อีดฆอดีร
อีดฆอดีร
อีดฆอดีร คืออีดที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ณ อัลลอฮ์ เป็นอีดอาลิมุฮัมมัด(วันแห่งการเฉลิมฉลองของวงศ์วานของท่านศาสดามุฮัม มัด-ซ็อลฯ) และเป็นวันอีดที่มีคุณค่าที่สุดและมีความสูงส่งที่สุดในอิสลาม ในทัศนะของชาวชีอะฮ์ในช่วงเวลาตลอดทั้งปีนั้น ไม่มีวันใดจะมีความจำเริญ(บะรอกัต)และมีความดีงามมากไปกว่าวันนี้ทั้งนี้เนื่องว่าท่านอิมามญะอ์ฟัรอัซซอดิก(อ.)เองได้กล่าวไว้ว่า :
ان یوم غدیر خم بین الفطر و الاضحى و الجمعه کالقمر بین الکواکب
: “แท้จริงวันฆอดีรคุม ในท่ามกลางวันอีดิลฟิฏรี่ วันอีดิลอัฎฮาและวันศุกร์นั้น เปรียบได้ดั่งดวงจันทร์ในท่ามกลางดวงดาวทั้งหลาย...” (อิกบาลุลอะอ์ม้าล , ซัยยิดอิบนิฎอวูซ , หน้าที่ 466)
นับเป็นถ้อยคำที่มีความละเอียดอ่อนยิ่งนักที่ท่านอิมาม(อ.)ได้เปรียบเทียบวันอีดฆอดีรเหมือนกับดวงจันทร์ และเปรียบเทียบวันอีดอื่นๆเหมือนดั่งบรรดาดวงดวงที่อยู่ในท่ามกลางดวงจันทร์ทั้งนี้เนื่องจากว่าในวันอันยิ่งใหญ่นี้พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสูงส่งได้ทรงประกาศว่า :
الیوم اکملت لکم دینکم و اتممت علیکم نعمتى و رضیت لکم الاسلام دینا
: “วันนี้ข้าได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบูรณ์สำหรับพวกเจ้าแล้ว และข้าได้มอบความโปรดปราณของข้าครบถ้วนแก่พวกเจ้าแล้ว และข้าพึงพอใจแล้วที่จะให้อิสลามเป็นศาสนาของพวกเจ้า” (ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์ / อายะฮ์ที่ 3)
เนี๊ยะอ์มัต(ความโปรดปราน)อันยิ่งใหญ่แห่งอิสลามนั้นถือเป็นเนี๊ยะอ์มัต(ความโปรดปราน)ที่ทรงคุณค่าที่สุดซึ่งไม่อาจจะสมบูรณ์และเป็นจริงขึ้นมาได้เว้นเสีย แต่ด้วยกับวิลายะฮ์(อำนาจการปกครอง)ของท่านอิมามอะลี(อ.) ดั่งที่ท่านอิมามบากิร(อ.)ได้กล่าวว่า :
وَ لَمْ يُنادَ بِشَىءٍ ما نُودِىَ بِالوِلايَةِ يَوْمَ الغَدِيرِ
:“ไม่มีสิ่งใดที่ได้ถูกเรียกร้อง(ให้ยึดมั่นปฏิบัติตาม)เหมือนดังที่ถูกเรียกร้องในเรื่องของวิลายะฮ์(อำนาจการปกครอง)ในวันฆอดีร” (อุซูลุลกาฟี , เล่มที่ 2 , บาบดะอาอิมุลอิสลาม , ฮะดีษที่ 8)
มุฮิบบุดดีน อัฏฏ็อบรีนักวิชาการผู้ยิ่งใหญ่ชาวซุนนีท่านหนึ่งได้รายงานว่าศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ซ็อลฯ)ได้กล่าวว่า :
اذا جمع الله الاولین و الاخرین یوم القیامة و نصب الصراط على جسر جهنم، لم یجزها احد الا من کانت له براء ة بولایة على بن ابى طالب
:“เมื่ออัลลอฮ์ได้ทรงรวมมนุษย์ทุกคนขึ้นในวันชาติหน้าและได้ทรงทอดซิรอฏไปบนสะพานข้ามนรกจะไม่มีผู้ใดข้ามมันไปได้นอกจากบุคคลที่จะได้รับความรอดพ้นด้วยกับวิลายะฮ์(อำนาจการปกครอง)ของอะลี บินอะบีฏอลิบ(อ.)”
วิลายะฮ์ของท่านอิมามอะลี(อ.)นั้นคือ “ดีนฮะนิฟ”(ศาสนาอันบริสุทธิ์)ที่พระผู้เป็นเจ้าไดทรงตรัสว่า :
« فاقم وجهک للدین حنیفا فطرت الله التى فطر الناس علیها»
:“ดังนั้นเจ้าจงผินใบหน้าของเจ้าเข้าสู่ศาสนาที่มีความเที่ยงตรงเถิดอันเป็นธรรมชาติของอัลลอฮ์ซึ่งพระองค์ได้สร้างมนุษย์ขึ้นมาบนมัน” (ซูเราะฮ์อัรรูม / อายะฮ์ที่ 30)
และวิลายะฮ์ของท่านอะลี(อ.)นั้นก็คือฏอรีเกาะฮ์(แนวทาง)ที่ถูกต้องสำหรับการดำเนินชีวิตโดยที่ถ้าหากมนุษย์เลือก เดินตามแนวทางนี้แล้วในวันกิยามะฮ์(ชาติหน้า)พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสูงส่งจะทรงให้เขาได้ดื่มน้ำอันหวานชื่นแห่งสระน้ำเกาษัรด้วยมือของท่านอะลี(อ.) โดยที่พระองค์ได้ทรงตรัสว่า :
« و ان لو استقاموا على الطریقة لاسقیناهم ماء غدقا»
: “และหากพวกเขาธำรงมั่นอยู่บนแนวทางอันเที่ยงตรงแล้ว แน่นอนยิ่งเราก็จะให้พวกเขาได้ดื่มน้ำอันอุดม” (ซูเราะฮ์อัลญิน / อายะฮ์ที่ 16)
และวิลายะฮ์นี้ คือ เนี๊ยะอ์มัต(ความโปรดปราณ)ที่มนุษย์ทุกคนจะต้องถูกสอบถามว่าพวกเขาได้ปฏิบัติตนอย่างไรต่อสิ่งนั้น :
ثم لتسالن یومئذ عن النعیم
:“ต่อจากนั้นพวกเจ้าจะต้องถูกสอบถามอย่างแน่นอนในวันนั้นเกี่ยวกับเกี่ยวกับความโปรดปราน(ที่ได้รับในโลกดุนยา)”
(ซูเราะฮ์อัตตะกาซุร / อายะฮ์ที่ 8)
ท่านอาลูซีนักอรรถาธิบาย(มุฟัซซิร)คัมภีร์อัลกุรอานผู้ยิ่งใหญ่ท่านหนึ่งของซุนนีภายหลังจากได้ยกโองการอับกุรอานที่ว่า :
وقفوهم انهم مسئولون
: “และพวกเจ้าจงหยุดพวกเขาไว้ แท้จริงพวกเขาจะต้องถูกสอบถาม” (ซูเราะฮ์อัซซอฟฟาต / อายะฮ์ที่ 14)
และภายใต้โองการนี้เขาได้อ้างคำพูดและทัศนะต่างมากมาย และท้ายที่สุดเขาได้สรุปโดยกล่าวว่า :
:“ทัศนะคำพูดที่ดีที่สุดและถูกต้องที่สุดนั้นก็คือว่าในวันนั้นจะถูกถามเกี่ยวกับความเชื่อและการกระทำต่างๆของมนุษย์และสิ่งที่สำคัญกว่าทั้งหมดและยิ่งใหญ่ที่สุดนั้นก็คือจะต้องถูกสอบถามเกี่ยวกับวิลายะฮ์ของท่านอะลี (กัรร่อมัลลอฮุ วัจญ์ฮะฮ์)”
และในวันอันยิ่งใหญ่นี้ซึ่งเป็นการย้ำเตือนความทรงจำในการแต่งตั้งท่านอะมีรุลมุอ์มินีน(อ.)โดยท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ซ็อลฯ)โดยพระบัญชาแห่งองค์ พระผู้อภิบาลของท่าน สมควรอย่างยิ่งที่จะทำให้ฟิฏเราะฮ์(ธรรมชาติ)อันเป็นแบบแผนแห่งการสร้างของ พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสูงส่งนี้มีชีวิตและถูกรำลึกอยู่อยู่ตลอดไปในหัวใจทั้งหลาย และทำให้ม่านหมอกแห่งความมืดมน ความโง่เขลา ความไม่รู้และความหลงลืมได้ถูกขจัดออกไปจากดวงตาของบรรดาผู้เผลอเลอทั้งหลาย เพื่อที่พวกเขาจะได้ย่างก้าวไปบนเส้นทาง(ฏอรีเกาะฮ์)อันเป็นสัจธรรมและหันกลับมาสู่ซิรอฏอลมุสตะกีม(แนวทางอันเที่ยงตรง)แห่งพระผู้เป็นเจ้าและศาสนา ของพวกเขาจะได้เกิดความสมบูรณ์
มีผู้ถามท่านอิหม่ามซอดิก(อ.)ว่า : โอ้นายของฉัน! ท่านจะใช้ให้พวกเราถือศิลอดในวันนี้กระนั้นหรือ?
ท่านอิมาม(อ.)ได้ตอบว่า :
اى والله اى والله انه الیوم الذى نجى فیه ابراهیم من النار فصام لله شکرا لله عزوجل ذلک الیوم، و انه الیوم الذى اقام رسول الله امیرالمؤمنین علما و ابان فضله و وصیته، فصام ذلک الیوم، و ذلک یوم صیام و قیام و اطعام الطعام و صلة الاخوان و فیه مرضاة الرحمن و مرغمة الشیطان
:“ใช่แล้วขอสาบานต่ออัลลอฮ์! ใช่แล้วขอสาบานต่ออัลลอฮ์!แท้จริงวันนี้ก็คือวันซึ่งท่านศาสดาอิบรอฮีม(อ.)ได้รอดพ้นออกมาจากกองไฟแล้วท่านได้ถือศิลอดเพื่อขอบคุณต่ออัลลอฮ์ผู้ทรงเกริกเกียรติเกรียงไกรในวันนั้นและวันนี้คือวันซึ่งท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ได้แต่งตั้งท่านอะมีรุลมุอ์มินีน(อ.)เป็นตราสัญลักษณ์(แห่งการชี้นำ)และได้ทำให้เกียรติและความเป็นผู้สืบทอดของท่านเป็นที่กระจ่างชัดและท่านก็ได้ถือศิลอดในวันนั้นและวันนั้นคือวันแห่งการถือศิลอดการดำรงอิบาดะฮ์ การเลี้ยงอาหารและการผูกสัมพันธ์ต่อพี่น้องร่วมศาสนาและในวันนี้เป็นวันแห่งความพึงพอพระทัยของพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงเมตตาและเป็นวันแห่งความ โกรธแค้นของมารร้าย(ชัยฏอน)”
ท่านอิหม่ามซอดิก(อ.)ได้สรุปอะมั้ลต่างๆของวันที่สำคัญนี้ไว้ในสี่ประการคือ :
1 – การถือศิลอด :
ในบางริวายะฮ์(คำรายงาน)ได้กล่าวว่า การถือศิลอดในวันนี้มีคุณค่าเท่ากับการทำฮัจญ์และอุมเราะฮ์(มุสตะฮับ)ถึง 100 ครั้ง และในบางรายงานได้กล่าวว่า จะเป็นกัฟฟาเราะฮ์(ไถ่โทษ)ความผิดถึง 60 ปี ดังนั้นบรรดาผู้ศรัทธาทั้งชายและหญิงควรให้ความสำคัญต่อคุณค่าอันสูงส่งนี้ และทำการถือศิลอดในวันนี้
2 –การดำรงอิบาดะฮ์ :
โดยสำนวนแล้วคำว่า การดำรงอิบาดะฮ์และการให้ชีวิตแก่เยามุลลอฮ์(วันแห่งอัลลอฮ์)นี้จะหมายถึง การวิงวอนขอดุอาอ์ การอิสติฆฟาร(ขออภัยโทษต่ออัลลอฮ์) และเป็นไปได้ว่า คำว่า การยืนหยัด(กิยาม)ในที่นี้จะหมายถึงการการยืนหยัดและการดำรงมั่นอยู่บนแนว ทางอันเป็นสัจธรรม และการยืนหยัดเผชิญหน้าต่อเหล่าศัตรูของอิสลามและมวลมุสลิม การต่อสู้กับบรรดาทรราชและผู้อธรรมทั้งหลาย
อย่างไรก็ดีการยืนหยัดเผชิญหน้ากับความเท็จและญิฮาด(การต่อสู้)ในหนทางของพระผู้เป็นเจ้านั้นโดยตัวของมันแล้วก็คือการอิบาดะฮ์อันยิ่งใหญ่ประการหนึ่ง ยิ่งไปกว่านั้น มันคือส่วนหนึ่งจากหน้าที่บังคับ(วาญิบาต)ที่สำคัญที่สุด
3 – การเลี้ยงอาหาร :
การรับรองแขกและการเลี้ยงอาหารแก่บรรดาพี่น้องผู้ศรัทธานั้นนับได้ว่าเป็นคุณลักษณะเฉพาะของวันอีดและการเฉลิมฉลองทั้งหลายโดยเฉพาะวันอีดอันยิ่งใหญ่นี้ได้รับการเน้นย้ำเป็นพิเศษและแน่นอนยิ่งว่าการทำให้บรรดาผู้ศรัทธามีความสุขและเกิดความปริติยินดีนั้นคืออิบาดะฮ์ที่ดี เลิศที่สุดอันจะนำมาซึ่งความพึงพอพระทัยจากพระผู้เป็นเจ้า
4 --การผูกสัมพันธ์ต่อบรรดาหมู่มิตร:
การทำดีและการแสดงออกด้วยความดีงามต่อบรรดาพี่น้องผู้ศรัทธา การไปมาหาสู่และการเยี่ยมเยือนพวกเขาอยู่เป็นเนืองนิจนั้นถือเป็นอะมั้ล(การกระทำ)ที่ดีงามและน่าสรรเสริญยิ่งประการหนึ่งแต่สำหรับในวันอีดฆอดีรนั้นได้ถูกเน้นย้ำเป็นกรณีพิเศษมีปรากฏในริวายะฮ์(คำรายงาน)ว่า คราใดก็ตามที่ท่านพบเจอกับพี่น้องผู้ศรัทธาของตนในวันนี้ จงแสดงความปริติยินดีต่อเขาด้วยการกล่าวว่า :
الحمد لله الذى جعلنا من المتمسکین بولایة امیرالمؤمنین و الائمة علیهم السلام
คำอ่าน :“อัลฮัมดุลิลลาฮิลละซี ญะอะละนา มินัลมุตะมัซซิกีนะ บิวิลายะติ อะมีริลมุอ์มินีนะ วัลอะอิมมะตะ อะลัยฮิมุสสะลาม”
:“มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิแด่อัลลอฮ์ผู้ซึ่งได้ทรงทำให้เราเป็นส่วนหนึ่งจากบรรดาผู้ที่ยึดมั่นในวิลายะฮ์(อำนาจการปกครอง)ของท่านอะมีรุลมุอ์มินีนและบรรดาอิ มาม(อ.)”
ที่มา http://www.sahibzaman.com
แสดงความเห็น