซ ได้รายงานจากอะบูฮุร็อยเราะฮฺดังนี้ว่า
إن رسول الله-صل الله عليه [وآله] وسلم كان يجمع بين الظهر و العصر فى سفره الى تبوك
ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้ทำนะมาซซุฮรฺกับอัซรฺติดต่อกันขณะเดินทางไปตะบูก     
๗. มาลิก บันทึกไว้หนังสืออัล-มะวัฏเฏาะฮฺ โดยรายงานมาจากนาฟิอฺ ดังนี้ว่า
إنّ  عبد الله بن عمر كان  إذا  جمع  الامراء بين  المغرب و العشاء فى المطر جمع معهم
ทุกครั้งที่ผู้นำนะมาซมัฆริบกับอิชาอฺติดต่อกันท่ามกลางฝนตก อับดุลลอฮฺ บิน อุมัรก็นะมาซทั้งสองติดต่อด้วยเช่นกัน 
๘. มาลิก บิน อะนัซ ได้รายงานมาจาก อะลี บิน ฮุซัยนฺ ดังนี้ว่า
كان رسول الله صل الله عليه [وآله] و سلم إذا  أراد  أن  يسير يومه  جمع  بين  الظهر و العصر و إذا  أراد أن يسير ليله جمع  بين  المغرب  و  العشاء
ทุกครั้งหากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ต้องเดินทางในตอนกลางวัน ท่านจะนะมาซซุฮรฺกับอัซรฺติดต่อกัน และถ้าท่านต้องเดินทางในตอนกลางคืน ท่านจะนะมาซมัฆริบกับอิชาอฺติดต่อกัน
๙. มุฮัมมัด ซัรกอนียฺ ได้บันทึกไว้ในหนังสือ ชัรฮุลมุวัฏเฏาะฮฺ โดยรายงานมาจาก อะบีชุอฺซา ดังนี้ว่า
إن ابن عباس صلى بالبصرة الظّهر و العصر ليس بيهما شيئٌ و المغرب و العِشاء ليس بيهما شيئٌ
อัลดุลลอฮฺ บิน อับบาซ ได้นะมาซซุฮรฺกับอัซรฺ และมัฆริบกับอิชาอฺ ที่บะเซาะเราะฮฺติดต่อกันโดยไม่ได้ปล่อยเวลาให้ห่างออกไป   
๑๐. ซัรกอนียฺ ได้รายงานมาจากฏ็อบรอนียฺ และเขาได้รายงานมาจาก อิบนุมัซอูดว่า
جمع النّبى صل الله عليه [وآله] و سلم بين الظّهر و العصر و بين المغرب و العشاء فقيل له فى ذلك، فقال: صنعت هذا لئلا تحرج أمتى
ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้นะมาซซุฮรฺกับอัซรฺ และมัฆริบกับอิชาอฺติดต่อกัน ได้มีผู้ถามท่านว่าทำเช่นนี้เพื่ออะไร  ท่านตอบว่า ฉันไม่ต้องการทำให้ประชาชาติของฉันต้องลำบาก  
๑๑. มุสลิม บิน ฮัจญาจ ได้รายงานมาจาก อะบู ซะบีร จากซะอีด บิน ญุบัยรฺ และจากอิบนุอับบาซ ว่า
صلى رسول الله صل الله عليه [وآله] و سلم الظّهر و العصر جميعا بالمدينة فى غير خوف و لا سفر
ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้นะมาซซุฮรฺกับอัซรฺติดต่อกันที่มะดีนะฮฺ ทั้งที่ไม่ได้มีความหวาดกลัวศัตรูหรือเดินทาง   
หลัง จากนั้นท่านอิบนุอับบาซ ได้กล่าวว่าเป้าหมายของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เกี่ยวกับเรื่องนี้คือ ท่านไม่ต้องการทำให้ประชาชาติของท่านต้องลำบาก 
๑๒. มุสลิมได้บันทึกไว้ในหนังสือเซาะฮียฺของตน โดยรายงานมาจาก ซะอีด บิน ญุบัยรฺ และเขารายงานมาจาก อิบนุอับบาซว่า
جمع رسول الله صل الله عليه [وآله] و سلم بين الظّهر و العصر المغرب و العشاء فى المدينة من غير خوف و لا مطر
ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้นะมาซซุฮรฺกับอัซรฺ และมัฆริบกับอิชาอฺติดต่อกันที่มะดีนะฮฺ ทั้งที่ไม่ได้มีความหวาดกลัวศัตรูหรือมีฝนตก 
ในเวลานั้น ซะอีด บิน ญุบัยรฺ กล่าวว่า ฉันได้ถามท่านอิบนุอับบาซว่า ทำไมท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) จึงปฏิบัติเช่นั้น  ตอบว่า ท่านไม่ต้องการทำให้ประชาชาติของท่านต้องลำบาก
๑๓. อะบูอับดิลลาฮฺ บุคอรียฺ ได้เปิดภาคผนวกพิเศษขึ้นในหนังสือของตนชื่อว่า บาบุ ตะอฺคีรุซซุฮรฺ อิลัลอัซรฺ    หมวดดังกล่าวได้อธิบายว่า สามารถปล่อยเวลาซุฮรฺให้ล่าออกไปจนถึงเวลาอัซรฺ และนะมาซทั้งสองติดต่อกัน หลังจากนั้นท่านได้กล่าวถึงริวายะฮฺดังนี้ว่า.
إن النّبى صل الله عليه  [وآله]  وسلم بالمدينة سبعاً و ثمانياً الظّهر و العصر، و المغرب و العشاء
ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) นะมาซ ๗ เราะกะอัต (มัฆริบกับอิชาอฺ) และ ๘ เราะกะอัต (ซุฮรฺกับอัศรฺ) ที่มะดีนะฮฺ
๑๔. ด้วยเหตุนี้ บุคอรียฺได้กล่าวในอีกที่หนึ่งว่า
قال ابن عمر و أبو أيّوب و ابن عبّاس رضى الله عنهم : صلّى النّبى صل الله عليه [وآله] و سلم ا لمغرب و العشاء
อับดุลลอฮฺ บิน อุมัร, อัยยูบ อันซอรียฺ และอับดุลลอฮฺ บิน อับบาซ กล่าวว่า ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้ทำนะมาซมัฆริบกับอิชาอฺติดต่อกัน
จากริวายะฮฺ ท่านบุคอรียฺต้องการบอกว่า ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้นะมาซมัฆริบกับอิชาอฺติดต่อกัน เพราะเป็นที่รู้กันอย่างชัดแล้วว่าท่านศาสดาไม่เคยขาดนะมาซ
๑๕. มุสลิม บิน ฮัจญาด ได้บันทึกไว้ในเซาะฮียฺของตนว่า
قال رجلٌ لابن عبّاس الصّلاة فسكت ثمّ قال الصّلاة فسكت ثمّ قال الصّلاة فسكت،ثمّ قال : لا امّ لك أتعلّمنا بالصّلاة و كناّ نجمع بين الصّلاتين على عهد رسول الله صل الله عليه [وآله] و سلم
มีชายคนหนึ่งกล่าวกับท่านอิบ นุอับบาซว่า นะมาซ อิบนุอับบาซไม่ได้พูดอะไร, เขาได้พูดอีกว่า นะมาซ อิบนุอับบาซไม่ได้พูดอะไร และเขาได้พูดอีกว่า นะมาซ อิบนุอับบาซไม่ได้ตอบอะไร จนกระทั่งเขาพูดอีกเป็นครั้งที่ ๔ ว่า นะมาซ อิบนุอับบาซได้พูดว่า โอ้เจ้าลูกไม่มีแม่เอ๋ย เจ้าต้องการสอนนะมาซแก่ฉันหรือ ขณะที่เราได้นะมาซ ๒ นะมาซติดต่อกันในสมัยท่านศาสดา (ซ็อล ฯ)  
๑๖. มุสลิม บิน ฮัจญาดรายงานว่า
إنّ رسول الله صل الله عليه [وآله] وسلم جمع بين الصّلاة فى سفرة سافرها فى غزوة تبوك فجمع بين الظّهر والعصر، والمغرب و العشاء قال سعيدٌ : فقلت لابن عبّاس : ما حمله على ذلك ؟ قال : أراد أن لا يحرج امّته
ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้นะมาซ ๒ นะมาซติดต่อกันในระหว่างเดินทาง และในสงครามตะบูกท่านได้นะมาซซุฮรฺกับอัซรฺ และมัฆมิบกับอิชาอฺติดต่อกัน ท่านซะอีดบินญุบัยรฺพูดว่า ฉันได้ถามท่านอิบนุอับบาซว่าทำไมถึงทำเช่นนี้  อิบนุอับบาซตอบว่า เพราะท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ไม่ต้องการให้ประชาชาติของท่านลำบาก   
๑๗. มุสลิม บิน ฮีจญาจ ได้รายงานจากท่านมุอาซว่า
خرجنا  مع  رسول الله  صل  الله  [عليه وآله]  و سلم  فى  غزوة  تبوك  فكان  يصلى  الظهر و  العصر جميعًا والمغرب العشاء جميعاً
ฉันได้ออกไปสงครามตะบูกร่วมกับท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ท่านได้นะมาซซุฮรฺกับอัซรฺ และมัฆริบกับอิชาอฺติดต่อกัน  
๑๘. มาลิก บิน อะนัซ ได้บันทึกไว้ในหนังสือ อัล-มุวัฏเฏาะฮฺ ของตนว่า
عن ابن شهاب انّه سأل سالم بن عبدالله :  هل يجمع  بين  الظّهر و العصر فى  السّفر فقال  :  نعم  لا  بأس بذلك ،  ألم  تر  إلى صلاة  الناس  بعرفة
อิบ นุ ชะฮาบ ถามซาลิม บิน อับดุลลอฮฺว่า ท่านนะมาซซุฮรฺ และอัซรฺติดต่อกัน ขณะที่เดินทางหรือ เขาตอบว่า ใช่ ไม่เป็นไร  ท่านไม่เห็นประชาชนในทุ่งอะเราะฟะฮฺหรอกหรือว่าพวกเขานะมาซอย่างไร
สิ่ง จำเป็นต้องกล่าวถึงคือ มุสลิมเชื่อว่าในวันอะเราะฟะฮฺ ณ ทุ่งอะเราะฟะฮฺ อนุญาตให้นะมาซซุฮรฺและอัซรฺติดต่อกันได้  ให้นะมาซทั้งสองเวลาในช่วงซุฮรฺโดยไม่ต้องทิ้งช่วงให้ห่างกัน ตรงนี้ท่านซาลิม บิน อับดุลลอฮฺ กล่าวว่า เหมือนกับที่ประชาชนได้นะมาซทั้ง ๒ เวลาติดต่อกันในอะเราะฟะฮฺ ซึ่งนอกเหนือจากอะเราะฟะฮฺก็สามารถนะมาซติดต่อกันได้
๑๙. มุตตะกียฺ ฮินดี ได้บันทึกไว้ในหนังสือ กันซุลอุมาล ของตนว่า
قال عبد الله : جمع لنا رسول الله مقيماً غير مسافر بين الظّهر و العصر، والمغرب و العشاء فقال رجلٌ لابن عمر : لم ترى النّبى صل الله عليه و آله و سلم  فعل ذلك قال : لأن لا يحرج امّته إن جمع رجلٌ
อับดุลลอฮฺ บิน อุมัร กล่าวว่า ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) นะมาซซุฮรฺกับอัซรฺ และมัฆริบกับอิชาอฺติดต่อกันทั้งที่ท่านอยู่กับที่ไม่ได้เดินทาง ชายคนนั้นถามท่านอับดุลลอฮฺ บิน อุมัรว่า ทำไมท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) จึงทำเช่นนั้น อับดุลลอฮฺ ตอบว่า ท่านศาสดาไม่ต้องการให้ประชาชาติของท่านลำบาก ถ้าหากต้องการนะมาซติดต่อกัน
๒๐. มุตตะกียฺฮินดี บันทึกไว้ในกันซุลอุมาลอีกว่า
عن جابر، أنّ النّبى صل الله عليه و آله و سلم جمع بين الظّهر و العصر بأذانٍ وإقامتين
ญาบิร บิน อับดุลลอฮฺ กล่าวว่า ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) นะมาซซุฮรฺกับอัซรฺติดต่อกันโดยอะซานครั้งเดียวและกล่าว ๒ อิกอมะฮฺ
๒๑. มุตตะกียฺฮินดี บันทึกไว้ในกันซุลอุมาลอีกว่า
عن جابر، انّ رسول الله  صل الله عليه و آله و سلم  غربت له الشّمس بمكّة فجمع بينهما بسرف
ญา บิร บิน อับดุลลอฮฺกล่าว่า ขณะที่ท่านศาสดาอยู่ที่มักกะฮฺ เมื่อท่านมาถึงยังสถานที่หนึ่งนามว่า ซะรัฟ1(1ซะรัฟ ชื่อสถานที่หนึ่งที่อยู่ห่างจากมักกะฮฺประมาณ ๙ ไมล์) พระอาทิตย์ตกดินแล้ว ท่านได้นะมาซมัฆริบกับอิชาอฺติดต่อกัน
๒๒. กันซุลอุมาลได้บันทึกรายงานจากท่านอิบนุ อับบาซไว้อีกว่า
جمع رسول الله صل الله عليه و آله و سلم بين الظّهر و العصر، والمغرب و العشاء با المدينة فى غير سفر و لا مطرٍ قال : قلت لابن عبّاس : لم ترا ه فعل ذلك قال : أدار التّوسعة على امّته
ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) นะมาซซุฮรฺกับอัซรฺ และมัฆริบกับอิชาอฺติดต่อกันขณะที่อยู่ในมะดีนะฮฺ ทั้งที่ท่านไม่ได้เดินทาง และฝนไม่ได้ตก รอวียฺ กล่าวว่า ฉันได้ถามท่านอิบนุ อับบาซว่า ทำไมท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) จึงนะมาซสองเวลาติดต่อกัน เขาตอบว่า เพราะท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ต้องการให้การกระทำเปิดกว้างในหมู่ประชาชติของท่าน (ง่ายและสะดวกในการปฏิบัติ)
สรุป ริวายะฮฺต้องการกล่าวว่า การนะมาซติดต่อกันเป็นเหตุผลที่ถูกต้องชัดเจนสำหรับผู้ที่ยึดการกระทำดังกล่าว
เหตุผลฝ่ายชีอะฮฺที่นะมาซ ๒ เวลาติดต่อกัน
๑.    นะมาซติดต่อกัน เนื่องจากง่ายและสะดวกไม่สร้างความยุ่งยากต่อการปฏิบัติ เกี่ยวกับเรื่องนี้มีริวายะฮฺจำนวนมากได้ยืนยันไว้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอนุญาตให้กระทำได้และถูกต้อง ถ้าไม่อนุญาตให้นะมาซ ๒ เวลาติดต่อกันจะเป็นสาเหตุทำให้ภารกิจต่าง ๆ ของมุสลิมพบกับความยุ่งยาก ด้วยเหตุนี้ ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) จึงได้อนุญาตให้ทำเช่นนั้นได้เพื่อความสะดวก และง่ายต่อการปฏิบัติ ดังที่อธิบายไว้แล้วในฮะดีซที่ ๑๐, ๑๖, ๑๙, และ ๒๒
เป็นที่ชัดเจนถ้าหาก จุดประสงค์ของริวายะฮฺที่กล่าวไปแล้ว หมายถึงสามารถนะมาซซุฮรฺและอัซรฺในช่วงท้ายเวลานะมาซ ตามทัศนะของอะฮฺลิซซุนนะฮฺที่ว่า ปล่อยเวลานะมาซซุฮรฺให้ล่าออกไปจนถึงช่วงสุดท้ายและเริ่มนะมาซอัซรฺในช่วง เริ่มต้นเวลานะมาซ โดยนะมาซสองเวลาติดต่อกันการกระทำเช่นนี้เท่ากับได้นะมาซในช่วงเวลาเฉพาะของ แต่ละนะมาซ ไม่ถือว่านะมาซติดต่อกัน มิหนำซ้ำยังเป็นการกระทำที่ยุ่งยาก ขณะที่จุดประสงค์ของการนะมาซติดต่อกันเพื่อให้เกิดความง่ายดาย และสะดวกต่อการปฏิบัติ
ดังนั้น จากคำอธิบายเป็นที่ชัดเจนว่าจุดประสงค์ของการนะมาซติดต่อกัน หมายถึงสามารถนะมาซ ๒ เวลาติดต่อกันในช่วงเวลาร่วมของนะมาซทั้งสอง เช่น ในตอนเริ่มต้นเวลา หรือช่วงเวลาสุดท้ายของนะมาซ ซึ่งไม่ได้หมายความว่า นะมาซเวลาหนึ่งทำในช่วงท้ายเวลา และนะมาซอีกเวลาหนึ่งทำในช่วงเริ่มต้นเวลาโดยทำติดต่อกัน
๒. นะมาซ ๒ เวลาติดต่อกัน ณ ทุ่งอะเราะฟะฮฺเป็นการอธิบายถึงวิธีการนะมาซติดต่อกัน อิสลามทุกนิกายอนุญาตให้นะมาซ ๒ เวลาติดต่อกันในอะเราะฟะฮฺได้  อีกด้านหนึ่งริวายะฮฺบางส่วนได้ยืนยันว่านะมาซ ๒ เวลาติดต่อกันในที่อื่นก็เหมือนกับนะมาซติดต่อกันในอะเราะฟะฮฺ ด้วยเหตุนี้ นะมาซสองเวลาติดต่อกันจึงไม่แตกต่างไม่ว่าจะนะมาซในวันอะเราะฟะฮฺหรือช่วง เวลาอื่น หรือนะมาซในทุ่งอะเราะฟะฮฺหรือสถานที่อื่น ฉะนั้น ดังที่มุสลิมทั้งหลายเชื่อโดยหลักการว่า ณ อะเราะฟะฮฺสามารถนะมาซ ๒ เวลาติดต่อกันได้ ในที่อื่นก็สามารถนะมาซได้เช่นกันและเป็นที่อนุญาต
๓. การนะมาซ ๒ เวลาติดต่อกันในระหว่างเดินทาง เป็นการอธิบายวิธีการนะมาซติดต่อกัน บรรดานักปราชญ์ฝ่าย ฮัมบะลียฺ มาลิกียฺ และชาฟิอียฺ อนุญาตให้นะมาซสองเวลาติดต่อกันได้ในช่วงเดินทาง อีกด้านหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ ริวายะฮฺกล่าวว่าไม่มีความแตกต่างกัน ระหว่างเดินทางกับไม่เดินทางเพราะท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) นะมาซติดต่อกันทั้ง ๒ กรณี เพื่อความเข้าใจมากขึ้นให้ย้อนกลับไปพิจารณาริวายะฮฺที่ ๓, ๑๑, ๑๓, ๑๙, และ ๒๒ บนพื้นฐานดังกล่าว อนุญาตให้นะมาซ ๒ เวลาติดต่อกันในระหว่างเดินทาง (ตามที่ชีอะฮฺได้อธิบาย) และไม่ได้เดินทาง
๔. นะมาซ ๒ เวลาติดต่อกันในช่วงที่มีความจำเป็น เป็นการอธิบายถึงการนะมาซติดต่อกันในช่วงเวลาปรกติ ริวายะฮฺเซาะฮียฺ (ถูกต้อง) จำนวนมากได้ยืนยันว่าท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และบรรดาสาวกได้นะมาซ ๒ เวลาติดต่อกันตามที่ชีอะฮฺได้อธิบาย ในช่วงที่มีความจำเป็น เช่น ฝนตก หวั่นเกรงว่าศัตรูจะโจมตี หรือไม่สบาย ด้วยเหตุนี้ จะเห็นว่าบรรดานักปราชญ์จำนวนมากในทุกนิกายได้ออกฟัตวา (คำวินิจฉัย) ว่าอนุญาตให้นะมาซ ๒ เวลาติดต่อกันได้ในช่วงเวลาที่มีความจำเป็น ขณะที่ริวายะฮฺเหล่านั้นมิได้ระบุว่าเฉพาะช่วงเวลาที่มีความจำเป็นอย่าง เดียว ทว่าไม่มีความแตกต่างกันไม่ว่าจะอยู่ในสภาพใดก็ตาม เพราะท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้นะมาซติดต่อกันทั้งที่ฝนไม่ตก และไม่ได้หวั่นเกรงศัตรู เกี่ยวกับเรื่องนี้ให้ย้อนกลับไปพิจารณาริวายะฮฺที่ ๓, ๑๑, ๑๒, และ ๒๒
๕. การกระทำของบรรดาเซาะฮาบะฮฺได้อธิบายถึงการนะมาซติดต่อกัน ริวายะฮฺที่กล่าวผ่านมาแล้วได้บ่งบอกว่า บรรดาเซาะฮาบะฮฺนะมาซ ๒ เวลาติดต่อกันในเวลาเดียว ดังที่ท่านอับดุลลอฮฺ บิน อับบาซ ได้ปล่อยเวลานะมาซมัฆริบให้ล่าออกไปจนท้องฟ้าได้มืดสนิท มองเห็นดวงดาวส่องแสงระยิบระยับเต็มท้องฟ้า แม้ว่าคนอื่นจะนะมาซกันทุกคน แต่ท่านไม่ได้ใส่ใจจนกระทั่งเวลาดึกมากท่านจึงได้นะมาซมัฆริบและอิชา อฺติดต่อกัน ประชาชนที่อยู่ ณ ที่นั้นได้ทักท้วงว่าทำไมปล่อยเวลานะมาซให้ล่าเช่นนี้ ท่านตอบว่า ฉันเห็นด้วยตาว่าท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้นะมาซเช่นนี้เหมือนกัน  อะบูฮุร็อยเราะฮฺได้สนับสนุนคำพูดของอิบนุอับบาซ เกี่ยวกับเรื่องนี้ให้ย้อนกลับไปพิจารณาริวายะฮฺที่ ๒, ๗, ๙, และ ๑๕
ริ วายะฮฺที่กล่าวผ่านมาทำให้ไม่เกิดความคลางแคลงใจว่า สิ่งที่ชีอะฮฺยึดปฏิบัติกันอยู่ในปัจจุบัน (นะมาซ ๒ เวลาติดต่อกัน)  เนื่องจากท่านอิบนุอับบาซ สาวกชั้นผู้ใหญ่ก็ได้ปฏิบัติเช่นนั้นเหมือนกัน ที่สำคัญไปกว่านั้นท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้เคยปฏิบัติไว้
๖. แบบฉบับของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้อธิบายวิธีนะมาซ ๒ เวลาติดต่อกัน
 จาก คำอธิบายของฮะดีซที่ ๒๑ ทำให้ทราบว่า ขณะพระอาทิตย์ตกดินท่านศาสดา  (ซ็อล ฯ) ยังอยู่ที่มักกะฮฺ และได้ปล่อยเวลานะมาซมัฆริบให้ล่าออกไป เมื่อเดินทางมาถึงสถานที่ ๆ ชื่อว่า ซะรัฟ ซึ่งอยู่ห่างจากมักกะฮฺประมาณ ๙ ไมล์  ท่านได้นะมาซมัฆริบและอิชาอฺติดต่อกัน แน่นอนว่าขณะที่ท่านได้ออกจากมักกะฮฺยังหัวค่ำอยู่เพราะพระอาทิตย์เพิ่งจะตก ดิน ประกอบกับพาหนะในการเดินทางสมัยก่อนไม่ได้รวดเร็วเหมือนปัจจุบัน ฉะนั้น เมื่อท่านเดินทางไปถึงซะรัฟเวลาได้ผ่านไปดึกพอสมควร ด้วยเหตุนี้ท่านจึงนะมาซมัฆริบและอิชาอฺติดต่อกัน จากริวายะฮฺทั้งหมดที่ได้กล่าวมา ล้วนคัดลอกมาจากตำราที่เซาะฮียฺ และเชื่อถือได้ของอะฮฺลิซซุนนะฮฺทั้งสิ้น ดังนั้น ชีอะฮฺเชื่อโดยหลักการว่าการนะมาซ ๒ เวลาติดต่อกันไม่ว่าจะเป็นนะมาซซุฮรฺกับอัซรฺ หรือนะมาซมัฆริบกับอิชาอฺเป็นที่อนุญาตและถูกต้อง อีกทั้งยังครอบคลุมทั้งเงื่อนไขทั้งหมดทั้งเวลาและสถานที่ โดยไม่จำกัดว่าต้องเป็นที่ใดที่หนึ่งเท่านั้น

 

ที่มา  http://www.islamshia-w.com

แสดงความเห็น