การทำสงครามในเดือนต้องห้าม คือ อะไร?

ทัศนะอิสลามเกี่ยวกับการทำสงครามในเดือนต้องห้ามคืออะไร?

คำถาม

อัลกุรอาน โองการ 217 บทบะเกาะเราะฮฺ กล่าวว่า : โอ้ ศาสดา ถ้าพวกเขาถามเธอเกี่ยวกับการสู้รบในเดือนต้องห้าม จงกล่าวเถิดว่า "การสู้รบ ในเดือนนั้นเป็นบาปใหญ่หลวง แต่การขัดขวางให้ออกจากทางของอัลลอฮฺ การปฏิเสธการศรัทธาต่อพระองค์ และการกีดกันอัลมัสญิดอัลฮะรอม ตลอดจนการขับไล่ชาว อัลมัสญิด อัลฮะรอม ออกไปนั้น เป็นบาปใหญ่โตยิ่งกว่า ณ ที่อัลลอฮฺ และการก่อกวนนั้นเป็นบาปใหญ่โตยิ่งกว่าการฆ่าสังหาร และพวกเขาจะยังคงต่อสู้สูเจ้าต่อไป จนกว่าพวกเขาจะทำให้สูเจ้ากลับออกไปจากศาสนาของสูเจ้า...ความหมายของโองการดังกล่าวนี้คือ ภายใน 4 เดือนต้องห้ามนี้ จะครอบคลุมพวกอาหรับที่ชอบสู้รบกัน หรือชอบล่าล้างผลาญกันด้วยหรือไม่?

คำตอบโดยสังเขป

บนพื้นฐานของโองการและรายงานต่างๆ ของเรา, จะพบว่าอิสลามมิได้เพียงแค่ห้าม การทำสงครามกันเฉพาะในเดือนต้องห้าม (ซุลเกาะดะฮฺ, ซุลฮิจญะฮฺ, มุฮัรรอม, และเราะญับ) เท่านั้น ทว่ายังได้มีบทลงโทษอันแสนสาหัสได้อีกด้วย เพื่อป้องกันมิให้คนใดคนหนึ่งคิดถึงเรื่องการทำสงครามกันเดือนนี้ จนทั่งถึงขั้นที่ว่าอัลกุรอานโองการที่ถูกถามถึงนั้น, ได้ระบุชัดเจนว่าการทำสงครามกันในเดือนต้องห้าม ถือว่าเป็นบาปใหญ่ด้วยซ้ำไป นอกจากนั้นการสังหารผู้อื่นโดยไม่เจตนายังต้องจ่ายสินไหมชดเชยเป็นสองเท่าด้วย, ทั้งหมดเหล่านี้คือเหตุผลที่แสดงให้เห็นว่า อิสลามได้ให้ความสำคัญและให้ความเคารพต่อเดือนต้องห้ามทั้งสี่, การห้ามทำสงครามในเดือนต้องห้ามทั้งสี่นั้น ก็เพื่อให้ทั้งหมดให้เกียรติและแสดงความเคารพต่อเดือนเหล่านี้, แต่ในที่ซึ่งบางคนได้ใช้ประโยชน์จากการที่ชาวมุสลิมให้เกียรติต่อเดือนเหล่านี้ และทำลายความศักดิ์สิทธิ์ของเดือนโดยจับอาวุธยุทโธปกรณ์ เข้าห้ำหั่นมุสลิม, อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงมีบัญชาให้ชาวมุสลิมยืนหยัดต่อสู้กับศัตรู, ป้องกันการรุกรานและการกดขี่ข่มเหงของพวกเขา

คำตอบเชิงรายละเอียด

วัตถุประสงค์ของเดือนต้องห้ามต่างๆ ซึ่งอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงกำหนดเป็นวาญิบสำหรับผู้ศรัทธาทุกคนต้องใส่ใจในความศักดิ์สิทธิ์ของเดือนเหล่านี้ นับตั้งแต่ยุคสมัยของท่านศาสดาอิบรอฮีม และศาสดาอิสมาอีล (อ.) เป็นต้นมา การต่อสู้และการสงครามในเดือนต่างๆ เหล่านี้ ได้รับการต้องห้ามเอาไว้, ซึ่งแบบฉบับดังกล่าวนี้ได้ยึดถือปฏิบัติติดต่อกันเรื่อยมาจนถึงยุคสมัยการมาของอิสลาม กระนั้นในหมู่ชนอาหรับก็ยังให้เกียรติเดือนเหล่านี้ ทุกคนยังยึดถือปฏิบัติตามและให้ความเคารพด้วยดีตลอดมา, อัลกุรอานเองได้เน้นย้ำประหนึ่งลงนามกำกับความศักดิ์สิทธิ์ของเดือนเหล่านี้เอาไว้ด้วยเช่นกัน, ดังที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสว่า : แท้จริงจํานวนเดือน ณ อัลลอฮฺนั้นมีสิบสองเดือนในคัมภีร์ของอัลลอฮฺ ตั้งแต่วันที่พระองค์ทรงสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดิน จากเดือนเหล่านั้นมีสี่เดือนซึ่งเป็นที่ต้องห้าม นั่นคือบัญญัติอันเที่ยงตรง ดังนั้น สูเจ้าจงอย่าฉ้อฉลตัวของพวกเจ้าเองในเดือนเหล่านั้น และจงต่อสู้บรรดาผู้ตั้งภาคีทั้งหมด เช่นเดียวกับที่พวกเขากำลังต่อสู้กับพวกเจ้าทั้งหมด และพึงรู้เถิดว่า แท้จริงอัลลอฮฺนั้นร่วมกับบรรดาผู้มีความสำรวมตนเสมอ”[1]

เดือนต้องห้าม (ฮะรอม) ทั้งสี่ได้แก่ เดือนซุลเกาะดะฮฺ, ซุลฮิจญะฮฺ, มุฮัรรอม, และเราะญับ. ซึ่งความต้องห้ามของเดือนเหล่านี้วางอยู่บนพื้นฐานของปรัชญาและคุณประโยชน์มากมาย ซึ่งในประเด็นนี้อาจเป็นเพราะว่าเป็นไปได้ที่การสงครามจะสิ้นสุดลงด้วยตัวของมัน เนื่องจากนักสงครามทั้งหลายมีเวลาพอที่จะคิดใคร่ครวญ, และเชิญชวนประชาชนไปสู่ความสันติและความสงบมั่น, นอกจากนั้นยังมีความเป็นไปได้ที่จะประกอบพิธีฮัจญฺ, ทำการค้าขาย และอื่นๆ ... อีกมากมาย

อิสลามนั้นไม่เพียงแต่ไม่อนุญาตให้ทำสงครามกันในเดือนต้องห้ามทั้งสี่เท่านั้น ทว่ายังได้ระบุการลงโทษอย่างหนักไว้ด้วย เพื่อให้บุคคลได้คิดใคร่ครวญในปัญหาอื่นในเดือนเหล่านี้ สมองของพวกเขาจะได้ไม่หมกมุ่นอยู่กับการสงครามและการสู้รบเพียงอย่างเดียว จนกระทั่งว่าโองการที่ถูกถามถึงกล่าวว่า “การทำสงครามในเดือนนี้ถือเป็นบาปใหญ่” [2] หรือแม้แต่การสังหารผู้อื่นโดยมิได้เจตนา ก็ต้องจ่ายสินไหมทดแทนมากเป็นสองเท่า[3]

แต่เนื่องจาก มุชริกชาวมักกะฮฺ มีความคิดที่จะใช้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้ กล่าวคือในเดือนต้องห้ามมุสิลมต่างให้เกียรติและเคารพในความศักดิ์สิทธิ์ของเดือนเหล่านี้ พวกเขาจึงคิดที่จะบุกโจมตีมุสลิม (เนื่องจากพวกเขาคิดว่า,ในเดือนต่างๆ เหล่านี้ชาวมุสลิมคงจะไม่ลุกขึ้นมาต่อสู้ด้วยอย่างแน่นอน) อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงมีบัญชาว่า : “เดือนที่ต้องห้ามนั้น ก็ด้วยเดือนที่ต้องห้าม”[4] กล่าวคือถ้าหากศัตรูได้ทำลายความศักดิ์สิทธิ์ของเดือนนี้ หรือไม่ให้เกียรติโดยบุกโจมตีพวกเจ้า ดังนั้น พวกเจ้าจงลุกขึ้นต่อสู้กับพวกเขาเถิด “เนื่องจากในความศักดิ์สิทธิ์นั้นย่อมมีการลงโทษ”[5]

ด้วยเหตุนี้เอง แม้ว่าอิสลาม,ได้ยึดถือแบบฉบับการห้ามทำสงครามกันในเดือนต่างๆ ที่ต้องห้าม (ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยท่านศาสดาอิบรอฮีมในหมู่ชนอาหรับสมัยนั้น) ก็ตาม, “แต่เนื่องจากว่าบรรดามุชริกพยายามใช้ประโยชน์ในทางไม่ดีเกี่ยวกับเดือนเหล่านี้ ทั้งที่กฎเกณฑ์เหล่านี้ได้รับการยกเว้นเอาไว้ตั้งแต่แรกแล้ว อัลกุรอานกล่าวว่า “จริงอยู่แม้ว่าการทำสงครามต้องห้ามจะเป็นความสำคัญและจำเป็นยิ่ง แต่การขัดขวางให้ออกจากทางของอัลลอฮฺ การปฏิเสธการศรัทธาต่อพระองค์ และการกีดกันอัลมัสญิดอัลฮะรอม ตลอดจนการขับไล่ชาว อัลมัสญิด อัลฮะรอม ออกไปนั้น เป็นบาปใหญ่โตยิ่งกว่า ณ ที่อัลลอฮฺ”[6]

หลังจากนั้น ทรงตรัสเพิ่มเติมว่า : และการก่อกวนนั้นเป็นบาปใหญ่โตยิ่งกว่าการฆ่าสังหาร

เนื่องจากว่า การก่อกวนนั้นถือเป็นอาชญากรรมอย่างหนึ่งที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกาย และอาชญากรรมนี้ยังมีผลกระทบกับจิตวิญญาณและความศรัทธาของมนุษย์ และหลังจากนั้นยังดำเนินต่อไปอีก ซึ่งเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่ชาวมุสลิมจะต้องไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลอของการโฆษณาชวนเชื่อผิดๆ ของบรรดามุชริก เนื่องจาก “และพวกเขาจะยังคงต่อสู้สูเจ้าต่อไป จนกว่าพวกเขาจะทำให้สูเจ้ากลับออกไปจากศาสนาของสูเจ้า” ดังนั้น จงยืนหยัดต่อสู้อย่างมั่นคงกับพวกเขา, และจงอย่าใส่ใจคำหยุแย่ของพวกเขาเกี่ยวกับเดือนฮะรอม[7]

การให้เกียรติและให้ความเคารพต่อเดือนต่างๆ ที่ฮะรอมสำหรับบุคคลที่ให้เกียรติและรับรู้ถึงความสำคัญของเดือนเหล่านี้ แต่ส่วนบุคคลที่ไม่ให้เกียรติ หรือทำลายความศักดิ์สิทธิ์ของมัสญิดฮะรอม หรือไม่ให้ความสนใจต่อสิ่งเหล่านี้ ก็ไม่มีความจำเป็นอันใดที่ต้องให้เกียรติและให้ความเคารพพวกเขาอีกต่อไป หรือแม้แต่ต้องทำสงครามกับพวกเขาก็จำเป็นต้องทำ เพื่อว่าพวกเขาจะได้ไม่คิดทำลายความศักดิ์สิทธิ์ของเดือนเหล่านี้อีกต่อไป[8]

 

[1] อัลกุรอาน บทเตาบะฮฺ 36 กล่าวว่า :

إِنَّ عِدَّةَ الشُّهُورِ عِندَ اللَّهِ اثْنَا عَشَرَ شَهْرًا فِى کِتَـبِ اللَّهِ یَوْمَ خَلَقَ السَّمَـوَ تِ وَالأَرْضَ مِنْهَآ أَرْبَعَةٌ حُرُمٌ ذَ لِکَ الدِّینُ الْقَیِّمُ فَلاَ تَظْـلِمُوا فِیهِنَّ أَنفُسَکُمْ وَقَـتِلُوا الْمُشْرِکِینَ کَآفَّةً کَمَا یُقَـتِلُونَکُمْ کَآفَّةً وَاعْلَمُوا أَنَّ اللَّهَ مَعَ الْمُتَّقِینَ "

[2] อัลกุรอาน บทบะเกาะเราะฮฺ, 217.

[3] ฏูซีย์, ตะฮฺซีบบุลอะฮฺกาม, เล่ม 10, หน้า 215, เตหะราน : ดารุลกุตุบ อัลอิสลามียะฮฺ, ปี ฮ.ศ. 1365, ฮะดีซลำดับที่ 16 หมวดการสังหารชีวิตในเดือนต้องห้าม

“الْحُسَیْنُ بْنُ سَعِیدٍ عَنْ فَضَالَةَ بْنِ أَیُّوبَ عَنْ کُلَیْبِ بْنِ مُعَاوِیَةَ قَالَ سَمِعْتُ أَبَا عَبْدِ اللَّهِ (ع) یَقُولُ مَنْ قَتَلَ فِی شَهْرٍ حَرَامٍ فَعَلَیْهِ دِیَةٌ وَ ثُلُثٌ ...

[4] อัลกุรอาน บทบะเกาะเราะฮฺ, 194.

[5] ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ 31, 32.

[6] อัลกุรอาน บทบะเกาะเราะฮฺ, 217.

[7] ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ, เล่ม 2 หน้า 111, 112, 113.
[8]อันวารุลเอรฟาน ฟี ตัฟซีร อัลกุรอาน, เล่ม 3, หน้า 557.

แสดงความเห็น