ความเชื่อเกี่ยวกับมุตอะฮ์ในอิสลาม

ความเชื่อเกี่ยวกับมุตอะฮฺในอิสลาม

 

เป็นประเด็นที่มีความขัดแย้งกันระหว่างชีอะฮฺและซุนนะฮฺ จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรศึกษาหาความจริงว่า ..

๑-มุตอะฮฺหมายถึงอะไร?

๒-และตามความเป็นจริงเรื่องนี้มีอยู่ในอิสลามหรือไม่?

๓-ถ้ามีอยู่จริงแล้วทำไมสองแนวทางจึงมีความขัดแย้งกัน?

๔-พวกชีอะฮฺมีคำอธิบายอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้?

๕-ซุนนะฮฺมีมาตรฐานอะไรที่ถือว่าเรื่องนี้ไม่มีอยู่ หรือถูกยกเลิกไปแล้ว?

๖-และข้อยุติเรื่องนี้อยู่ที่ไหน ทำไมสองแนวทางจึงไม่สามารถหาข้อยุติให้กับมันได้?

๗-มุตอะฮฺกับการนิกาห์แตกต่างกันอย่างไร?

๘-มุตอะฮฺกับการทำซินา (การร่วมสังวาสโดยผิดหลักคำสอนของศาสนา) แตกต่างกันอย่างไร ?

๙-เงื่อนไขของการทำมุตอะฮฺมีอะไรบ้าง ?

๑๐-มุตอะฮฺตามหลักฐานของชีอะฮฺเป็นอย่างไร ?

๑๑-มุตอะฮฺมีบันทึกอยู่ในตำราของซุนนะฮฺหรือไม่ ?

ซึ่งเราคงต้องมาศึกษากันที่ละประเด็นสิ่งสำคัญในการศึกษาคือการศึกษาข้อมูลด้วยจิตใจที่เป็นธรรม และด้วยกับเหตุผลไม่ใช่อารมณ์หากเราเป็นผู้สัจจริง..

มุตอะฮฺหมายถึงอะไร?

มุตอะฮฺนิซาอฺ หรือการแต่งงานที่มีกำหนดเวลา หมายถึงหญิงหรือตัวแทนของฝ่ายหญิงได้ตกลงแต่งงานกับฝ่ายชาย ตามกำหนดเวลา และมะฮัรฺ(สินสอด)ที่กำหนดแน่นอน ซึ่งต้องไม่มีอุปสรรคทางหลักชัรอีย์(ข้อบังคับศาสนบัญญัติ)เป็นตัวขวางกั้น เช่นการเป็นเครือญาติทางสายเลือด หรือโดยสาเหตุ (สะบับบี) หรืออิดดะฮฺ (ช่วงระยะเวลาที่หย่าร้างกับสามีเดิม) หรือหญิงมีสามี หรือหญิงไม่ได้เป็นมุสลิม กรณีที่เคยร่วมหลับนอนเมื่อแยกทางกับสามีต้องรอให้รอบเดือนหมดถึงสองครั้ง ถ้าหญิงเป็นผู้ไม่มีกำหนดเวลาในการมีรอบเดือนแน่นอน และอายุไม่ถึงกำหนดเวลาที่รอบเดือนจะหมดต้องรอเวลาจนกว่าจะถึง ๔๕ วัน

บุตรที่เกิดจากการแต่งงานที่มีกำหนดเวลา มีสิทธิทุกอย่างเหมือนกับบุตรที่เกิดจากการนิกาห์

และตามความเป็นจริงเรื่องนี้มีอยู่ในอิสลามหรือไม่?

แน่นอนเรื่องนี้มีอยู่ในอิสลามจริงตามหลักฐานของอัลกุรอานที่กล่าวว่า..

فَمَا اسْتَمْتَعْتُم بِهِ مِنْهُنَّ فَآتُوهُنَّ أُجُورَهُنَّ فَرِيضَةً وَلاَ جُنَاحَ عَلَيْكُمْ فِيمَا تَرَاضَيْتُم بِهِ مِن بَعْدِ الْفَرِيضَةِ إِنَّ اللّهَ كَانَ عَلِيمًا حَكِيمً

“ดังนั้นหญิงใดที่พวกเจ้าเสพสุขด้วย จากบรรดาหญิงเหล่านั้นก็จงให้แก่พวกนาง ซึ่งสินตอบแทนแก่พวกนางตามที่มีกำหนดไว้และไม่เป็นบาปใดๆ แก่พวกเจ้าในสิ่งที่พวกเจ้าต่างยินยอมกันในสิ่งนั้นหลังจากที่มีกำหนดนั้นขึ้นแท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงรอบรู้ ผู้ทรงปรีชาญาณ (บทอันนิซาอฺ / ๒๔)

คำอธิบายโองการตามริวายะฮฺของอหฺลิซซุนนะฮฺ

๑.      ท่านอับดุรฺรอซากได้บันทึกไว้ในตำราของท่านโดยรายงานมาจาก อะฏอ กล่าวว่า

 “ท่านอิบนุอับบาสได้อ่าน และอธิบายโองการนี้ว่า 

        -الى أَجَلٍ-فأتوهنّ اجورهنّ   فَمَا اسْتَمْتَعْتُم بِهِ مِنْهُنَّ َ  

“ดังนั้นหญิงใดที่พวกเจ้าเสพสุขด้วยจากบรรดาหญิงเหล่านั้น-ตามเวลาที่กำหนด-ก็จงให้แก่พวกนาง ซึ่งสินตอบแทนแก่พวกนางตามที่มีกำหนด”

๒.    ตับซีรฺกุรฺตุบี รายงานจาก ท่านหะบีบ บิน อบีษาบิต กล่าวว่า

 “ท่านอิบนุ อับบาส ได้มอบมุศฮับหนึ่งให้แก่ฉัน โดยพูดว่า นี่เป็นกุรอานที่อ่านและอธิบายตามแบบฉบับของ ท่านอุบัยย์ พูดว่า การอธิบายโองการนี้ตามบันทึกที่มีอยู่ในมุศฮับดังนี้

فَمَا اسْتَمْتَعْتُم بِهِ مِنْهُنَّ“-الى أَجَل مسمىٍ َ

“ดังนั้นหญิงใดที่พวกเจ้าเสพสุขด้วยจากบรรดาหญิงเหล่านั้น-ตามเวลาที่กำหนด”

๓.ตับซีรฺฏ็อบรีย์ จากรายงานของ อบีนุฎเราะฮฺ ซึ่งได้รายงานมาจากสองรายงานด้วยกันว่า

“ฉันได้ถามท่านอิบนุอับบาสเกี่ยวกับเรื่องของการมุตอะฮฺ ท่านได้ตอบว่า เจ้าไม่ได้อ่านกุรอานซูเราะฮฺอันนิซาอฺหรือ? ฉันตอบว่า อ่าน ท่านพูดว่า “แล้วเจ้าไม่ได้อ่านโองการ

                                       الى أَجَل مسمى   فَمَا اسْتَمْتَعْتُم بِهِ مِنْهُنَّ 

หรืออย่างไร? ฉันพูดว่า ถ้าหากฉันได้อ่านเช่นนี้ ฉันคงจะไม่มาถามท่านอย่างแน่นอน ท่านอิบนุอับบาสพูดว่า เป็นอย่างที่ฉันพูด และมันก็เป็นเช่นนั้น”

๔. อบีนุฎเราะฮฺ ได้รายงานว่า “ฉันได้อ่านโองการดังกล่าวแก่ท่านอิบนุอับบาสว่า

“فَمَا اسْتَمْتَعْتُم بِهِ مِنْهُنّ” -الى أَجَل مسمىٍ

(ตามเวลาที่กำหนด) ฉันได้พูดว่าฉันไม่ได้อ่านเช่นนี้ และฉันไม่รู้ด้วยว่าเป็นเช่นนี้ ท่านอิบนุอับบาสได้พูดว่า “ขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่าพระองค์ได้ประทานกุรอานลงมาเช่นนี้จริง” ซึ่งท่านได้กล่าวซ้ำประโยคนี้ถึงสามครั้งด้วยกัน

๕. ท่านอุมัยรฺ และท่านอบีอิสหาก กล่าวว่า ท่านอิบนุอับบาสได้อ่านและอธิบายโองการนี้ว่า

فَمَا اسْتَمْتَعْتُم بِهِ مِنْهُن-الى أَجَل مسمى

ดังนั้นหญิงใดที่พวกเจ้าเสพสุขด้วยจากบรรดาหญิงเหล่านั้น “จนถึงระยะเวลาที่กำหนดไว้”

๖. ท่านมุญาฮิดได้รายงานว่าแท้จริง “ فَمَا اسْتَمْتَعْتُم بِهِ مِنْهُن   หมายถึงการนิกาห์มุตอะฮฺ (การแต่งงานที่มีกำหนดเวลา)

๗. ท่านอุมัรฺ บิน มัรฺเราะฮฺ ได้กล่าวว่า “ฉันได้ยินจากท่านสะอีด บิน ญุบัยร์ อ่านและอธิบายโองการนี้ว่า.

فَمَا اسْتَمْتَعْتُم بِهِ مِنْهُن- الى أَجَل مسمى

“ดังนั้นหญิงใดที่พวกเจ้าเสพสุขด้วยจากบรรดาหญิงเหล่านั้น “จนถึงระยะเวลาที่กำหนดไว้”

๘. กุตาดะฮฺ พูดว่าโองการดังกล่าวนี้ท่านอุบัย บิน กะอับ ได้อ่านและอธิบายว่า .....

فَمَا اسْتَمْتَعْتُم بِهِ مِنْهُن- الى أَجَل مسمى

“ดังนั้นหญิงใดที่พวกเจ้าเสพสุขด้วยจากบรรดาหญิงเหล่านั้น “จนถึงระยะเวลาที่กำหนดไว้”

๙.ท่านชะอฺบะติบนิหะกัม กล่าวว่า ฉันได้ถามว่า โองการข้างต้น ๔/๒๔ ได้ถูกยกเลิก (นัซค์) ไปแล้วหรือยัง? ได้รับคำตอบว่า ยังไม่ได้ถูกยกเลิก

. หนังสือ อะหฺกามอัลกุรอาน ได้บันทึกริวายะฮฺของท่าน อบีนุฎเราะฮฺ และ อบีษาบิต ที่รายงานมาจากท่านอิบนุอับบาส และหะดีษการอ่านของท่าน อุบัย บิน กะอับ[๕]

๑๑.ท่านบัยหะกีย์ ได้บันทึกไว้ใน สุนันกุบรอ ของท่าน ซึ่งรายงานมาจากท่าน มุฮัมมัด บิน กะอับ ว่า ท่านอิบนุ อับบาสได้พูดว่า “การมุตอะฮฺ” ได้มีมาตั้งแต่ยุคแรกของอิสลาม และบรรดามุสลิมทั้งหลายได้อ่านและอธิบายโองการดังกล่าวว่า.....

فَمَا اسْتَمْتَعْتُم بِهِ مِنْهُن- الى أَجَل مسمى

“ดังนั้นหญิงใดที่พวกเจ้าเสพสุขด้วยจากบรรดาหญิงเหล่านั้น “จนถึงระยะเวลาที่กำหนดไว้”

๑๒. ท่านนุวีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือชัรห์ศอเฮียะมุสลิม (คำอธิบายหนังสือศอเฮียะมุสลิม) ว่าท่านอิบนุมัสอูดได้อ่านและอธิบายโองการดังกล่าวเช่นนี้ว่า    فَمَا اسْتَمْتَعْتُم بِهِ مِنْهُن- الى أَجَل

“ดังนั้นหญิงใดที่พวกเจ้าเสพสุขด้วยจากบรรดาหญิงเหล่านั้น “จนถึงระยะเวลา.....”

๑๓. ท่านซะมัคชะรีย์ได้บันทึกไว้ในหนังสือของท่านโดยรายงานมาจากท่านอิบนุอับบาสว่า “โองการดังกล่าวเป็นหนึ่งในโองการที่เป็นมุหฺกัม (ชัดเจน) หมายถึงยังไม่ได้ถูกยกเลิก (นัซค์) และตัวของท่านอ่านและอธิบายโองการดังกล่าวดังนี้ว่า ...

فَمَا اسْتَمْتَعْتُم بِهِ مِنْهُن- الى أَجَل مسمى

“ดังนั้นหญิงใดที่พวกเจ้าเสพสุขด้วยจากบรรดาหญิงเหล่านั้น “จนถึงระยะเวลาที่กำหนดไว้”

๑๔.ท่านกุรฺ ฎุบีย์พูดว่า “อุละมาอฺส่วนมากกล่าวว่า วัตถุประสงค์ของโองการหมายถึง การนิกาห์มุตอะฮฺ (การแต่งงานที่มีกำหนดเวลา) ซึ่งมีมาตั้งแต่เริ่มต้นอิสลาม ท่านอิบนุอับบาส ท่านอุบัย ยิบนะ กะอฺบ์ และท่านอิบนิยุบัยร์ ได้อ่านและอธิบายโองการดังกล่าวเช่นนี้ว่า...

فَمَا اسْتَمْتَعْتُم بِهِ مِنْهُن- الى أَجَل مسمى - فَآتُوهُنَّ أُجُورَهُنَّ

“ดังนั้นหญิงใดที่พวกเจ้าเสพสุขด้วยจากบรรดาหญิงเหล่านั้น จนถึงระยะเวลาที่กำหนดไว้ ก็จงให้แก่พวกนางซึ่งสินตอบแทนแก่พวกนาง”

 ๑๕. ในตัฟซีรฺอิบนุอะษีรฺ กล่าวว่า “ท่านอิบนุอับบาส ท่านอุบัย ยิบนิกะอับ ท่านสะอีดิบนิ ญุบัยร์ และท่านสะดีย์ ได้อ่านและอธิบายโองการดังกล่าวดังนี้......

فَمَا اسْتَمْتَعْتُم بِهِ مِنْهُن- الى أَجَل مسمى - فَآتُوهُنَّ أُجُورَهُنَّ فَرِيضَةً

“ดังนั้นหญิงใดที่พวกเจ้าเสพสุขด้วยจากบรรดาหญิงเหล่านั้น จนถึงระยะเวลาที่กำหนดไว้ ก็จงให้แก่พวกนางซึ่งสินตอบแทนแก่พวกนางตามที่มีกำหนดไว้”

๑๖. ในตัฟซีรฺซุยุฎีย์ เช่นกันได้บันทึกหะดีษของท่าน อบีษาบิต อบีนุฎเราะฮฺ และริวายะฮฺของท่าน กุตาดะฮฺ และท่านสะอีดิบนิญุบัยร์ ที่ได้กล่าวถึงการอ่านและอธิบายโองการดังกล่าวของท่าน อุบัยยิบนิกะอับ และหะดีษของท่านมุญาฮิด ท่านสะดีย์ ท่านอะฎอ ที่รายงานมาจากท่านอิบนุอับบาส และหะดีษมุหฺกัมอื่นๆ ที่กล่าวว่า “โองการดังกล่าวยังไม่ได้ถูกยกเลิก (นัซค์))” และริวายะฮฺของท่านอะฏอ ที่รายงานมาจากท่านอิบนุอับบาสว่า “หุกมฺที่อนุญาตให้ทำมุตอะฮฺในซูเราะฮฺอันนิซาอฺ โองการที่ ๒๔...

فَمَا اسْتَمْتَعْتُم بِهِ  ““ดังนั้นหญิงใดที่พวกเจ้าเสพสุขด้วยจากบรรดาหญิงเหล่านั้น จนถึงระยะเวลาที่กำหนดไว้ ก็จงให้แก่พวกนางซึ่งสินตอบแทนแก่พวกนางตามที่มีกำหนดไว้” ว่าทั้งสองจะไม่มีใครได้รับมรดกของกันและกัน และหากทั้งสองตกลงกันว่าจะทำต่อไปภายหลังจากที่กำหนดเวลาที่กำหนดไว้ได้หมดลงจะเป็นสิ่งที่ดีอย่างยิ่ง แต่ถ้าทั้งสองจะแยกทางกันก็ถือว่าดี”

 ทั้งหมดที่ได้นำเสนอมาเป็นทรรศนะของนักตัฟซีรฺและไม่ใช่นักตับซีรฺที่ได้กล่าวอธิบายโองการ (๔/๒๔) ซึ่งจะพบว่า ท่านอิบนุอับบาส ท่านอุบัยยิบนิกะอับ ท่านสะอีดิบนิญุบัยร์ ท่านมุญาฮิด ท่านกุตาดะฮฺ และคนอื่นๆ (เช่นท่านกอฏีย์ อบูบักร์ อันดะลีซซีย์ ตายเมื่อ ฮ.ศ. ๕๔๒ บันทึกไว้ในอหฺกามอัล-กุรอาน เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๑๖๓, ท่านบัฆวีย์ชาฟิอีย์ ตายเมื่อ ฮ.ศ. ๕๑๐ หรือ ๕๑๖ บันทึกไวในตับซีรฺของท่านใน ฮาชียะฮฺ คอซิน เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๔๒๓. ท่านอะลูซีย์ ตายเมื่อ ฮ.ศ. ๑๒๗๙ บันทึกไว้ในตับซีรฺของท่าน เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๕) ทั้งหมดได้รายงานว่าโองการดังกล่าวได้อ่านและอธิบายดังนี้ว่า....

فَمَا اسْتَمْتَعْتُم بِهِ مِنْهُن- الى أَجَل مسمى

“ดังนั้นหญิงใดที่พวกเจ้าเสพสุขด้วยจากบรรดาหญิงเหล่านั้น จนถึงระยะเวลาที่กำหนดไว้”

ท่านอุบัยริบนิ กะอับ ได้อ่านและอธิบายโองการดังกล่าวเช่นนั้น  ท่านต้องการบอกว่าแท้จริงฉันได้ยินท่านศาสดา (ศ็อลฯ) อ่านและอธิบายเช่นนี้ ซึ่งในเวลานั้นท่านศาสดาได้อธิบายโองการดังกล่าวว่าด้วยกับประโยคที่ว่า

“الى أَجَل مسمى หมายถึง “จนถึงระยะเวลาที่กำหนดไว้”

ที่มาwww.al-shia.org

แสดงความเห็น