สุนทโรวาทที่ 51 – 60 ( นะญุลบาลาเฆาะฮ์ )

สุนทโรวาทที่ 51 – 60 ( นะญุลบาลาเฆาะฮ์ )

สุนทโรวาทที่ 51 : กล่าวถึงอำนาจและการปกปิดข้อบกพร่อง

وَ قَالَ [عليه السلام] عَيْبُكَ مَسْتُورٌ مَا أَسْعَدَكَ جَدُّكَ .

อิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า "ข้อตำหนิของเจ้าจะถูกปกปิดตราบที่โลกยังหันมาหาเจ้า"

สุนทโรวาทที่ 52: กล่าวถึง การเผชิญหน้ากับผู้พ่าย

وَ قَالَ [عليه السلام] أَوْلَى النَّاسِ بِالْعَفْوِ أَقْدَرُهُمْ عَلَى الْعُقُوبَةِ .

      อิมามอะลี (อ.) กล่าว่า "มนุษย์ที่ดีที่สุด คือ ผู้รู้จักการให้อภัยและผู้ที่แข็งแรงที่สุด คือ ยามเมื่อเขาลงโทษ"

สุนทโรวาทที่ 53 : กล่าวถึง การรู้จักคนใจกว้างและการเสียสละ

وَ قَالَ [عليه السلام] السَّخَاءُ مَا كَانَ ابْتِدَاءً فَأَمَّا مَا كَانَ عَنْ مَسْأَلَةٍ فَحَيَاءٌ وَ تَذَمُّمٌ .

อิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า "ความใจกว้างหมายถึงเจ้าเป็นผู้เริ่มต้น (โดยไม่ต้องวอนขอ) และให้ทุกสิ่งที่ขอมา เนื่องจากความละอายที่ได้ยินคำพูดไม่ดี"

สุนทโรวาทที่ 54: กล่าวถึง คุณค่าของจริยธรรม

وَ قَالَ [عليه السلام] لَا غِنَى كَالْعَقْلِ وَ لَا فَقْرَ كَالْجَهْلِ وَ لَا مِيرَاثَ كَالْأَدَبِ وَ لَا ظَهِيرَ كَالْمُشَاوَرَةِ .

อิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า "ไม่มีขุมคลังใดเหมือนอย่างความรู้ ไม่มีความยากจนใดเหมือนความโง่เขลา ไม่มีทายาทใดเหมือนมารยาทดีงาม และไม่มีการสนับสนุนใดเหมือนการปรึกษาหารือ"

สุนทโรวาทที่ 55 : ประเภทของความอดทน

وَ قَالَ [عليه السلام] الصَّبْرُ صَبْرَانِ صَبْرٌ عَلَى مَا تَكْرَهُ وَ صَبْرٌ عَمَّا تُحِبُّ .

อิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า "ความอดทนมี 2 ชนิด คือ อดทนต่อการกระทำความดีที่ตนไม่พึงปรารถนา และอดทนต่อการละเว้นการกระทำชั่วที่ตนพึงปรารถนา"     

สุนทโรวาทที่ 56 : ความยากจนและความโดดเดี่ยว

وَ قَالَ [عليه السلام] الْغِنَى فِى الْغُرْبَةِ وَطَنٌ وَ الْفَقْرُ فِى الْوَطَنِ غُرْبَةٌ .

อิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า "ความมั่งมีแม้อยู่ห่างไกลก็เหมือนอยู่ใกล้ ส่วนความยากจนแม้อยู่ใกล้ก็เหมือนอยู่ไกล"

เนื่องจากผู้มั่งมีไม่ว่าจะอยู่ที่ใดมักถูกรายล้อมไปด้วยข้าทาสบริวารตามสุภาษิตที่ว่ามีเงินนับว่าน้อง มีทองนับว่าพี่ ส่วนคนจนแม้แต่พี่น้องก็ไม่เหลียวแล

สุนทโรวาทที่ 57 : กล่าวถึงคุณค่าของความสมถะและความพอเพียง

وَ قَالَ [عليه السلام] الْقَنَاعَةُ مَالٌ لَا يَنْفَدُ .

อิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า "ความสมถะ คือ ทรัพย์ที่ไม่มีวันหมด"

ซัยยิดเราะฎียฺ กล่าวว่า ประโยคนี้ท่านศาสดาวจนะไว้เช่นกัน

สุนทโรวาทที่ 58 :  กล่าวถึงแหล่งของตัณหา

وَ قَالَ [عليه السلام] الْمَالُ مَادَّةُ الشَّهَوَاتِ .

อิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า "ทรัพย์ คือ บ่อเกิดของกิเลสและตัณหา"

สุนทโรวาทที่ 59 : กล่าวถึงคุณค่าของการตักเตือนในความผิด

وَ قَالَ [عليه السلام] مَنْ حَذَّرَكَ كَمَنْ بَشَّرَكَ .

อิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า "บุคคลที่ทำให้ท่านหวาดกลัว (จากภยันตราย) ประหนึ่งผู้ที่แจ้งข่าวดีแก่เจ้า"

สุนทโรวาทที่ 60 : ความจำเป็นในการควบคุมคำพูด

وَ قَالَ [عليه السلام] اللِّسَانُ سَبُعٌ إِنْ خُلِّيَ عَنْهُ عَقَرَ .

 อิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า "ชิวหาคือ สัตว์ดุร้ายป่าเถื่อน ปล่อยมันอิสระ มันก็จะทำร้ายท่าน"

 

ที่มา  www.balaghah.net

แสดงความเห็น