กรุณาอธิบายเกี่ยวกับมัสญิดญัมกะรอนและสาเหตุของการก่อตั้งมัสญิดแห่งนี้
คำถาม
กรุณาอธิบายเกี่ยวกับมัสญิดญัมกะรอนและสาเหตุของการก่อตั้งมัสญิดแห่งนี้
คำตอบ
มัสญิดญัมกะรอนหนึ่งคือในสถานที่ศักดิสิทธิและเป็นสถานที่ของท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.) ตั้งอยู่ห่างจากเมืองกุมประมาณ ๖ กิโลเมตร มัสญิดแห่งนี้ได้ก่อสร้างเมื่อประมาณ ๑๐๐๐ ปีที่แล้วโดยคำสั่งของท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.) ซึ่งผู้ริเริ่มก่อสร้างได้รับคำสั่งดังกล่าวในขณะตื่น (ไม่ใช่ในฝัน) ซึ่งความเมตตาและสิ่งมหัศจรรย์ต่าง ๆ ของอิมามมะฮ์ดี (อ.) ได้ปรากฎ ณ สถานที่แห่งนี้ อีกทั้งเป็นสถานที่นัดหมายสำหรับผู้ที่รอคอยการมาของท่านและมีความรักต่อท่าน
มัรฮูมมิรซาฮูเซน นูรี ได้กล่าวเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของการก่อตั้งมัสญิดญัมกะรอนโดยอ้างอิงจากเชคฟาฏิล ฮะซัน บิน ฮะซัน กุมี (อยู่ยุคสมัยเดียวกับเชคศอดูก) ในหนังสือ “ประวัติศาสตร์เมืองกุม”[1] จากหนังสือ “มูนิซุลฮะซีน ฟีมะอ์ริฟะติลฮัก วัลยะกีน”[2] ว่า :[3]
เชคอะฟีฟ ศอและฮ์ ฮะซัน บินมุซลิฮ์ ยัมกะรอนี ได้กล่าวว่า : ในคือวันพุธที่ ๑๗ เดือนรอมฏอน ปี ๓๙๓ ฮ. ฉันได้นอนอยู่ในบ้าน ทันใดนั้นได้มีกลุ่มชนกลุ่มหนึ่งมาที่ประตูบ้านของฉันและได้ปลุกฉัน และได้กล่าวกับฉันว่า จงลุกขึ้นและทำตามความต้องการของอิมามมะฮ์ดี (อ.) ซึ่งท่านได้เรียกหาท่านอยู่ พวกเขาได้พาฉันมาสถานที่หนึ่งซึ่งในปัจจุบันสถานที่แห่งนั้นได้กลายมาเป็นมัสญิดญัมกะรอนแล้ว
ท่านอิมามมะฮ์ดีได้เรียกชื่อของฉันและได้กล่าวว่า : “ไปบอกกับฮะซันบินมุสลิมว่า “สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่อันบริสุทธ์ที่อัลลอฮ์ทรงเลือก และให้สถานที่แห่งนี้มีความบริสุทธ์ เจ้าได้ยึดครองสถานที่แห่งนี้...ดังนั้นท่านได้กล่าวว่า : จงบอกประชาชนว่าให้รักและหวงแหนสถานที่แห่งนี้”[4]
อายาตุลลอฮ์ อัลอุซมา มัรอะชี นะญะฟี ได้กล่าวยอมรับความศักดิ์สิทธิของมัสญิดญัมกะรอนว่า : ชีอะฮ์ทั่วไปให้ความสำคัญต่อมัสญิดอันศักดิ์สิทธ์แห่งนี้ ตั้งแต่สมัยของการเร้นกายระยะแรกของท่านอิมามมะฮ์ดีจนถึงปัจจุบัน ซึ่งกินระยะเวลาถึงพันสองร้อยสองปี ท่านเชคผู้สูงส่ง มัรฮูมศอดูกได้กล่าวในหนังสือเล่มหนึ่งที่มีชื่อว่า “มูนิซุลฮะซีน” ซึ่งฉันยังไม่ได้อ่านเอง ทว่ามัรฮูมฮัจยีมิรซาฮุเซนนูรี ซึ่งเป็นอาจารย์ของฉันได้เล่าจากหนังสือเล่มนั้นว่า อุลามาอ์และนักวิชาการชั้นนำของชีอะอ์ให้ความเคารพมัสญิดแห่งนี้กันถ้วนหน้า และสิ่งมหัศจรรย์มากมายได้ปรากฏในมัสญิดญัมกะรอนแห่งนี้[5]
เกี่ยวกับสาเหตุของการสร้างมัสญิดแห่งนี้สามารถอธิบายได้ดังนี้
หนึ่ง : มัสญิดมีความสำคัญในวัฒนธรรมอิสลามเป็นอย่างมาก อิสลามได้ให้ความสูงส่งและความสำคัญกับมัสญิดในฐานะที่เป็นฐานหลักในด้านจิตวิญญาณและเตาฮีด ซึ่งไม่ได้ให้ความสำคัญเช่นนี้กับสถาบันอื่นใดเลย ภารกิจสำคัญที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กระทำหลังจากฮิจเราะฮ์สู่เมืองมาดีนะฮ์ก็คือการสร้างมัสญิด หากคำนึงถึงความสำคัญของบทบาทในระดับโลกของเมืองกุมและคำแนะนำที่ปรากฏในริวายะฮ์ต่างๆเกี่ยวกับเมืองนี้แล้ว จะเห็นได้ว่าการที่อิมามมะฮ์ดี (อ.) ได้สถาปนาป้อมปราการทางจิตวิญญาณแห่งนี้ ก็เพื่อให้บรรดาผู้ศรัทธาได้รับการพัฒนาทางจิตวิญญาณ อีกทั้งเพิ่มศักยภาพแก่ผู้ที่รอคอยท่านในยุคสมัยของการเร้นกายนั่นเอง เป็นไปได้ว่าความโปรดปราณนี้สอดคล้องกับที่บรรดาอิมาม(อ.)ได้ให้คำแนะนำและเน้นย้ำว่าเมืองกุมจะต้องกลายเป็นศูนย์กลางโลกชีอะอ์ในยุคที่อิมามเร้นกาย
สอง : การก่อตั้งมัสญิดญัมกะรอนสอดคล้องกับเจตนารมณ์ที่ต้องการให้มีสถานที่อันเป็นสัญลักษณ์แห่งเมตตาธรรมของอิมามมะฮ์ดี(อ.) อีกทั้งเพื่อเป็นศูนย์รวมผู้ที่รักและเฝ้ารอคอยท่านในยุคที่โลกคราคร่ำไปด้วยอบายมุข เพื่อให้คนทั่วไปได้รับการเพิ่มพูนศรัทธาด้วยการสัมผัสถึงเมตตาธรรมและอภินิหารต่างๆของท่านอิมาม(อ.)ขณะเยี่ยมชมสถานที่อันจำเริญแห่งนี้ และให้รอดพ้นจากแผนการอันชั่วร้ายของเหล่ามารร้ายทั้งหลายทั้งในรูปชัยฏอนและมนุษย์ และห่างไกลจากความคิดที่ผิดเพี้ยนที่เหล่าศัตรูของศาสนาได้สร้างขึ้น
สาม : เหตุผลหนึ่งในการสร้างมัสญิดแห่งนี้คือการให้ประชาชนได้สัมผัสกับความศิริมงคลของมัสญิด และให้รู้สึกว่าตนกำลังอยู่ในสายตาของท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.) เพื่อสามารถจะระบายความในใจกับท่าน(อ.) และช่วยขอดุอาเพื่อการมาของท่าน
โดยหลักการแล้ว สังคมที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นชีอะฮ์จำเป็นต้องมีศูนย์กลางที่สำคัญเฉกเช่นมัสญิดญัมกะรอน เพื่อเป็นการจัดระบบให้กับแนวคิดเกี่ยวกับกับอิมามมะฮ์ดี (อ.) ปลูกฝังจิตวิญญาณแห่งการรอคอย สร้างระบบที่มั่นคงให้กับแนวความคิดต่าง ๆ เกี่ยวกับการมาของผู้ปลดปล่อยโลกซึ่งมีอยู่ในแต่ละศาสนาต่าง ๆ และเพื่อทำความความรู้จักกับบุคลิกภาพอันสูงส่งของท่าน (อ.)
[1] หนังสือเล่มนี้ประพันธ์โดย มีรซอ ฮุเซน นูรี
[2] เป็นผลงานหนึ่งของเชคศ่อดู้ก
[3] นัจมุษษากิ้บ,มีรซอ ฮุเซน ฏอบัรซี,เล่ม 9,หน้า 5
[4] ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสร้างมัสญิดญัมกะรอน ดู:อ้างแล้ว,หน้า 383-392 และเว็บไซต์ของมัสญิดญัมกะรอน.
[5] อ้างแล้ว,หน้า 46.
แสดงความเห็น