คุมซ์ในอิสลาม

ด้วยพระนามของพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงพระผู้เป็นเจ้า ทรงอานุภาพเหนือทุกสิ่ง…

“จงรู้ไว้ด้วยว่าสิ่งใดที่พวกเจ้าได้รับประโยชน์ดังนั้นจำนวนหนึ่งในห้าของสิ่งดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของพระผู้เป็นเจ้า ของศาสดามุฮัมหมัดและวงค์วานของท่าน ของเด็กกำพร้า ของคนยากจนอนาถาของผู้เดินทาง หากพวกเจ้ามีความยำเกรงต่อพระผู้เป็นเจ้า และสิ่งที่ได้ประทานแก่บ่าวของเราในฟรุกอนคือวันที่กลุ่มสองกลุ่มได้เผชิญหน้ากัน และพระผู้เป็นเจ้า ทรงอานุภาพเหนือทุกสิ่ง”

(อัลฟาล โองการที่ ๔๑)

คุมซ์

ความหมาย

คุมซ์ คือ ชื่อของภาษีชนิดหนึ่งซึ่งมุสลิมทุกคนที่มีรายได้คงเหลือหลังสิ้นปีหรือมีเงินออมหรืออยู่ในกฎเกณฑ์ที่จะกล่าวต่อไปต้องจ่ายเงินหรือทรัพย์สินที่มีภาระผูกพันต้องจ่ายคุมซฺจำนวน ๑ใน ๕ ของเงินดังกล่าวหรือ๑ใน๕ของมูลค่าทรัพย์สินนั้นแก่ผู้ที่อำนาจเต็มในการเก็บคุมซฺ คือ ผู้นำศาสนาที่มีอำนาจเต็มในการบริหารกิจการของโลกมุสลิมทั้งหมด

ความสำคัญ

คุมซฺเป็นภาระผูกพันหนึ่งของผู้ที่อยู่ในกฎเกณฑ์ต้องจ่าย พระผู้เป็นเจ้าได้กำหนดว่าเป็นสิ่งสำคัญประเภทหนึ่งที่ต้องปฏิบัติตามอย่างหลีเลี่ยงไม่ได้ พระองค์ได้กำหนดให้มันเป็นกรรมสิทธิ์ของท่านศาสดามุฮัมหมัดและวงค์วานของท่าน โดยการแลกเปลี่ยนกับการที่ท่านไม่ต้องรับซะกาตอันเป็นการให้เกียรติแก่พวกท่านเหล่านั้น และผู้ใดก็ตามที่หวงห้ามมันไม่ยอมจ่ายมันแม้นแต่บาทเดียวเขาก็จะตกอยู่ในสภาพของผู้อรรม ผู้ริดรอนสิทธิของพวกท่านเหล่านั้นเขาเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะตกอยู่ในสภาพของผู้ปฏิเสธ

 

 

สิ่งที่ต้องจ่ายคุมซฺ

            ๑.ทรัพย์เชลยสงคราม

ที่ได้มาจากการสู้รบกับผู้ปฏิเสธ โดยมีข้อแม้ว่าสงครามนั้นต้องได้รับอนุญาตทำสงครามจากผู้นำเสีย(อิมาม)ก่อน

๒.แร่ธาตุต่างๆ

            อันได้แก่ ทอง เงิน แร่เหล็ก หินมีค่า อัญมณี ฯลฯ ผู้ที่ขุดมันขึ้นมาไม่ว่าจะเป็นมุสลิมหรือผู้ปฏิเสธก็ตาม จะพบอยู่ในดินหรืออยู่บนดินก็ตาม เมื่อครบพิกัดของมันแล้วคือ ๒๐ ดิรฮัม(คิดตามมูลค่าของมัน)ต้องจ่ายคุมซฺ ๑ใน๕ของมูลค่าของมัน หลังจากหักค่าใช้จ่ายในการเอามันออกมาแล้ว

            ๓.ขุมทรัพย์

            ไม่ว่าจะอยู่ในดิน ในภูเขาใต้ต้นไม้ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งใดก็ตามที่เรียกกันโดยทั่วไปว่าเป็นขุมทรัพย์ ไม่ว่าจะขุดพบในประเทศมุสลิมหรือประเทศอื่นที่ไม่ใช่ประเทศมุสลิมก็ตาม ในเรื่องขุมทรัพย์นี้ก็มีอัตรพิกัดเหมือนเรื่องแร่ธาตุ

            ๔.สิ่งที่งมได้จากทะเล

            เช่นไข่มุก หินปะการัง ฯลฯ เมื่องมขึ้นมาได้แล้วก็ติดตามมูลค่าจ่ายออกไป๑ใน๕ของมูลค่านั้น

            ๕.สิ่งฮะรอมที่ปนอยู่กับสิ่งฮาลาล

            ในกรณีที่มีของอยู่สิ่งหนึ่งไม่รู้ว่ามันเป็นของฮะล้าลหรือของฮะรอม โดยแยกไม่ออกว่าจำนวนสิ่งที่เป็นฮะล้าลหรือฮะรอมนั้นมีอยู่เท่าใด หรือไม่รู้ว่าสิ่งของชึ้นหนึ่งมีใครเป็นเจ้าของ กรณีเช่นนี้จำเป็นต้องจ่ายคุมซฺ๑ใน๕ของมูลค่าของมัน

            ๖.ที่ดินซึ่งผู้ปฏิเสธที่อยู่ในประเทศมุสลิมซื้อมาจากมุสลิม

            ไม่ว่าจะเป็นที่ดินที่มีสิ่งปลูกสร้างหรือไม่มีก็ตาม จะเป็นร้านหรือโรงแรมก็ต้องออกคุมซฺเป็นจำนวน ๑ใน ๕ของมูลค่ามัน

            ๗.รายได้ส่วนเกินประจำปีหรือผลกำไรค้าขาย

            หมายความว่าถ้าหากเรามีเงินเก็บหรือเมื่อหักจากรายจ่ายประจำปีแล้วมีเงินเหลือ หรือถ้าหากทำการค้าพอถึงสิ้นปีคิดบัญชีสินค้าแล้วมีกำไร เงินส่วนนี้ต้องจ่ายคุมซฺ ๑ใน๕ ของมูลค่าของมัน

ส่วนแบ่งของคุมซฺ

คุมซฺจะถูกแบ่งออกเป็น๖ส่วนด้วยกันคือ

๑.ส่วนของอัลลอฮฺ

๒.ส่วนของศาสดา(ศ)

๓.ส่วนของท่านอิมาม

ทั้ง ๓ ส่วนนี้ในสมัยปัจจุบันเป็นกรรมสิทธิ์ของท่านอิมามมะฮฺดี

๔.ส่วนของเด็กกำพร้า

๕.ส่วนของคนยากจนอนาถา

๖.ส่วนของคนเดินทาง

            ข้อแม้ของผู้รับในสามส่วนสุดท้ายต้องเป็นผู้ที่มีอีหม่านในกรณีของเด็กกำพร้าต้องยากจนด้วย ในกรณีของคนเดินทางต้องมีความจำเป็นในการใช้เงินระหว่างทางหรือที่พำนัก

           

ผู้มีสิทธิ์รับคุมซฺ

 คือผู้ที่เป็นซัยยิด(ลูกหลานของท่านศาสดา)ที่สืบเชื้อสายทางฝ่ายบิดาไปถึงท่านศาสดา

            คุณลักษฺณะซัยยิด(ลูกหลานของท่านศาสดา)

๑.ยากจนหรือพลัดถิ่น

            ๒.ไม่ทำบาปอย่างเปิดเผย

            ๓.เป็นชีอะฮฺอิมามมียะฮฺ

            ๔.จะต้องไม่ใช่บุคคลที่ผู้จ่ายคุมซฺจะต้องรับผิดชอบในนัฟเกาะฮฺของเขา (กล่าวคือไม่ใช่ ภรรยา หรือบุตรของผู้จ่ายคุมซฺ)

            วิธีจ่ายคุมซฺ

            ต้องส่งให้ถึงมือผู้มีอำนาจเต็มในการเก็บคุมซฺ(อาจจะเป็นผู้วินิจฉัยปัญหาที่เราปฏิบัติตามอยู่หรือผู้รู้ที่มีอำนาจสูงสุดในปกครอง)หรือส่งผ่านตัวแทนที่มีหน้าที่เก็บคุมซฺ

            ทรัพย์สินต่อไปนี้ที่ไม่ต้องจ่ายคุมซฺ

            -มรดกที่ได้รับมา

            -ของขวัญหรือรางวัลต่างๆ

          -สิ่งที่บุคคลให้โดยเสน่หา

            -ทรัพย์สินที่ได้มาโดยคุมซฺ,ซากาตหรือการบริจาคอื่นๆ

 

 

 

แสดงความเห็น