ความอมตะของฮะดีษเฆาะดีร

ความอมตะของเฆาะดีร

 

ความประสงค์ของอัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ครอบคลุมเหนือเหตุการณ์เฆาะดีรพระองค์ประสงค์ให้สิ่งนี้ปรากฏทุกยุคทุกสมัย เพื่อให้หัวใจทุกดวงได้ศึกษาและให้ความสำคัญต่อเหตุการณ์ดังกล่าว ดังจะเห็นว่าบรรดานักเขียนมุสลิมทุกยุคได้เขียนถึงเหตุการณ์นี้ไว้ในตำราของตนทั้ง ตัฟซีร ประวัติศาสตร์ ฮะดีซ และศาสนศาสตร์ นอกจากนั้นบรรดานักปราศรัย และนักวิชาการยังได้กล่าวถึงเหตุการณ์เฆาะดีรในวาระต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทุก ๆ วันที่ ๑๘ ของเดือนซุลฮิจญฺ ซึ่งทั้งหมดมีความเห็นพร้องต้องกันว่า เฆาะดีรคือความประเสริฐของอิมามอะลี (อ.)

 

หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เหตุการณ์เฆาะดีรเป็นอมตะคือการประทาน ๒ โองการที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นี้อันได้แก่ โองการในซูเราะฺฮฺ อัลมาอิดะฮฺ ๖๗ และ ๓

 

يَا أيُّها الرَّسُولُ بَلِّغْ ما اُنْزِلَ إِلَيْكَ مِنْ رَبِّكَ وَ إنْ لَمْ تَفْعَلْ فَما بَلَّغْتَ رِسالَتَهُ وَ اللّهُ يَعْصِمُكَ مِنَ النَّاسِ إِنَّ اللّهَ لاَ يَهْدِي الْقَوْمَ الْكَافِرِينَ

 

โอ้เราะซูล จงประกาศสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่เจ้าจากพระผู้อภิบาลของเจ้า ถ้าเจ้ามิได้ปฏิบัติ ดังนั้น เจ้าก็มิได้ประกาศสารของพระองค์ อัลลอฮฺทรงคุ้มครองเจ้าจากมวลมนุษย์ แท้จริงอัลลอฮฺจะไม่ทรงชี้นำพวกปฏิเสธทั้งหลาย

 

الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ وَأَتْمَمْتُ عَلَيْكُمْ نِعْمَتِي وَرَضِيتُ لَكُمُ الإِسْلاَمَ دِينًا

 

วันนี้ฉันได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบูรณ์แล้วแก่พวกเจ้า ฉันได้ให้ความกรุณาเมตตาของฉันครบบริบูรณ์แล้ว และฉันได้เลือกอิสลามให้เป็นศาสนาสำหรับสูเจ้า

 

ตราบใดที่อัล-กุรอานคงอยู่เป็นนิรันดร์ ตราบนั้นเฆาะดีรก็เป็นนิรันดร์เช่นกัน

 

สิ่งที่น่าสนใจคือประวัติการเกิดเหตุการณ์เฆาะดีรตรงกับวันที่ ๑๘ เดือนซุลฮิจญฺ ซึ่งวันนี้ในหมู่มุสลิมทั้งหมดรู้จักกันในนามของ วันเฆาะดีร แม้กระทั่งว่า อิบนุคอลดูนได้บันทึกไว้ว่า อัลมุสตะอฺลา บิน อัลมุสตันซิร ว่า ในปี ฮ.ศ. ที่ ๔๘๗ ตรงกับวันเฆาะดีรคุม ประชาชนได้มาให้บัยอัตกับเขาและได้เขียนถึง อัลมุนตันซิร บิลลาฮฺ อัลอะบีดียฺ ว่า เขาได้เสียชีวิตในปี ฮ.ศ. ๔๘๗ ซึ่งเหลืออีก ๑๒ คืนจะสิ้นเดือนซุลฮิจญะฮฺพอดี ซึ่งคืนนั้นตรงกับคืนที่ ๑๘ ซุลฮิจญฺ ซึ่งเป็นคืนอีดเฆาะดีร

 

อบูรอยฮาน บีรูนียฺ ได้เขียนไว้ในหนังสือ อัลอาซารุลบากียะฮฺว่า อีดเฆาะดีร เป็นอีดที่ยิ่งใหญ่ซึ่งบรรดามุสลิมทั้งหลายได้จัดเฉลิมฉลอง

 

มิใช่เพียง อิบนุคอลดูน และอบูรอยฮาน บีรูนียฺเท่านั้นที่เขียนเรื่องเฆาะดีร ซะอฺละบียฺ หนึ่งในนักวิชาการที่ยิ่งใหญ่และมีชื่อเสียงของอะฮิลิซซุนนะฮฺได้เขียนว่า ค่ำเฆาะดีรคุมเป็นค่ำคืนที่มีชื่อเสียงและรู้จักมักคุ้นกันอย่างดีในหมู่มุสลิม

 

รากเหง้าของอีดเฆาะดีรนั้นย้อนยุคไปถึงสมัยของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เนื่องจากในวันนั้นท่านได้สั่งบรรดามุฮาญิรีน กลุ่มอันซอร และจนภรรยาของท่านให้ไปหาท่านอะลีที่บ้าน เพื่อกล่าวแสดงความยินดีกับท่าน เนื่องจากที่ท่านได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งวิลายะฮฺและอิมามะฮฺ

 

ซัยดฺ บิน อัรกอม กล่าวว่าบุคคลที่เป็นตัวแทนชาวมุฮาญิรีน ได้แก่ อบูบักรฺ อุมัร อุสมาน ฏ็อลฮะฮฺ ซุบัยรฺ บุคคลเหล่านี้เป็นกลุ่มแรกที่ได้เข้าไปกล่าวแสดงความยินดี และให้บัยอัตกับท่านอะลีที่บ้าน พิธีกล่าวแสดงความยินดีได้ดำเนินไปจนถึงมัฆริบ

๑๑๐ คนผู้รายงานฮะดีษเฆาะดีร

 

การให้ความสำคัญต่อเหตุการณ์เฆาะดีรเพียงพอแล้วที่มีเซาะฮาบะฮฺของท่านศาสดา จำนวนถึง ๑๑๐ ท่านเป็นผู้รายงาน

 

ในความเป็นจริงไม่ได้หมายความว่ามีเฉพาะเซาะฮาบะฮฺกลุ่มนี้เท่านั้นที่รายงานเหตุการณ์เฆาะดีรคุม ทว่าหมายถึง เซาะฮาบะฮฺทั้ง ๑๑๐ ท่านถูกกล่าวนามในตำราของอะฮฺลิซซุนนะฮฺทั้งสิ้น เฉพาะศตวรรษที่สองอย่างเดียวมีถึง ๘๙ คน

นักรายงานฮะดีษเฆาะดีรได้รายงานต่อกันมาเป็นช่วง ๆ ในศตวรรษหลังจากนั้นซึ่งทั้งหมดเป็นอุละมาอฺ นักปราชญ์ และนักวิชาการฝ่ายอะฮฺลิซซุนนะฮฺทั้งสิ้น เมื่อนับรวมแล้วมีจำนวนถึง ๓๖๐ คน ทั้งหมดได้บันทึกฮะดีษเฆาะดีรไว้ในตำราของตนทั้งสิ้น

 

นักวิชาการเหล่านี้ไม่ได้บันทึกฮะดีษไว้ในตำราอย่างเดียว ทว่าบางตำราได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความถูกต้องของสายรายงาน และตัวบทฮะดีษโดยเขียนแยกเป็นตำราห่างหากก็มี

 

สิ่งที่ประหลาดมากไปกว่านั้นก็คือ นักประวัติศาสตร์อิสลาม เช่น ฏ็อบรียฺ ได้เขียนไว้ในหนังสือของตน (อัล วิลายะฮฺ ฟี ฏุรุกิน ฮะดีซ อัล เฆาะดีร) ว่า ตนได้บันทึกฮะดีษเฆาะดีร โดยนำมาจากสายรายงานถึง ๗๕ สายซึ่งทั้งหมดรายงานมาจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ทั้งสิ้น

 

อิบนุ อุกดะฮฺ กูฟียฺ บันทึกไว้ในหนังสือ วิลายะฮฺ ว่าตนได้รายงานฮะดีซนี้มาจากสายรายงานถึง ๑๐๕ คน

 

อบูบักรฺ มุฮัมมัด บิน อุมัร บัฆดาดียฺ รู้จักกันในนามของ ญุมอานียฺ บันทึกว่าตนได้รายงานฮะดีซนี้มาจาก ๒๕ สายรายงาน

 

อุละมาอฺนักเขียนที่มีชื่อเสียงของอะฮฺลิซซุนนะฮฺ

 

- อะฮฺมัด บิน ฮันบัล ชัยบานียฺ

 

- อิบน ฮะญัร อัซเกาะลานียฺ

 

- ญัรรียฺ ชาฟิอียฺ

 

- อบูซะอีด ซะญิซตานียฺ

 

- อมีร มุฮัมมัด เยมานียฺ

 

- นะซาอียฺ

 

- อบุลอะอฺลาอฺ ฮัมเมดานียฺ

 

- อบุลอิรฟาน ฮับบาน

 

ฮะดีษนี้ได้รายงานจากสายสืบจำนวนมากมาย[๑๑]

 

บรรดานักปราชญ์ฝ่ายชีอะฮฺได้เขียนตำรามากมายเกี่ยวกับเรื่องเฆาะดีร และได้อ้างถึงแหล่งอ้างอิงสำคัญของอะฮฺลิซซุนนะฮฺ ซึ่งครอบคลุมที่สุดคือ อัลเฆาะดีร

 

อย่างไรก็ตาม ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) หลังจากแต่งตั้งท่านอะลีแล้ว ท่านกล่าวว่า ...

 

โอ้ประชาชนเอ๋ย ขณะนี้ญิบรออีลได้นำวะฮฺยูลงมาใหฉันว่า

 

الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ وَأَتْمَمْتُ عَلَيْكُمْ نِعْمَتِي وَرَضِيتُ لَكُمُ الإِسْلاَمَ دِينًا

 

วันนี้ฉันได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบูรณ์แล้วแก่พวกเจ้า ฉันได้ให้ความกรุณาเมตตาของฉันครบบริบูรณ์แล้ว และฉันได้เลือกอิสลามให้เป็นศาสนาสำหรับสูเจ้า[๑๒]

 

เวลานั้นท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้ตักบีรเสียงดังว่า อัลลอฮุอักบัร และได้กล่าวว่า ..

 

อัลลอฮุอักบัร อัลลอฮุอักบัร แทัจริงพระองค์ได้ทำให้ศาสนาของพระองค์สมบูรณ์ ทรงประทานความโปรดปรานแก่พวกเราอย่างครบถ้วน และทรงพีงพอพระทัยกับนบูวัตของฉัน และวิลายะฮฺของอะลีภายหลังจากฉัน

 

หลังจากนั้นท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้ก้าวลงจากจุดที่ท่านยืนอยู่ และได้กล่าวกับท่านอะลี (อ.) ว่า

 

อะลี เจ้าจงนั่งอยู่ที่นี่ เพื่อให้บรรดาหัวหน้า บรรดานักต่อสู้ และบุคคลสำคัญในอิสลามมาให้บัยอัตและกล่าวแสดงความยินดีกับเจ้า

 

ในเวลานั้นประชาชนเริ่มวุ่นวาย เนื่องจากทุกคนต่างคนต่างแย่งกันเข้ามาแสดงความดีใจกับท่านอะลี (อ.) แม้แต่บุคคลในชั้นแนวหน้าอย่างอบูบักรฺ และอุมัรเองก็เข้าแสดงความดีใจกับท่านอะลีด้วย ทั้งสองได้แสดงให้ทุกคนเห็นว่าได้ยอมรับวิลายะฮฺของท่านอะลีแล้ว และพูดว่่า..

 

ขอแสดงความยินดีกับท่าน โอ้บุตรของอบูฏอลิบ บัดนี้ท่านได้เป็นผู้ปกครองและเป็นผู้นำของฉัน และของผู้ศรัทธาชนทั้งชายและหญิง

 

เวลานั้นท่านอิบนุอับบาซกกล่าวว่า ขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่าคำมั่นสัญญานี้จะยืนหยัดตลอดไป

 

ฮิซาน บิน ซาบิตนักกวีที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น ได้ขออนุญาตท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) อ่านบทกวีเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าวว่า

 

يناديهم يوم الغديرنبيهم بخمّ واسمع بالرسول مناديا

 

فقال فمن مولاكم و نبيكم فقالو و لم يبدوا هناك التعاميا

 

الهك مولانا و انت نبينا و لم تلق منا فى الولاية عاصيا

 

فقال له قم يا على فاننى رضيتك من بعدى اماما و هاديا

 

فمن كنت مولاه فهذا وليه فكونوا له اتباع صدق مواليا

 

هناك دعا اللهم و ال وليه و كن للذى عادا عليا معاديا

 

ท่านศาสดาได้เรียกพวกเขาให้มารวมกันในวันเฆาะดีร ณ คุม เพื่อฟังสิ่งที่เราะซูลได้เรียกมา

 

ท่านกล่าวว่า ใครเป็นนายและเป็นนบีของพวกท่าน พวกเขาตอบอย่างตรงไปตรงมาโดยไม่อ้อมค้อมทันทีว่า

 

พระผู้เป็นเจ้าของท่านคือนายของพวกเรา และท่านคือนบีของพวกเรา การที่เรายอมรับวิลายะฮฺของท่านจะไม่ทำให้เราระหกระเหิน

 

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวกับอะลีว่า ลุกขึ้นเถิดฉันได้เลือกให้เจ้าเป็นอิมามและผู้ชี้นำภายหลังจากฉันแล้ว

 

หลังจากนั้นกล่าวว่า ใครก็ตามที่ฉันเป็นผู้ปกครองเขา อะลีก็เป็นผู้ปกครองเขาด้วย ดังนั้น พวกท่านจงปฏิบัติตามเขาด้วยความจริงใจ

 

เวลานั้น ท่านกล่าวว่า โอ้อัลลอฮฺ โปรดเป็นมิตรกับผู้ที่เป็นมิตรกับเขา โปรดเป็นศัตรูกับผู้ที่เป็นศัตรูกับอะลี

 

ฮัซซาน บิน ซาบิตได้กล่าวกลอนอีกยาวแต่จะขอกล่าวอีก ๒ เบตเท่านั้น

 

فقال لَهُ قم يا علىُّ فانّنى رضيتك من بعدى إماماً و هادياً

 

فمن كنت مولاه فهذا وليّه فكونوا له اتباع صدق موالياً

 

ท่านได้กล่าวกับอะลีว่า ลุกขึ้นเถิดโอ้อะลี ฉันได้เลือกเจ้าให็เป็นอิมามและผู้ชี้นำทางประชาชาชติหลังจากฉัน

 

فقال لَهُ قم يا علىُّ فانّنى رضيتك من بعدى إماماً و هادياً

 

فمن كنت مولاه فهذا وليّه فكونوا له اتباع صدق موالياً

 

ท่านได้กล่าวกับอะลีว่า ลุกขึ้นเถิดโอ้อะลี ฉันได้เลือกเจ้าให็เป็นอิมามและผู้ชี้นำทางประชาชาชติหลังจากฉัน

 

ใครก็ตามที่ฉันเป็นผู้ปกครองเขา อะลีก็เป็นผู้ปกครองเขาด้วย ดังนั้นถ้าพวกเจ้ารักเขาจริงเจ้าคือผู้ปฏิบัติตามเขา

 

ฮะดีษเฆาะดีรเป็นหนึ่งในหลักฐานสำคัญและยิ่งใหญ่ ที่ยืนยันถึงความประเสริฐของท่านอิมามอะลี (อ.) ที่มีเหนือบรรดาเซาะฮาบะฮฺทั้งหลายทั้งในด้านความรู้ ความศรัทธา และชาติกำเนิด

 

ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้กล่าวถึงความประเสริฐของท่านในที่ประชุมชูรอหลังจากอุมัรเคาะลิฟะฮฺที่สองได้เสียชีวิต

 

ในสมัยของอุสมานท่านอิมามอะลี (อ.) ก้ได้กล่าวเช่นกัน

 

นอกจากนี้ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (อ.) สตรีผู้ยิ่งใหญ่แห่งโลกอิสลาม ได้พิสูจน์ฮะดีษเฆาะดีรแก่บรรดาผู้ที่ปฏิเสธฐานะภาพและความสูงส่งของท่านอิมามอะลี (อ.)

แสดงความเห็น