ประวัติความเป็นมาของมัสญิดบัยตุลมุก็อดดิส

 

ประวัติความเป็นมาของปาเลสไตน์ และขบวนการยิวไซออนิสต์

 

ธาตุแท้ของรัฐบาลอิสราเอลคืออะไร ขบวนการไซออนิสต์เกิดขึ้นเมื่อไหร่  และเกิดขึ้นได้อย่างไร  ขบวนการต่อสู้แห่งปาเลสไตน์คือใคร และมีเป้าหมายอะไร ความขัดแย้งภายในถ้าเราคนนอกเข้าแทรกแซงจะเป็นประโยชน์หรือมีผลเสียอย่างไร  สิ่งเหล่านั้นมีความขัดแย้งกับผลประโยชน์ของเราไหม  ?

 

บทความดังกล่าวนี้นำเสนอเพียงแค่ตอบคำถามตามที่ตั้งไว้เบื้องต้นเท่านั้น ในฐานะที่เป็นมนุษย์คนหนึ่งเมื่อพบเห็นสิ่งไม่ถูกต้องจำเป็นต้องแก้ไข ไม่จำเป็นว่าคนๆ นั้นจะเป็นมุสลิมหรือไม่  ความอหังการที่ยิวไซออนิสต์ได้แสดงต่อพี่น้องมุสลิมในปาเลสไตน์ นั้นถามว่าเรามีความรู้สึกอย่างไร และหน้าที่ของเราต่อสิ่งนั้นคืออะไร ฉะนั้น เป็นการดีถ้าก่อนจะกล่าวถึงสิ่งอื่นจำเป็นต้องกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของ มัสญิดบัยตุลมุก็อดดิสเสียก่อน

ประวัติความเป็นมาของมัสญิดบัยตุลมุก็อดดิส

ตลอดระยะเวลาประมาณ 5000 ปีที่ผ่านมามีชนกลุ่มหนึ่งจากเผ่า ยะบูซีหรือยะบูซ ร่วมกับชนเผ่าต่างๆ จากกันอานียฺ ได้อพยพออกจากแคว้นอาหรับมุ่งหน้าไปยังแผ่นดินนามว่า ปาเลสไตน์ หัวหน้าขบวนอพยพในเวลานั้นคือ มะลีก ซอดิก เมื่อพวกเขาได้อพยพเข้าไปในแผ่นดินแล้วได้ตั้งรกรากอยู่ที่เขตพื้นที่เล็กๆ  แห่งหนึ่ง แล้วตั้งชื่อบริเวณนั้นว่า  ยะบูซ ผู้ปกครองประชาชาติในสมัยนั้นเป็นผู้นิยมความสันติ และพยายามที่จะพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า ด้วยเหตุนี้ ประชาชนจึงได้เปลี่ยนเรียกชื่อเมืองนั้นว่า อูรซาลิม หมายถึง เมืองสมบูรณ์ที่ปรารถนาความสงบเรียบร้อย

 

 

อูรซาลิม  ในภาษาอิบรีนั้นกล่าวว่า  อูรซาลิม เมืองนี้เคยถูกโจมตีประมาณ 17 ครั้ง และถูกล้อมกรอบอยู่หลายครั้ง  อีกทั้งได้ถูกทำลายจนพังพินาศย่อยยับและประชาชนต่างได้รับการทรมานนานัปการ เมืองดังกล่าวอยู่ภายใต้การปกครองของ ยะบูซี นานถึง 15 ศตวรรษด้วยกัน (ซึ่งพวกกันอานี ได้อพยพมาจากคราบสมุทรอาหรับและตั้งรกรากอยู่ ณ ที่นั่น) ดังนั้น จะเห็นว่าแผ่นดินดังกล่าวตกอยู่ภายใต้การปกครองของบนีอิสราเอลพียงแค่ 4 ศตวรรษเท่านั้น อยู่ภายใต้การปกครองของอิหร่าน 2-3 ศตวรรษ อยู่ภายใต้การปกครองของกรีซ 2 ศตวรรษ อยู่ภายใต้การปกครองของโรมัน(อิตาลีในปัจจุบัน)  4 ศตวรรษ แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาหลายศตวรรษนั้น ประชาชนท้องถิ่นและผู้ที่พำนักอยู่ในที่นั้นคือ ชาวกันอานีและยะบูซ

 

ด้วยเหตุนี้ เป็นที่ประจักษ์ว่า เมืองอูรชะลีม  กันอานียานและยะบูซียานถูกสถานปนาขึ้นโดยชาวอาหรับ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับพวกยะฮูดียฺแม้แต่นิดเดียว พันธสัญญาที่มุสลิมได้ทำไว้กับชาวเมืองแสดงให้เห็นว่า ชาวเมืองส่วนใหญ่เป็นพวก ยะบูซียฺและกันอานียฺซึ่งตอนหลังได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ บรรดายะฮูดียฺที่เข้าไปยึดครองแบบปล้นสะดม ชาวบ้านไม่อาจถือเป็นชาวบ้านพื้นเมือง หรือชนชาวอูรชะลีมได้เลย เพื่อว่าสนธิสัญญาจะได้เอ่ยนามของพวกเขา

 

อัล-กุรอานได้กล่าวเรียกสถานที่นั่นว่า  สถานที่เต็มไปด้วยควมจำเริญ (มุบาร็อก) เป็นสถานที่ๆ ท่านศาสดาได้ลงขึ้นมิอฺรอจญฺจากที่นั้น  โดยท่านศาสดาได้เดินทางออกจากมักกะฮฺ  มุ่งหน้าไปยังมัสญิดอัลอักซอ ตอนกลางคืน 10 ปีหลังจากที่ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสดา เป็นการเดินทางในยามค่ำคืนจากสถานที่นั้นโดยมุ่งหน้าไปสู่ฟากฟ้าอันกว้างไพศาล เรียกว่า การขึ้นมิอฺรอจญฺ ดังนั้น มัสญิดอัลอักซอจึงถือว่าเป็นสถานที่ลงอันเป็นจุดหมายปลายทางของการเดินทาง และเป็นสถานที่เริ่มต้นของการขึ้นมิอฺรอจญฺของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ดังอัล-กุรอาน อัสรอ / 1 กล่าวว่า มหาบริสุทธิ์ผู้ทรงนำบ่าวของพระองค์เดินทางในเวลากลางคืน จากมัสยิดอัลฮะรอมไปยังมัสยิดอัลอักซอ ซึ่งเราได้ให้ความจำเริญบริเวณรอบๆ นั้น เพื่อเราจะให้เขาเห็นบางอย่างจากสัญญาณต่างๆของเรา แท้จริง พระองค์คือผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงเห็น

 

นอกจากนั้นแล้วอัล-กุรอาน บทอัลนัจญฺมุ โองการ 8 -18 ก็กล่าวถึงเรื่องนี้เช่นกัน [1]

เช่นกันตลอดระยะเวลาก่อนการขึ้นมิอฺรอจญฺของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และ 17 เดือนหลังจากการขึ้นมิอฺรอจญฺ มัสญิด อัลอักซอคือกิบละฮฺสำหรับมุสลิม จนกระทั่งยะฮูดียฺได้กล่าวดูถูกเหยียดหยามมุสลิม อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงตอบรับดุอาอฺของบ่าวผู้บริสุทธิ์ของพระองค์ หลังจากนั้นทรงเปลี่ยนกิบละฮฺจากมัสญิดอัลอักซอ เป็นมัสญิดอัลฮะรอม ดังที่อัล-กุรอานบทอัล-บะเกาะเราะฮฺ โองการ 142-144กล่าวถึงสิ่งนี้เอาไว้

บรรดาผู้โฉดเขลาในหมู่มนุษย์นั้นจะกล่าวว่า อะไรเล่าที่ทำให้พวกเขาหันออกไปจากกิบละฮฺของพวกเขาที่พวกเขาเคยหันไปสู่ จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่าทิศตะวันออกและทิศตะวันตกนั้นเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ เท่านั้น พระองค์จะทรงแนะนำผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ไปสู่ทางอันเที่ยงตรง ในทำนองเดียวกัน เราได้ให้พวกเจ้าเป็นประชาชาติที่เป็นกลาง เพื่อพวกเจ้าจะได้เป็นสักขีพยานแก่มนุษย์ทั้งหลาย และเราะซูลก็จะเป็นสักขีพยานแด่พวกเจ้า และเรามิได้ให้มีขึ้นซึ่งกิบละฮฺที่เจ้าเคยหันไปสู่ นอกจากเพื่อเราจะได้รู้ว่าใครบ้างที่จะปฏิบัติตามเราะซูล จากผู้ที่กำลังหันสันเท้าทั้งสองของเขากลับ และแท้จริงการเปลี่ยนแปลงกิบละฮฺนั้น เป็นเรื่องใหญ่ นอกจากแก่บรรดาผู้ที่อัลลอฮฺได้ทรงแนะนำเท่านั้น และใช่ว่าอัลลอฮฺ จะทำให้การศรัทธาของพวกเจ้าสูญไปก็หาไม่ แท้จริง อัลลอฮฺเป็นผู้ทรงกรุณาปราณี ผู้ทรงเมตตาแก่มนุษย์เสมอ แท้จริง เราเห็นใบหน้าของเจ้าแหงนไปในฟากฟ้าบ่อยครั้ง แน่นอน เราให้เจ้าหันไปยังทิศที่เจ้าพึงใจ ดังนั้น เจ้าจงหันใบหน้าของเจ้าไปทางมัสยิดิลฮะรอมเถิด และที่ใดก็ตามที่พวกเจ้าปรากฏอยู่ ก็จงหันใบหน้าของพวกเจ้าไปทางทิศนั้น แท้จริง บรรดาผู้ที่ได้รับคัมภีร์นั้นรู้ดีว่าสิ่งนั้นคือ ความจริงที่มาจากพระเจ้าของพวกเขา อัลลอฮฺ ไม่ทรงเผอเรอในสิ่งที่พวกเขากระทำกัน

หลังจากกรุงโอรชิลมได้ตกอยู่ในมือของมุสลิม เมืองนี้ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น บัยตุลมุก็อดดิส ช่วงเวลาที่มุสลิมเข้าครอบครองบัยตุลมุก็อดดิสนั้นไม่มียะฮูดียฺอยู่ในเมืองเลยแม้แต่คนเดียว เนื่องจากบรรดาชาวคริสต์ได้ขัดขวางและสั่งห้ามไว้ ประกอบกับมุสลิมได้ทำข้อตกลงกับคริสเตียนว่าห้ามไม่ให้ยะฮูดียฺเข้ามาในเมืองดังกล่าว

ชาวปาเลสไตน์ได้ทำสงครามครูเสด(ซะละบียฺ) ถึง 2 ครั้ง เนื่องจากยุโรปได้เข้าโจมตีและปล้นสะดมประชาชน สงครามซะลีบียฺครั้งแรก เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. ที่ 1099 โดยอ้างว่าเพื่อปลดปล่อยหลุมฝังศพของท่านศาสดาอีซา (อ.) จากน้ำมือของมุสลิม (3) ชาวคริสต์ที่ถูกสั่งสอนโดยคัมภีร์ไบเบิล (อินญีล) ที่ถูกสังคายนาแล้ว เชื่อว่าท่านศาสดาอีซา (อ.) ถูกสังหารแล้วและร่างของท่านฝังอยู่ที่ประเทศปาเลสไตน์ แต่กุรอานบท นิซาอฺ โองการที่ 157-158 กล่าวว่า

 

และการที่พวกเขากล่าวว่า แท้จริงพวกเราได้ฆ่า อัล-มะซีฮฺ อีซา บุตรของมัรยัม เราะซูลของอัลลอฮฺ และพวกเขาหาได้ฆ่าอีซาและหาได้ตรึงเขาบนไม้กางเขนไม่ แต่ทว่าผู้หนึ่งถูกให้เหมือนแก่พวกเขา แท้จริง บรรดาผู้ที่ขัดแย้งในตัวเขา แน่นอน ย่อมอยู่ในความสงสัยเกี่ยวกับเขา พวกเขไม่มีความรู้ใด ๆ เกี่ยวกับเขา นอกจากคล้อยตามความนึกคิดเท่านั้น พวกเขามิได้ฆ่าเขาด้วยความแน่ใจ หามิได้อัลลอฮฺได้ทรงยกเขา (อีซา) ขึ้นไปยังพระองค์ต่างหาก และอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงเดชานุภาพ ผู้ทรงปรีชาญาณเสมอ

ชาวปาเลสไตน์ต้องเผชิญกับกองกำลังคริสเตียนจำนวนถึง 150,000 คน ซึ่งทหารชาวคริสต์ทุกคนมีไม้กางเขนแขวนอยู่ที่คอ และที่หัวไหล่ พวกเขาได้ทำลายบัยตุลมุก็อดดิสจนเสียยับเยิน พวกเขาได้สังหารชาวปาเลสไตน์ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ สตรีและคนชราตายไปทั้งสิ้น 70,000 คน ซะลาฮุดดีนยัยยูบียฺ ในปี ค.ศ. 1187 ได้นำสิ่งนั้นกลับคืนมา แต่ในที่ ค.ศ. 1248 พวกยุโรปได้ยกทัพเพื่อสงครามซะลีบียฺอีกครั้ง พวกเขาได้รับลายเซ็นต์จากพระมหากษัตริย์ในยุคนั้นเพื่อทำลายบัยตุลมุก็อดดิส แต่ในปี ค.ศ. ที่ 1224 บรรดามุสลิมได้นำบัยตุลมุก็อดดิสกลับจากการครอบครองพวกอธรรมตะวันตกอีกครั้ง และอนุญาตให้พลเมืองที่อาศัยอยู่ในเมือง ได้อยู่ต่อไปอย่างสงบเคียงข้างบรรดามุสลิม นับจากปี ค.ศ. ที่ 1517 เป็นต้นมาจนกระทั่งเมื่อลัทธิไซออนนิสต์ได้เกิดขึ้นมา บัยตุลมุก็อดดิสอยู่ภายใต้การดูแลของรัฐบาลอุสมานียะฮฺ ด้วยเหตุนี้ นับจากศตวรรษที่ 15 ฮิจญฺเราะฮฺศักราช จนถึงปี ค.ศ. 1917 บัยตุลมุก็อดดิสอยู่ภายใต้การดูแลของมุสลิมนานประมาณ 1 ศตวรรษ ซึ่งประชาชนที่ปฏิบัติตามแนวทางต่างๆ สามารถปฏิบัติอิบาดะฮฺของตนหรือเข้าออกเมืองได้อย่างเสรี

แสดงความเห็น