ทำไมอัดล์จึงเป็นหนึ่งในอูซูลุดดีน

คำถาม เพราะเหตุใดจึงได้เลือก อัดลฺ ซึ่งเป็นหนึ่งในคุณลักษณะของพระเจ้า เป็นหลักศรัทธา?

คำตอบโดยสังเขป

หลักอุซูลของชีอะฮฺประกอบด้วย เตาฮีด, อัดลฺ, มะอาด, นะบูวัต, และอิมามะฮฺ. อัดลฺ แม้ว่าจะเป็นซิฟัตหนึ่งของอัลลอฮฺ แต่ในหลักการศรัทธาแล้วก็เหมือนกับ ซิฟัตอื่นๆ ของพระองค์ จำเป็นต้องวิพากในเตาฮีด แต่เนื่องจากความสำคัญของอัดลฺ จึงได้แยกอธิบายไว้ต่างหาก

สาเหตุที่ อัดลฺ มีความสำคัญเนื่องจาก อัดลฺ คือสาเหตุของการแยกระหว่างหลักเทววิทยาของฝ่าย อัดลียะฮฺ (ชีอะฮฺและมุอฺตะซิละฮฺ) ออกจากฝ่ายอะชาอิเราะฮฺ

ซิฟัตหนึ่งถ้าพิสูจน์ว่ามีหรือไม่มี จะได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันและตรงข้ามกัน แน่นอน จำเป็นต้องกล่าวว่าฝ่ายอะชาอิเราะฮฺ ปฏิเสธไม่ยอมรับเรื่องความยุติธรรมของพระเจ้า ทว่ากล่าวว่า ความยุติธรรม หมายถึงอัลลอฮฺกระทำภารกิจของพระองค์ แม้ว่าในแง่ของสติปัญญา สิ่งนั้นจะเป็นความอธรรมก็ตาม

คำตอบเชิงรายละเอียด

 

หลักศรัทธาของมัซฮับชีอะฮฺ ประกอบด้วย เตาฮีด, อัดลฺ, นะบูวัต, อิมามะฮฺ และมะอาด ซึ่งมุสลิมทั้งหมดมีความเชื่อร่วมกันในหลัก เตาฮีด นะบูวัต และมะอาด ส่วนในเรื่องอัดลฺ และอิมามะฮฺ นั้นเฉพาะเจาะจงสำหรับมัซฮับชีอะฮฺ 12 อิมามเท่านั้น ส่วนมัซฮับอื่นๆ ของอิสลาม (ยกเว้นมุอฺตะซิละฮฺเพราะมีความเชื่อในความยุติธรรมของพระเจ้าเหมือนชีอะฮฺ) จะมีความแตกต่างกัน

อัดลฺ หรือความยุติธรรมแม้ว่าจะเป็นหนึ่งในซิฟัตของอัลลอฮฺ แต่ในนิยามของหลักศรัทธาคำว่า เตาฮีด นั้นครอบคลุมเรื่อง อัดลฺ และซิฟัตอื่นๆ ของอัลลอฮฺด้วย แต่เนื่องจาก อัดลฺ เป็นประเด็นที่มีความสำคัญยิ่ง และเป็นสาเหตุของการแยกตัวออกระหว่างสำนักคิด อะชาอิเราะฮฺ กับอัดดะลียฺ (ชีอะฮฺอิมามียะฮฺและมุอฺตะซิละฮฺ ซึ่งทั้งสองเชื่อในเรื่องความยุติธรรมของพระเจ้า) ซึ่งมีผลสะท้อนอย่างมากมาย และได้แยกเอา อัดลฺ มาอธิบายต่างหาก พร้อมกับถือว่า อัดลฺ เป็นหนึ่งในหลักอุซูล, ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วมัซฮับหลักเรื่องเทววิทยาในโลกอิสลาม แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มด้วยกันประกอบด้วย อะชาอิเราะฮฺ มุอฺตะซิละฮฺ และชีอะฮฺ ซึ่งมุอฺตะซิละฮฺ และชีอะฮฺนั้นมีความเชื่อเรื่องความยุติธรรมของพระเจ้า ด้วยเหตุนี้จึงเรียกว่า อัดลียะฮฺ[1]

ความหมายของอัดลฺ :

การเชื่อเรื่อง อัดลฺ เป็นสาขาหนึ่งของหลักความเชื่อเรื่อง ฮุสนฺและกุบฮฺอักลียะฮฺ (ความดีและชั่วทางภูมิปัญญา)[2] ฝ่ายอัดลียะฮฺเชื่อว่า การกระทำทั้งหมดทั้งที่เป็นตักวีนียะฮฺ และตัชรีอียะฮฺ ล้วนเกี่ยวข้องกับอัลลอฮฺ ซึ่งอธิบายให้เห็นความดีและความชั่ว สติปัญญาของมนุษย์ในระดับหนึ่งสามารถจำแนกการกระทำที่ดีและชั่วได้ หมายถึงอัลลอฮฺ (ซบ.) จะไม่ทรงกระทำสิ่งที่ไม่ดี สิ่งนี้มิได้หมายความว่า (ขอให้ห่างไกล) เป็นการสั่งให้พระองค์กระทำ หรือสั่งห้ามหรือสั่งใช้กับพระองค์ ทว่าหมายถึง การงานที่ไม่ดีเป็นไปไม่ได้ที่จะออกมาจากพระองค์ แน่นอน ทัศนะของมุอฺตะซิละฮฺในประเด็นนี้ มีจุดอ่อนอยู่บ้าง ซึ่งจะวิเคราะห์ในที่ของมัน »ส่วนความเชื่อของชีอะฮฺ ซึ่งได้เจริญรอยตามบรรดามะอฺซูม«[3] อธิบายว่า อัดลฺ เป็นหนึ่งในซิฟัตที่มีอยู่จริงในอัลลอฮฺ และมีความสัมบูรณ์[4] หมายถึงอัลลอฮฺจะไม่อยุติธรรมเด็ดขาด และพระองค์จะไม่กระทำสิ่งไม่ดีที่ขัดแย้งกับสติปัญญาสมบูรณ์อย่างแน่นอน[5] ฝ่ายอัดลียะฮฺได้พิสูจน์ให้เห็นว่า กฎของความดีความชั่วเป็นเหตุผลทางสติปัญญา และพิสูจน์ให้เห็นบทสรุปที่ว่ากฎข้อนี้ก็เหมือนกับกฎข้ออื่นในทางเทววิทยา เช่น กฎลุฏฟฺ หรือกฎวาญิบต้องขอบคุณผู้ประทานความโปรดปราน ปัญหาเรื่องการบีบบังคับ และการเลือกสรร[6

 

อะชาอิเราะฮฺ, ประวัติความเชื่อ :

 

อะชาอิเราะฮฺ ได้กล่าวเรียกกลุ่มชนที่ปฏิบัติตามแนวคิดของ “อบุลฮะซัน อัชอะรี” ซึ่งเป็นชาวเมืองบะซะเราะฮฺ เขาเป็นศิษย์เอกที่มีความอัจฉริยะ ของอบูอะลี ญะบาอียฺ (เชคมุอฺตะซิละฮฺ)  แต่ต่อมาเขาได้แยกตัวออกไปจากอาจารย์ของตน และสถาปนาสำนักคิดด้านเทววิทยาขึ้นใหม่ สาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้เขาต้องแยกตัวไปจาก สำนักคิดมุอฺตะซิละฮฺคือ การวิภาษเรื่องความยุติธรรมของอัลลอฮฺ และอัลกุรอานเป็นสิ่งถูกสร้าง การแยกตัวของเขาเกิดขึ้นราวปี ฮ.ศ. ที่ 300[7]

 

แนวทางของพวกอัชอะรี ที่ใช้วิภาษกับพวกมุอฺตะซิละฮฺ ได้ใช้เหตุผลและหลักวิพากวิทยา เป็นแนวทางที่สนับสนุน ฝ่ายอะฮฺซุนนะฮฺ เป็นอย่างดี

 

ประเทศมุสลิมส่วนใหญ่ ที่นับถือมัซฮับอะฮฺลิซซุนนะฮฺวะญะมาอะฮฺ ส่วนมากจะเป็นอัชอะรียฺทั้งสิ้น[8]

 

การเติบโตของสำนักคิดวิพากวิทยาฝ่ายอัชอะรียฺ ที่มีเหนือสำนักคิดอื่นของซุนนีด้วยกันนั้น แน่นอนว่าหลีกหนีไม่พ้นเรื่องการเมือง ซึ่งต้องยอมรับว่าการเมืองในสมัยนั้นจะเข้าข้างและสนับสนุนฝ่ายอัชอะรียฺเสียเป็นส่วนใหญ่ แรงกดดันจากฝ่ายปกครองซึ่งตรงกับยุคของอับบาซซี ที่มีต่อฝ่ายมุอฺตะซิละฮฺ และฝ่ายเหตุผลนิยมได้เริ่มต้นตั้งแต่สมัย มุตะวักกิล จนถึงสมัยของมุกตะดิร ซึ่งอยู่ระหว่างปี ฮ.ศ. 295-320 และได้กดดันอย่างต่อเนื่องเรื่อยไป ซึ่งในช่วงระยะเวลานั้น (295-320) เป็นช่วงที่ อบุลฮะซัน อัชอะรียฺ ได้กลับใจออกจากสำนักคิด มุอฺตะซิละฮฺ และเข้าสู่แนวคิดฝ่ายฮะดีซ ซึ่งเป็นหลักความเชื่อที่เคาะลิฟะฮฺอับบาซซียฺ ยอมรับ และหลังจากนั้นไม่นานเขาได้กลายเป็นซุลต่านปกครองเมือง ซัลญูกียฺ[9]

 

หลักความเชื่อของอะชาอิเราะฮฺ :

 

อบุลฮะซัน อัชอะรียฺ ได้แบ่งหลักวิพากวิทยาของตนออกเป็น 4 รุกุ่นด้วยกัน ซึ่งแต่ละรุกุ่นนั้นได้แบ่งออกเป็น 10 รุกุ่น ซึ่งจะชี้ให้เห็นบางรุกุ่นของเขา ซึ่งเกี่ยวข้องกับคำอธิบายของเรา[10]

 

อัลลอฮฺคือ ผู้ทรงสร้างการงานของปวงบ่าว

 

อัลลอฮฺ สามารถมอบหมายหน้าเกินกำลังสามารถแก่ปวงบ่าวได้ (หมายถึงสามารถกระทำการงาน ที่ในแง่ของสติปัญญาถือว่าไม่ดี ทรงทำได้)

 

อัลลอฮฺ สามารถลงโทษปวงบ่าวที่ไม่มีความผิดได้

 

ในกรณีที่ไม่มีอิมามที่คู่ควร เงื่อนไขในการปฏิบัติตาม จำเป็นต้องทำตามอะฮฺกามของซุลต่าน

 

ผู้กระทำความผิดใหญ่ ถ้าหากไม่ได้ขออภัยโทษและได้จากโลกไป การตัดสินของเขาอยู่ ณ อัลลอฮฺ หรืออัลลอฮฺ อาจยกโทษให้เขาด้วยความเมตตาของพระองค์ หรืออาจได้รับชะฟาอัตจากบรรดาศาสดา

 

ในทำนองเดียวกันเขากล่าวว่า ในแง่ของสติปัญญาไม่มีสิ่งใดบ่งบอกให้เห็นความดี และความชั่วของสรรพสิ่ง ทว่าสิ่งใดก็ตามถ้า ชัรอฺ ยอมรับว่าดี สิ่งนั้นคือความดี แต่ถ้าสิ่งใดก็ตามที่ชัรอฺ ถือว่าไม่ดี พึงรู้ไว้เถิดว่า สิ่งนั้นไม่ดี หมายถึงอัลลอฮฺ ทรงสามารถนำผู้เชื่อฟังปฏิบัติตาม ลงนรกได้ และให้อยู่ในนั้นตลอดไป หรือให้ผู้ที่กระทำความผิดใหญ่เข้าสวรรค์ได้ ทั้งหมดอยู่ในอำนาจของพระองค์ ซึ่งทั้งหมดเหล่านี้เป็นความจำเป็นของ สิ่งที่เป็นโมฆะ ซึ่งมีผลโดยตรงกับชีวิตของมนุษย์ทั้งที่เป็นปัจเจกบุคคล และสังคมส่วนรวม ทำให้พวกเขาปฏิเสธเรื่อง ความดีและความชั่วในแง่ของสติปัญญา ปฏิเสธเรื่องความยุติธรรมของพระเจ้า ซึ่งสิ่งนี้กลายเป็นสาเหตุสำคัญให้นักปราชญ์ฝ่าย อัดลียะฮฺ ยึดถือเอา อัดลฺ ซึ่งเป็นหนึ่งในซิฟัตของอัลลอฮฺ เป็นหนึ่งในหลักความเชื่อของตน

 

อย่างไรก็ตามมีคำกล่าวว่า อะชาอิเราะฮฺ มิได้ปฏิเสธความยุติธรรมของพระเจ้า แต่ความยุติธรรมในหลักการของเขา หมายถึงสิ่งที่อัลลอฮฺทรงกระทำ สติปัญญาไม่สามารถจำแนกสิ่งนั้นได้

 

หัวข้อเกี่ยวข้อง :

 

หัวข้อ : ความเข้าใจเกี่ยวกับความยุติธรรมในอุซูลลุดดีย, คำถามที่ 147 (ไซต์ : 2950)

[1] ออมูเซซ อะกออิด, อายะตุลลอฮฺ มิซบาฮฺ ยัซดี, หน้า 161

[2] มิลัลวะเนะฮัล,อายะตุลลอฮฺ ซุบฮานี,เล่ม 2, หน้า 332.

[3] ออมูเซซ อะกออิดฐ หน้า 162.

[4] ตัรญุมมะฮฺ บิดายะตุลมะอาริฟ เล่ม 1, หน้า 112.

[5] อัซลุชชีอะฮฺ วะอุซูลลุฮา, เชคมุฮัมมัด ฮุซัยนฺ อาลิ กาชิฟุล ฆิฏออฺ, หน้า 74.

[6] อ้างแล้ว, หน้า 75.

[7] ฟังฮังฟิร็อกอิสลาม, มุฮัมมัดญะวาด มัชเกวะรี, หน้า 54.

[8] อ้างแล้ว, หน้า 56.

[9] อ้างแล้ว, หน้า 56, มิลัลวะเนะฮัล,อายะตุลลอฮฺ ซุบฮานี,เล่ม 2, หน้า 31

[10] ฟังฮังฟิร็อกอิสลาม, หน้า 56, 57, 58.

แสดงความเห็น